จุดยืนคณะนิติราษฎร์
หลังจากที่คณะนิติราษฎร์ได้เสนอให้ลบล้างผลพวงของการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เสนอแนวทางการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และยกร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ ซึ่งต่อมาคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา ๑๑๒ (ครก. ๑๑๒)ได้ดำเนินการรวบรวมรายชื่ออย่างน้อย ๑๐๐๐๐ รายชื่อเพื่อเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ไปยังรัฐสภา กำหนดระยะเวลารณรงค์ ๑๑๒ วัน และการรณรงค์ดังกล่าวจะครบกำหนดในวันที่ ๕ พฤษภาคม ที่จะถึงนี้ มีผู้สอบถามมายังคณะนิติราษฎร์เกี่ยวกับกิจกรรมทางวิชาการและการเคลื่อนไหว ทางความคิดที่จะดำเนินต่อไปในโอกาสครบรอบ ๘๐ ปีของการอภิวัฒน์สยาม ๒๔๗๕ ตลอดจนแนวทางทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย คณะนิติราษฎร์เห็นสมควรที่จะได้แสดงจุดยืนและทัศนะต่อประเด็นปัญหาต่างๆ ไว้โดยสังเขป ดังนี้
๑. คณะนิติราษฎร์ยืนยันว่าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากอัตราโทษที่กำหนดไว้ในปัจจุบันสูงเกินสมควรกว่าเหตุ นอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่นๆอีกหลายประการ ดังที่ได้เคยแสดงให้เห็นไว้แล้วในประกาศนิติราษฎร์ฉบับที่ ๑๖ (วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๔) และในข้อเสนอเพื่อการรณรงค์แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ ตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้หลายประการ และจะบรรเทาปัญหาบางประการลง คณะนิติราษฎร์จึงยืนยันสนับสนุนกิจกรรมของ ครก.๑๑๒ ในการรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ ตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ไปยังรัฐสภา และให้เป็นหน้าที่ของรัฐสภาในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อไป
๒. คณะนิติราษฎร์ไม่เห็นด้วยอย่างสิ้นเชิงต่อแนวทางการปรองดองหรือสมานฉันท์โดยวิธีการตรากฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่บุคคลทุกฝ่ายดังเช่นการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่างวันที่ ๔ ถึงวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ พ.ศ.๒๕๒๑ (นิรโทษกรรมในเหตุการณ์ ๖ ตุลา ๑๙) หรือการตราพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๕ ถึงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๕ พ.ศ.๒๕๓๕ (นิรโทษกรรมในเหตุการณ์พฤษภา ๓๕) เนื่องจากการนิรโทษกรรมในลักษณะดังกล่าวแม้จะทำให้ประชาชนผู้เข้าร่วมชุมนุมพ้นจากความผิดและความรับผิด แต่ก็จะมีผลให้บรรดาผู้ที่สั่งการและปฏิบัติการสลายการชุมนุมพ้นจากความผิดไปพร้อมกันด้วย การนิรโทษกรรมในลักษณะดังกล่าวไม่เป็นธรรมอย่างยิ่งต่อผู้ที่สูญเสียในเหตุการณ์สลายการชุมนุมต่างๆที่เกิดขึ้นหลังจากการแย่งชิงอำนาจรัฐเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นต้นมา
๓. คณะนิติราษฎร์เห็นว่าแนวทางการตรากฎหมายเพื่อการขจัดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายภายหลังจากการแย่งชิงอำนาจรัฐเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ควรจะต้องพิจารณาแยกแยะลักษณะการกระทำของบรรดาบุคคลที่เกี่ยวข้องและจัดวางโครงสร้างของกฎหมายโดยมีสาระสำคัญหลัก คือ
ประการที่หนึ่ง ต้องไม่มีการนิรโทษกรรมให้แก่บรรดาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงตลอดจนการสลายการชุมนุมทุกเหตุการณ์ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นต้นมา การกระทำของบรรดาเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลที่ถือได้ว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ว่าจะได้กระทำการในฐานะเป็นผู้สั่งการหรือผู้ปฏิบัติการ และไม่ว่าจะกระทำในขั้นตอนใดๆ หากการกระทำนั้นเป็นความผิดตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในเวลานั้น บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมายและต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
ประการที่สอง ให้มีการนิรโทษกรรมทันทีแก่ประชาชนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานฝ่าฝืนบรรดากฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉินและกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงที่ได้รับการประกาศใช้ในเหตุการณ์การเดินขบวนและการชุมนุมประท้วงทางการเมืองในพื้นที่ต่างๆตามที่จะได้กำหนดไว้ในประกาศที่ออกตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในหมวดที่ว่าด้วยการขจัดความขัดแย้งและบรรดาการกระทำต่างๆของผู้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมืองในพื้นที่ต่างๆข้างต้น หากเป็นความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่อัตราโทษไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในหมวดที่ว่าด้วยการขจัดความขัดแย้ง ก็ให้บุคคลนั้นพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง
ประการที่สาม บรรดาการกระทำทั้งหลายของบุคคลที่เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมืองที่ไม่เข้าข่ายที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ เช่น การกระทำที่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นและไม่ใช่ความผิดลหุโทษหรือความผิดที่อัตราโทษไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในหมวดที่ว่าด้วยการขจัดความขัดแย้ง ตลอดจนการกระทำความผิดของบุคคลที่แม้ไม่ได้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมือง แต่มีข้อสงสัยว่ามีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองหลังการแย่งชิงอำนาจรัฐเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นต้นมา ให้นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการขจัดความขัดแย้งซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในหมวดที่ว่าด้วยการขจัดความขัดแย้ง ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการขจัดความขัดแย้ง จะดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่ถูกกล่าวหาไม่ได้ ในกรณีที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ไม่ว่าจะเป็นศาลในลำดับชั้นใด ให้ศาลระงับการดำเนินกระบวนพิจารณา และให้ปล่อยตัวผู้ถูกกล่าวหาไปก่อน ในกรณีที่มีข้อสงสัยว่าการกระทำนั้นตกอยู่ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญว่าด้วยการขจัดความขัดแย้งหรือไม่ ให้คณะกรรมการขจัดความขัดแย้งเป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยว่าการกระทำใดอยู่ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในหมวดที่ว่าด้วยการขจัดความขัดแย้งหรือไม่ ให้มีผลผูกพันองค์กรของรัฐทุกองค์กร และไม่อาจเป็นวัตถุในการพิจารณาขององค์กรตุลาการหรือองค์กรอื่นใดได้
ประการที่สี่ ในกรณีที่คณะกรรมการขจัดความขัดแย้งวินิจฉัยว่าการกระทำใดไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญว่าด้วยการขจัดความขัดแย้ง หรือวินิจฉัยว่าการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นในระหว่างการชุมนุมต่างๆ ตลอดจนการกระทำที่มีข้อสงสัยว่ามีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองหลังการแย่งชิงอำนาจรัฐเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นต้นมา ไม่เกี่ยวข้องกับมูลเหตุจูงใจหรือแรงจูงใจทางการเมือง ให้ดำเนินการกับบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป ในกรณีที่คณะกรรมการขจัดความขัดแย้งวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นเกิดขึ้นจากมูลเหตุจูงใจหรือแรงจูงใจทางการเมืองหลังเหตุการณ์แย่งชิงอำนาจรัฐ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ก็ให้บุคคลที่ถูกกล่าวหาดังกล่าวพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิก
ประการที่ห้า การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งตามแนวทางที่คณะนิติราษฎร์เสนอไว้เบื้องต้นโดยสังเขปนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันโดยเพิ่มบทบัญญัติว่าด้วยการขจัดความขัดแย้งเป็นอีกหมวดหนึ่ง โดยนอกจากบทบัญญัติในหมวดนี้จะกล่าวถึงคณะกรรมการขจัดความขัดแย้ง และกฎเกณฑ์ต่างๆตามแนวทางที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ยังต้องกล่าวถึงการเยียวยาความเสียหายต่างๆด้วย การดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้สามารถทำได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และสามารถกระทำได้ทันที
๔. สำหรับกรณีของการลบล้างผลพวงรัฐประหารนั้น คณะนิติราษฎร์เสนอให้บัญญัติเป็นหมวดอีกหมวดหนึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับที่จะได้จัดทำขึ้นใหม่ตามที่ได้เคยแถลงต่อสาธารณะไปแล้ว โดยคณะนิติราษฎร์ยืนยันหลักการของการประกาศให้การนิรโทษกรรมการทำรัฐประหารหรือการแย่งชิงอำนาจรัฐเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นโมฆะ เพื่อเปิดทางให้บุคคลที่มีส่วนร่วมในการทำรัฐประหารหรือแย่งชิงอำนาจรัฐเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ไม่ว่าจะเป็นผู้กระทำการเอง ผู้ใช้ ตลอดจนผู้สนับสนุน เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม สำหรับบรรดาคดีซึ่งเกิดขึ้นจากการเริ่มกระบวนการโดยคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะผู้แย่งชิงอำนาจรัฐนั้น ก็ให้ลบล้างให้สิ้นผลไป ซึ่งไม่ได้หมายถึงการนิรโทษกรรม แต่ให้เริ่มกระบวนการใหม่ให้ถูกต้องเป็นธรรมต่อไป
