Friday, February 18, 2011

การปฏิวัติประชาธิปไตยประชาชน


ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2150 ถึง พ.ศ. 2300 (ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา) เป็นช่วงที่ประเทศทุนนิยม (ในทวีปยุโรปที่เจริญแล้วในปัจจุบัน) กำลังเฟื่องฟูและได้เกิดการปฏิวัติประชาธิปไตยของชนชั้นนายทุนประเทศแล้ว ประเทศเล่าอย่างต่อเนื่อง เป็นการปฏิวัติที่คัดค้านระบอบทาสกสิกรของชนชั้นศักดินา และกวาดล้างอุปสรรคในการพัฒนาของ “ระบอบทุนนิยม”


พลังขับดันในเวลานั้นมีทั้งชนชั้นนายทุน ชาวนา และชนชั้นกรรมาชีพ ทั้งนี้เพราะขณะนั้นชนชั้นกรรมาชีพยังมิได้ก่อตัวขึ้นเป็นพลังทางการเมือง ที่เป็นอิสระจากการครอบงำของชนชั้นอื่น ๆ อย่างแท้จริง จึงจำเป็นต้องทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ช่วยของชนชั้นนายทุน ส่วนชาวนาก็เป็นเพียงกองทัพสำรองของชนชั้นนายทุนเท่านั้น ชนชั้นนายทุนมีอำนาจนำในการปฏิวัติ ด้วยเหตุนี้ผลของการปฏิวัติ ชนชั้นนายทุนจึงได้อำนาจรัฐไปครอง และกลายเป็นชนชั้นผู้ปกครองในประเทศเหล่านั้นแทนผู้ปกครองจากชนชั้นศักดินา แต่ดั้งเดิม
ต่อมาเมื่อระบอบทุนนิยมในทวีปยุโรปได้ก้าวเข้าสู่ขั้น ทุนนิยมผูกขาด กลายเป็นจักรพรรดินิยมหรือทุนนิยมข้ามชาติไปไม่น้อยแล้ว แต่ยังมีบางประเทศที่ระบอบการปกครองยังล้าหลัง ชนชั้นเจ้าที่ดินศักดินายังครอบงำการปกครองอยู่ โดยมิได้พัฒนาให้สอดคล้องกับพลังการผลิตที่เจริญรุดหน้าไปมากแล้ว ความขัดแย้งภายในของประเทศเหล่านี้ทำให้เกิดการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนาย ทุนขึ้นภายหลัง เช่น การปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนของรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2448 - 2450 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 )


เลนินชี้ว่า “การปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนไม่เพียงแต่มีประโยชน์ต่อชนชั้นนายทุน เท่านั้น ต่อชนชั้นกรรมาชีพก็มีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งเช่นกัน เพราะว่า “การปฏิวัติของชนชั้นนายทุนยิ่งดำเนินไปอย่างเต็มที่ เด็ดเดี่ยว และถึงที่สุดเท่าไหร่ การต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพเพื่อคัดค้านชนชั้นนายทุน ช่วงชิงระบอบสังคมนิยมก็ยิ่งมีหลักประกัน” (จาก “สองยุทธวิธีของพรรคสังคมประชาธิปไตยในการปฏิวัติประชาธิปไตย”)
ดัง นั้น ในระยะประวัติศาสตร์เช่นนี้ ชนชั้นกรรมาชีพทั้งสามารถและควรจะกลายเป็นผู้นำการปฏิวัตินี้ การปฏิวัติประชาธิปไตยของชนชั้นนายทุนภายใต้การนำของชนชั้นกรรมาชีพย่อมจะ ต้องเกิดขึ้นในรูปแบบที่เป็นผลดีต่อชาวนาและกรรมกร ย่อมจะต้องสถาปนา “เผด็จการประชาธิปไตยประชาชนที่ปฏิวัติ” ของชนชั้นกรรมาชีพและชาวนา ทั้งย่อมจะต้องแปรเปลี่ยนเป็นการ “ปฏิวัติสังคมนิยม” ต่อไปด้วย ความคิดเหล่านี้ของเลนิน มีความหมายในการชี้นำอย่างใหญ่หลวงต่อการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนใน ยุคจักรพรรดินิยม


