ในยุคคอมมิวนิสต์ล่มสลายหลังสงครามเย็น ฝ่ายซ้ายทั่วโลกตกอยู่ในภาวะวุ่นวายสับสน หนียะย่ายพ่ายจะแจ ต่างเปลี่ยนชื่อเปลื่ยนสีย้ายค่ายย้ายข้างกันเป็นทิวแถว จนน่าฉงนสนเท่ห์ว่าฝ่ายซ้ายยังเหลืออยู่หรือไม่? และถ้ายังเหลืออยู่ มันหมายถึงอะไร?
ท่ามกลางความปั่นป่วนโกลาหลทางอุดมการณ์ดังกล่าว สตีเว่น ลุคส์ ศาสตราจารย์ทฤษฎีสังคมและการเมืองชาวอังกฤษ ผู้แต่ง “การิทัตผจญภัย: นิยายปรัชญาการเมือง” ได้พยายามเสนอคำนิยามความเป็น “ซ้าย” ขึ้นมาในปัจฉิมบทของหนังสือ The Cambridge History of Twentieth-Century Political Thought (๒๐๐๓) ชื่อบทว่า “The grand dichotomy of the twentieth century” (http://histories.cambridge.org/extract?id=chol9780521563543_CHOL9780521563543A030)
เขาโยงธรรมเนียมประเพณีและโครงการของฝ่ายซ้ายกลับไปยังปรัชญายุครู้แจ้ง (The Enlightenment) ซึ่งตั้งคำถามต่อหลักการศักดิ์สิทธิ์ของระเบียบสังคม, ท้าทายบรรดาความไม่เสมอภาคนานัปการที่ไม่อาจอ้างว่าชอบธรรม อีกทั้งแก้ไขเยียวยาได้ ไม่ว่าจะเป็นความไม่เสมอภาคทางฐานะ, สิทธิ, อำนาจ, สภาพเงื่อนไขการดำรงชีพ, และเพียรพยายามขจัดความไม่เสมอภาคเหล่านั้นให้หมดสิ้นไปผ่านปฏิบัติการทางการเมือง
อาจกล่าวได้ว่าแก่นยึดมั่นใจกลางของฝ่ายซ้ายคือหลักความเสมอภาคอันเป็นพื้นฐานของแนวคิดมนุษยนิยม ว่าความเสมอภาคนั้นมันหมายถึงสิ่งใดแน่? และมีนัยสืบเนื่องทางความคิดและการปฏิบัติอย่างไร?
วิสัยทัศน์อุดมคติของฝ่ายซ้ายคือสังคมของคนผู้เสมอภาคกัน เพื่อบรรลุถึงเป้านั้น จึงต้องวินิจฉัยสืบ เสาะเจาะหาต้นตอแห่งการเลือกปฏิบัติและการพึ่งพาขึ้นต่ออันไม่อาจอ้างว่าชอบธรรมได้อย่างกว้างขวางที่สุด และคิดค้นโปรแกรมทางปฏิบัติเพื่อบำบัดหรือบรรเทามันลง
ในแง่หลักศีลธรรม: ยึดหลักว่ามนุษย์ทุกผู้ทุกนามต่างมีค่าควรแก่การห่วงใยและเคารพเสมอหน้ากัน, พวกเขาควรปฏิบัติต่อกันโดยถือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเป็นเป้าหมายในตัว ไม่ใช่เป็นแค่เครื่องมือไปบรรลุสิ่งอื่น (เช่นอำนาจ, อุดมการณ์, ชัยชนะทางการเมือง, ชาติ, ประชาธิปไตย, สังคมนิยม, การปฏิวัติ ฯลฯ), มนุษย์มีศักดิ์ศรี ไม่ใช่สินค้าที่มีเพียงราคา