คณะนิติราษฎร์ขอเรียนให้ผู้ที่ติดตามกิจกรรมทางวิชาการของคณะนิติราษฎร์ทราบว่าในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ คณะนิติราษฎร์จะได้จัดกิจกรรมทางวิชาการที่เกี่ยวเนื่องกับการลบล้างผลพวงรัฐประหาร การขจัดความขัดแย้งในสังคมไทย และวิเคราะห์วิจารณ์ข้อเสนอเกี่ยวกับการปรองดองของบุคคลและสถาบันต่างๆ นอกจากนี้เพื่อให้การเคลื่อนไหวทางความคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยและนิติรัฐดำเนินไปในวงกว้างยิ่งขึ้น คณะนิติราษฎร์จะได้จัดให้มีการเผยแพร่แลกเปลี่ยนความรู้ทางกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายมหาชน ให้แก่ประชาชนทั่วไป รายละเอียดในเรื่องเหล่านี้จะแถลงให้ทราบต่อไป
๒. คณะนิติราษฎร์ไม่เห็นด้วยอย่างสิ้นเชิงต่อแนวทางการปรองดองหรือสมานฉันท์โดยวิธีการตรากฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่บุคคลทุกฝ่ายดังเช่นการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่างวันที่ ๔ ถึงวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ พ.ศ.๒๕๒๑ (นิรโทษกรรมในเหตุการณ์ ๖ ตุลา ๑๙) หรือการตราพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๕ ถึงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๕ พ.ศ.๒๕๓๕ (นิรโทษกรรมในเหตุการณ์พฤษภา ๓๕) เนื่องจากการนิรโทษกรรมในลักษณะดังกล่าวแม้จะทำให้ประชาชนผู้เข้าร่วมชุมนุมพ้นจากความผิดและความรับผิด แต่ก็จะมีผลให้บรรดาผู้ที่สั่งการและปฏิบัติการสลายการชุมนุมพ้นจากความผิดไปพร้อมกันด้วย การนิรโทษกรรมในลักษณะดังกล่าวไม่เป็นธรรมอย่างยิ่งต่อผู้ที่สูญเสียในเหตุการณ์สลายการชุมนุมต่างๆที่เกิดขึ้นหลังจากการแย่งชิงอำนาจรัฐเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นต้นมา
๓. คณะนิติราษฎร์เห็นว่าแนวทางการตรากฎหมายเพื่อการขจัดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายภายหลังจากการแย่งชิงอำนาจรัฐเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ควรจะต้องพิจารณาแยกแยะลักษณะการกระทำของบรรดาบุคคลที่เกี่ยวข้องและจัดวางโครงสร้างของกฎหมายโดยมีสาระสำคัญหลัก คือ
ประการที่หนึ่ง ต้องไม่มีการนิรโทษกรรมให้แก่บรรดาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงตลอดจนการสลายการชุมนุมทุกเหตุการณ์ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นต้นมา การกระทำของบรรดาเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลที่ถือได้ว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ว่าจะได้กระทำการในฐานะเป็นผู้สั่งการหรือผู้ปฏิบัติการ และไม่ว่าจะกระทำในขั้นตอนใดๆ หากการกระทำนั้นเป็นความผิดตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในเวลานั้น บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมายและต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
ประการที่สอง ให้มีการนิรโทษกรรมทันทีแก่ประชาชนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานฝ่าฝืนบรรดากฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉินและกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงที่ได้รับการประกาศใช้ในเหตุการณ์การเดินขบวนและการชุมนุมประท้วงทางการเมืองในพื้นที่ต่างๆตามที่จะได้กำหนดไว้ในประกาศที่ออกตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในหมวดที่ว่าด้วยการขจัดความขัดแย้งและบรรดาการกระทำต่างๆของผู้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมืองในพื้นที่ต่างๆข้างต้น หากเป็นความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่อัตราโทษไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในหมวดที่ว่าด้วยการขจัดความขัดแย้ง ก็ให้บุคคลนั้นพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง
ประการที่สาม บรรดาการกระทำทั้งหลายของบุคคลที่เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมืองที่ไม่เข้าข่ายที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ เช่น การกระทำที่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นและไม่ใช่ความผิดลหุโทษหรือความผิดที่อัตราโทษไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในหมวดที่ว่าด้วยการขจัดความขัดแย้ง ตลอดจนการกระทำความผิดของบุคคลที่แม้ไม่ได้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมือง แต่มีข้อสงสัยว่ามีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองหลังการแย่งชิงอำนาจรัฐเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นต้นมา ให้นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการขจัดความขัดแย้งซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในหมวดที่ว่าด้วยการขจัดความขัดแย้ง ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการขจัดความขัดแย้ง จะดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่ถูกกล่าวหาไม่ได้ ในกรณีที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ไม่ว่าจะเป็นศาลในลำดับชั้นใด ให้ศาลระงับการดำเนินกระบวนพิจารณา และให้ปล่อยตัวผู้ถูกกล่าวหาไปก่อน ในกรณีที่มีข้อสงสัยว่าการกระทำนั้นตกอยู่ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญว่าด้วยการขจัดความขัดแย้งหรือไม่ ให้คณะกรรมการขจัดความขัดแย้งเป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยว่าการกระทำใดอยู่ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในหมวดที่ว่าด้วยการขจัดความขัดแย้งหรือไม่ ให้มีผลผูกพันองค์กรของรัฐทุกองค์กร และไม่อาจเป็นวัตถุในการพิจารณาขององค์กรตุลาการหรือองค์กรอื่นใดได้
ประการที่สี่ ในกรณีที่คณะกรรมการขจัดความขัดแย้งวินิจฉัยว่าการกระทำใดไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญว่าด้วยการขจัดความขัดแย้ง หรือวินิจฉัยว่าการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นในระหว่างการชุมนุมต่างๆ ตลอดจนการกระทำที่มีข้อสงสัยว่ามีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองหลังการแย่งชิงอำนาจรัฐเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นต้นมา ไม่เกี่ยวข้องกับมูลเหตุจูงใจหรือแรงจูงใจทางการเมือง ให้ดำเนินการกับบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป ในกรณีที่คณะกรรมการขจัดความขัดแย้งวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นเกิดขึ้นจากมูลเหตุจูงใจหรือแรงจูงใจทางการเมืองหลังเหตุการณ์แย่งชิงอำนาจรัฐ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ก็ให้บุคคลที่ถูกกล่าวหาดังกล่าวพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิก
ประการที่ห้า การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งตามแนวทางที่คณะนิติราษฎร์เสนอไว้เบื้องต้นโดยสังเขปนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันโดยเพิ่มบทบัญญัติว่าด้วยการขจัดความขัดแย้งเป็นอีกหมวดหนึ่ง โดยนอกจากบทบัญญัติในหมวดนี้จะกล่าวถึงคณะกรรมการขจัดความขัดแย้ง และกฎเกณฑ์ต่างๆตามแนวทางที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ยังต้องกล่าวถึงการเยียวยาความเสียหายต่างๆด้วย การดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้สามารถทำได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และสามารถกระทำได้ทันที
๔. สำหรับกรณีของการลบล้างผลพวงรัฐประหารนั้น คณะนิติราษฎร์เสนอให้บัญญัติเป็นหมวดอีกหมวดหนึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับที่จะได้จัดทำขึ้นใหม่ตามที่ได้เคยแถลงต่อสาธารณะไปแล้ว โดยคณะนิติราษฎร์ยืนยันหลักการของการประกาศให้การนิรโทษกรรมการทำรัฐประหารหรือการแย่งชิงอำนาจรัฐเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นโมฆะ เพื่อเปิดทางให้บุคคลที่มีส่วนร่วมในการทำรัฐประหารหรือแย่งชิงอำนาจรัฐเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ไม่ว่าจะเป็นผู้กระทำการเอง ผู้ใช้ ตลอดจนผู้สนับสนุน เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม สำหรับบรรดาคดีซึ่งเกิดขึ้นจากการเริ่มกระบวนการโดยคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะผู้แย่งชิงอำนาจรัฐนั้น ก็ให้ลบล้างให้สิ้นผลไป ซึ่งไม่ได้หมายถึงการนิรโทษกรรม แต่ให้เริ่มกระบวนการใหม่ให้ถูกต้องเป็นธรรมต่อไป
คณะนิติราษฎร์ขอเรียนให้ผู้ที่ติดตามกิจกรรมทางวิชาการของคณะนิติราษฎร์ทราบว่าในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ คณะนิติราษฎร์จะได้จัดกิจกรรมทางวิชาการที่เกี่ยวเนื่องกับการลบล้างผลพวงรัฐประหาร การขจัดความขัดแย้งในสังคมไทย และวิเคราะห์วิจารณ์ข้อเสนอเกี่ยวกับการปรองดองของบุคคลและสถาบันต่างๆ นอกจากนี้เพื่อให้การเคลื่อนไหวทางความคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยและนิติรัฐดำเนินไปในวงกว้างยิ่งขึ้น คณะนิติราษฎร์จะได้จัดให้มีการเผยแพร่แลกเปลี่ยนความรู้ทางกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายมหาชน ให้แก่ประชาชนทั่วไป รายละเอียดในเรื่องเหล่านี้จะแถลงให้ทราบต่อไป
๒๕ เมษายน ๒๕๕๕
No comments:
Post a Comment