ในยุคจักรพรรดินิยม นอกจากในทวีปยุโรป ยังมีประเทศด้อยพัฒนาล้าหลังอยู่ทั่วโลกเป็นอันมากที่ยังมิได้ทำการปฏิวัติ ประชาธิปไตยให้ลุล่วงไป พวกจักรพรรดินิยมหรือกลุ่มทุนข้ามชาติขนาดยักษ์นั้น ด้านหนึ่งก็ร่วมสมคบกับอิทธิพลศักดินาภายในประเทศด้อยพัฒนาล้าหลัง รักษารากเหง้าระบอบขูดรีดของศักดินาไว้ และทำให้ชนชั้นเจ้าที่ดินกลายเป็นหลักค้ำจุนการรุกรานและการปกครองประเทศ เหล่านี้ของตน อีกด้านหนึ่งก็ชุบเลี้ยงชนชั้นนายทุนใหญ่ที่มีลักษณะเป็นนายหน้าในประเทศ ด้อยพัฒนาล้าหลัง เพื่อให้เป็นตัวแทนการปกครองประชาชนเหล่านี้ของตนโดยตรง


ใน หลายประเทศ ชนชั้นนายทุนนายหน้าได้พัฒนากลายเป็นชนชั้นนายทุนขุนนาง ใช้อำนาจรัฐของประเทศผูกขาดเส้นเลือดทางเศรษฐกิจของทั้งประเทศเพื่อรับใช้ พวกจักรพรรดินิยม ความขัดแย้งระหว่างจักรพรรดินิยมกับประชาชาติที่ถูกกดขี่ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นศักดินาและนายทุนนายหน้าฝ่ายหนึ่งกับมวลมหาประชาชน เป็นความขัดแย้งพื้นฐานของประเทศเหล่านี้ และนำไปสู่การเคลื่อนไหวปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ


หลัง สงครามโลกครั้งที่ 1 และหลังการปฏิวัติเดือนตุลาคมของรัสเซีย การต่อสู้ปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตยในประเทศด้อยพัฒนาล้าหลังได้เกิดขึ้น อย่างกว้างขวาง และชนชั้นนายทุนมิได้เป็นชนชั้นนำการปฏิวัติแต่เพียงชนชั้นเดียวอีกต่อไป ขณะเดียวกันก็เป็นการเริ่มต้นยุคแห่งการปฏิวัติที่นำโดยชนชั้นกรรมาชีพเพื่อ ก้าวไปสู่สังคมนิยม


เลนินชี้ว่า “ถ้าหากการต่อสู้เพื่อคัดค้านทุนของกรรมกรในทวีปยุโรปและอเมริกาไม่สามัคคี กับทาสในเมืองขึ้น เรือนแสนเรือนล้านที่ถูกทุนกดขี่อยู่ทั้งหมดอย่างแน่นแฟ้นที่สุดแล้ว การเคลื่อนไหวปฏิวัติของประเทศที่ก้าวหน้า โดยความเป็นจริงแล้วก็เป็นแค่เพียงกลลวงอย่างหนึ่งเท่านั้น” (จาก “การประชุมสมัชชาผู้แทนครั้งที่ 2 ของคอมมิวนิสต์สากล”)


เหมาเจ๋อตุง ชี้ว่า “การปฏิวัติของประเทศเมืองขึ้น กึ่งเมืองขึ้น เป็นการโจมตีลัทธิจักรพรรดินิยมอย่างถึงที่สุด มันทำให้แนวหลังของลัทธิจักรพรรดินิยมกลายเป็นแนวหน้าที่คุกคามชีวิตของ ลัทธิจักรพรรดินิยม สั่นคลอนระบอบลัทธิจักรพรรดินิยมอย่างถึงราก และเป็นประโยชน์แก่การพัฒนาของการเคลื่อนไหวปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพ ด้วยเหตุนี้ มันจึงเป็นสิ่งที่ลัทธิจักรพรรดินิยมไม่ยินยอมและคัดค้าน แต่มันกลับเป็นที่ยอมรับของลัทธิสังคมนิยม และเป็นสิ่งที่ลัทธิสังคมนิยมและชนชั้นกรรมาชีพสากลให้การสนับสนุน”
หลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 การเคลื่อนไหวเพื่อปลดปล่อยประชาชาติในประเทศด้อยพัฒนาล้าหลังได้พัฒนาขยาย ตัวไปอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น หลังจากการต่อสู้กับจักรพรรดินิยมมาเป็นเวลายาวนาน บางส่วนได้ก้าวไปสู่หนทางสังคมนิยม บ้างก็ได้รับเอกราชทางการเมือง แต่จักรพรรดินิยมโดยเฉพาะอย่างยิ่งจักรพรรดินิยมอเมริกา ยังคงดิ้นรนและหมายมุ่งที่จะใช้นโนบาย “ล่าอาณานิคมแบบใหม่” ที่มีเล่ห์เหลี่ยมกลลวงมากกว่าเดิม มากดขี่ขูดรีดประเทศด้อยพัฒนาล้าหลังต่อไป รวมทั้งแทรกตัวเข้าแทนที่ลัทธิล่าอาณานิคมแบบเก่าที่เสื่อมอิทธิพลลง