ในแง่อุดมคติการเมือง: ถือหลักความเป็นพลเมืองเสมอภาคกัน ทุกคนมีสิทธิพลเมืองเท่าเทียมโดยสิทธิดังกล่าวเป็นเรื่องต่างหากไม่ได้ขึ้นต่อสมรรถภาพ, ความสำเร็จ, สภาพเงื่อนไขและเอกลักษณ์ที่แต่ละคนได้รับมา รัฐบาลต้องเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของพวกเขาบนฐานที่เท่าเทียมกัน
ในแง่อุดมคติทางสังคม: มองสังคมและเศรษฐกิจเป็นระเบียบแห่งความร่วมมือที่ซึ่งทุกคนได้รับการปฏิบัติต่ออย่างเสมอภาค มีที่ยืนหรือฐานะเท่าเทียมกัน ไม่วางใจความคิดที่ว่าตลาดและการแข่งขันอย่างไร้กฎระเบียบกำกับควบคุมโดยทั่วไปจะจัดเป็นตัวอย่างของความร่วมมือที่ว่านั้นได้ เนื่องจากตลาดและการแข่งขันอย่างไร้กฎระเบียบกำกับควบคุมดังกล่าวย่อมก่อเกิดความไม่เสมอภาคด้านรางวัลตอบแทนและสภาพเงื่อนไขการดำรงชีพอยู่แล้วโดยธรรมชาติ ซึ่งหากความไม่เสมอภาคดังกล่าวสั่งสมจนเกินเลยแล้ว ก็จะก้ดกร่อนบ่อนเซาะและลบล้างความสัมพันธ์ที่เสมอภาคทางสังคม
สรุป: สิ่งที่เรียกว่าฝ่ายซ้ายก็คือโครงการวิพากษ์และเปลี่ยนโลกกับสังคมให้เสมอภาคกันอย่างแข็งขัน ซึ่งอาจถูกตีความแล้วตีความใหม่แตกต่างหลากหลายกันออกไปได้ในประวัติศาสตร์ตามกาละเทศะต่าง ๆ ว่าความไม่เสมอภาคอันมิอาจอ้างว่าชอบธรรมได้ในสถานการณ์หนึ่ง ๆ นั้นคืออะไร? และจะบรรเทาหรือบำบัดมันด้วยวิธีการและโปรแกรมอย่างไร?
ท่ามกลางความปั่นป่วนโกลาหลทางอุดมการณ์ดังกล่าว สตีเว่น ลุคส์ ศาสตราจารย์ทฤษฎีสังคมและการเมืองชาวอังกฤษ ผู้แต่ง “การิทัตผจญภัย: นิยายปรัชญาการเมือง” ได้พยายามเสนอคำนิยามความเป็น “ซ้าย” ขึ้นมาในปัจฉิมบทของหนังสือ The Cambridge History of Twentieth-Century Political Thought (๒๐๐๓) ชื่อบทว่า “The grand dichotomy of the twentieth century” (http://histories.cambridge.org/extract?id=chol9780521563543_CHOL9780521563543A030)
เขาโยงธรรมเนียมประเพณีและโครงการของฝ่ายซ้ายกลับไปยังปรัชญายุครู้แจ้ง (The Enlightenment) ซึ่งตั้งคำถามต่อหลักการศักดิ์สิทธิ์ของระเบียบสังคม, ท้าทายบรรดาความไม่เสมอภาคนานัปการที่ไม่อาจอ้างว่าชอบธรรม อีกทั้งแก้ไขเยียวยาได้ ไม่ว่าจะเป็นความไม่เสมอภาคทางฐานะ, สิทธิ, อำนาจ, สภาพเงื่อนไขการดำรงชีพ, และเพียรพยายามขจัดความไม่เสมอภาคเหล่านั้นให้หมดสิ้นไปผ่านปฏิบัติการทางการเมือง
อาจกล่าวได้ว่าแก่นยึดมั่นใจกลางของฝ่ายซ้ายคือหลักความเสมอภาคอันเป็นพื้นฐานของแนวคิดมนุษยนิยม ว่าความเสมอภาคนั้นมันหมายถึงสิ่งใดแน่? และมีนัยสืบเนื่องทางความคิดและการปฏิบัติอย่างไร?
วิสัยทัศน์อุดมคติของฝ่ายซ้ายคือสังคมของคนผู้เสมอภาคกัน เพื่อบรรลุถึงเป้านั้น จึงต้องวินิจฉัยสืบ เสาะเจาะหาต้นตอแห่งการเลือกปฏิบัติและการพึ่งพาขึ้นต่ออันไม่อาจอ้างว่าชอบธรรมได้อย่างกว้างขวางที่สุด และคิดค้นโปรแกรมทางปฏิบัติเพื่อบำบัดหรือบรรเทามันลง
ในแง่หลักศีลธรรม: ยึดหลักว่ามนุษย์ทุกผู้ทุกนามต่างมีค่าควรแก่การห่วงใยและเคารพเสมอหน้ากัน, พวกเขาควรปฏิบัติต่อกันโดยถือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเป็นเป้าหมายในตัว ไม่ใช่เป็นแค่เครื่องมือไปบรรลุสิ่งอื่น (เช่นอำนาจ, อุดมการณ์, ชัยชนะทางการเมือง, ชาติ, ประชาธิปไตย, สังคมนิยม, การปฏิวัติ ฯลฯ), มนุษย์มีศักดิ์ศรี ไม่ใช่สินค้าที่มีเพียงราคา
ในแง่อุดมคติการเมือง: ถือหลักความเป็นพลเมืองเสมอภาคกัน ทุกคนมีสิทธิพลเมืองเท่าเทียมโดยสิทธิดังกล่าวเป็นเรื่องต่างหากไม่ได้ขึ้นต่อสมรรถภาพ, ความสำเร็จ, สภาพเงื่อนไขและเอกลักษณ์ที่แต่ละคนได้รับมา รัฐบาลต้องเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของพวกเขาบนฐานที่เท่าเทียมกัน
ในแง่อุดมคติทางสังคม: มองสังคมและเศรษฐกิจเป็นระเบียบแห่งความร่วมมือที่ซึ่งทุกคนได้รับการปฏิบัติต่ออย่างเสมอภาค มีที่ยืนหรือฐานะเท่าเทียมกัน ไม่วางใจความคิดที่ว่าตลาดและการแข่งขันอย่างไร้กฎระเบียบกำกับควบคุมโดยทั่วไปจะจัดเป็นตัวอย่างของความร่วมมือที่ว่านั้นได้ เนื่องจากตลาดและการแข่งขันอย่างไร้กฎระเบียบกำกับควบคุมดังกล่าวย่อมก่อเกิดความไม่เสมอภาคด้านรางวัลตอบแทนและสภาพเงื่อนไขการดำรงชีพอยู่แล้วโดยธรรมชาติ ซึ่งหากความไม่เสมอภาคดังกล่าวสั่งสมจนเกินเลยแล้ว ก็จะก้ดกร่อนบ่อนเซาะและลบล้างความสัมพันธ์ที่เสมอภาคทางสังคม
สรุป: สิ่งที่เรียกว่าฝ่ายซ้ายก็คือโครงการวิพากษ์และเปลี่ยนโลกกับสังคมให้เสมอภาคกันอย่างแข็งขัน ซึ่งอาจถูกตีความแล้วตีความใหม่แตกต่างหลากหลายกันออกไปได้ในประวัติศาสตร์ตามกาละเทศะต่าง ๆ ว่าความไม่เสมอภาคอันมิอาจอ้างว่าชอบธรรมได้ในสถานการณ์หนึ่ง ๆ นั้นคืออะไร? และจะบรรเทาหรือบำบัดมันด้วยวิธีการและโปรแกรมอย่างไร?