ลัทธิ ล่าอาณานิคมแบบใหม่มิได้ใช้วิธีการล่าเมืองขึ้นโดยตรงอย่างโจ่งแจ้ง หากได้ใช้สิ่งที่เรียกว่า ”การช่วยเหลือ” เป็นเหยื่อล่อ ใช้วิธีการ “ผูกมัด-ควบคุมทางเศรษฐกิจ การกว้านซื้อทางการเมือง และสนธิสัญญาทางทารทหาร” เป็นเครื่องมือบรรลุจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกับลัทธิล่าอาณานิยมแบบเก่า ซึ่งโดยผิวเผินแล้ว ได้ยอมให้ประเทศที่ถูกรุกรานยังคงมี “ความเป็นเอกราชในทางรูปแบบ” เพราะมันแสดงบทบาทหลอกลวงได้แนบเนียนกว่า


สิ่ง ที่เรียกว่า ”การช่วยเหลือ” แท้จริงก็คือการส่งออกของทุนอย่างหนึ่ง การช่วยเหลือเหล่านี้ก็เพื่อที่จะเสริมการรุกราน การขูดรีด และการควบคุมที่มั่นคงแน่นหนายิ่งขึ้นต่อประเทศที่คอยรับความช่วยเหลือ แล้วคอยฉกชิงผลกำไรสูงสุด และสร้างอิทธิพลครอบงำทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองต่อประเทศที่รับความช่วย เหลือตลอดไป


หลายสิบปีหลังการปฏิวัติเดือนตุลาคมของรัสเซีย การต่อสู้ปฏิวัติตามแนวทางสังคมนิยมได้ท้าทายการครอบงำโลกของ “ทุนนิยม” อย่างทั่วด้าน กลายเป็นสงครามเย็นที่เผชิญหน้ากันในทุกแนวรบระหว่างค่ายสังคมนิยมกับค่าย ทุนนิยม


แม้ว่าในเวลาต่อมา สงครามเย็นได้ยุติลงโดยฝ่ายค่ายสังคมนิยมจะเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำและถอยร่น เพราะความอ่อนหัดและขาดบทเรียนในการนำลัทธิมาร์กซ-เลนินไปชี้นำการปฏิวัติ ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ทางภาววิสัย ทำให้ต้องหันกลับมาสรุปบทเรียนและความจัดเจนครั้งใหญ่ท่ามกลางการต่อสู้นี้ เหมือนดังตอนหนึ่งของเพลง “วีรชนปฏิวัติ” ที่ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้ประพันธ์ไว้ว่า
“สู้ พ่ายแพ้สู้ใหม่ พ่ายแพ้สู้ใหม่ จนชัยได้มา”


การเพลี่ยงพล้ำและถอยร่นดังกล่าว ทำให้ค่ายทุนนิยมรุกเข้าครอบครองโลกไว้ได้อย่างเด็ดขาด การขยายอิทธิพลของจักรพรรดินิยมโดยเฉพาะอย่างยิ่งจักรพรรดินิยมอเมริกาจึง เป็นไปอย่างเต็มที่ ทั้งด้วยรูปแบบทางเศรษฐกิจและทางการทหาร ทั้งบนบก ในทะเล และแม้แต่ในอวกาศ โดยไม่คำนึงถึงข้อตกลงหรือสนธิสัญญาระหว่างประเทศใด ๆ ไม่ว่าในกรณีรุกรานประเทศอาฟกานิสถาน ประเทศอิรัก การข่มขู่ว่าจะใช้กำลังทหารรุกรานประเทศต่าง ๆ หรือแม้แต่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมและคุกคามความ ปลอดภัยของประชาชนทั่วทั้งโลก ทำให้วิกฤติการณ์ต่าง ๆ ขยายตัวไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งวิกฤติทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ


ทฤษฎีการปฏิวัติตั้งแต่ ในอดีต ได้ให้ความสำคัญต่อ “ปัญหาอำนาจการนำ” ไว้อย่างมาก เหมาเจ๋อตุงเคยกล่าวไว้ว่า “ปัญหาอำนาจการนำของการเคลื่อนไหวปฏิวัติในประเทศเมืองขึ้น กึ่งเมืองขึ้น เป็นปัญหามูลฐานปัญหาหนึ่ง เป็นปัญหาปมเงื่อนแห่งการที่จะบรรลุชัยชนะอย่างถึงที่สุดหรือไม่ของการ ปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตย”


ในยุคสมัยแห่งการปฏิวัติโลกของลัทธิ สังคมนิยมวิทยาศาสตร์แห่งชนชั้นกรรมาชีพ (ในกาลข้างหน้าอนาคตที่ยังมาไม่ถึง) มีแต่ชนชั้นกรรมาชีพเท่านั้นจึงจะสามารถนำประชาชนทั้งมวลไปทำการปฏิวัติที่ คัดค้านจักรพรรดินิยม คัดค้านศักดินา คัดค้านทุนนิยมได้อย่างถึงที่สุด ทำให้ประเทศเป็นเอกราชและประชาชนได้รับการปลดปล่อยอย่างถึงที่สุดได้อย่าง แท้จริง นี่เป็นวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล และไม่อาจจะเข้าใจได้ด้วยการมองแค่ปรากฏการณ์ช่วงสั้น ๆ ในปัจจุบัน หรือด้วยทัศนะการมองปัญหาแบบหยุดนิ่ง ไม่เคลื่อนที่ ไม่เปลี่ยนแปลง หรือมิได้ทำความเข้าใจด้วยทัศนะของวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ ซึ่งก็เหมือนกับนักคิดโบราณในยุคทาสจำนวนหนึ่งที่ไม่ยอมเชื่ออย่างเด็ดขาด ว่า ชนชั้นทาสจะสามารถลุกขึ้นต่อสู้ปลดแอกตนเองจนระบอบทาสล่มสลาย หรือเหมือนกับนักคิดโบราณในยุคศักดินาจำนวนหนึ่งที่ไม่ยอมเชื่ออย่างเด็ดขาด ว่า พ่อค้าวาณิชย์หรือเหล่ากระฏุมพีที่แสนต่ำต้อยในสังคมศักดินาจะเติบโตเข้ม แข็งจนกลายเป็นชนชั้นผู้ขุดหลุมฝังศพให้กับชนชั้นศักดินา เช่นเดียวกัน ด้วยทัศนะอภิปรัชญาแบบนี้

พวกเขาจึงมองไม่เห็นพลังของชนชั้นกรรมาชีพในอนาคต และคิดเพียงว่า ชนชั้นกรรมาชีพที่ต่ำต้อยด้อยพลังในเวลานี้จะต้องสะดุดหยุดนิ่งและจะเป็น เช่นนี้ตลอดไป ขณะเดียวกันก็ใช้หลักคิดพื้นฐานเช่นนี้ไปเข้าใจว่า ชนชั้นนายทุนชาติ ชนชั้นกลาง รวมทั้งปัญญาชนและชนชั้นนายทุนน้อย จะต้องมีพลังมากกว่าชนชั้นกรรมาชีพเช่นนี้ไปตลอดกาลเช่นเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่ปรากฏการณ์เฉพาะหน้านี้เป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่มีการ พัฒนามาตลอดกาลอย่างยาวนานหลายพันปี และมิได้สิ้นสุดหยุดนิ่งแต่เพียงเท่านี้อย่างแน่นอน ที่สำคัญบางคนถึงกับเชื่อว่าชนชั้นนายทุนจะสามารถเสกสรร์เล่ห์อุบายกลลวง นานัปการมาหลอกลวงมึนชา ให้ชนชั้นกรรมาชีพยอมจำนนอยู่กับการกดขี่ขูดรีดเช่นนี้ได้ตลอดไป และฟันธงอย่างมั่นใจว่า การปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพจะไม่เกิดขึ้นอีกแล้วตลอดกาล และแน่นอน ลัทธิมาร์กซก็ย่อมจะใช้ไม่ได้ไปตลอดกาลด้วย !


นี่เป็นการต่อสู้ใน ปริมณฑลทางความคิดทฤษฎีที่แหลมคม เพราะความปรารถนาสูงสุดของชนชั้นนายทุนตั้งแต่ไหนแต่ไรมาก็คือ พยายามทำให้ทุกคนในโลก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนชั้นกรรมาชีพ) เชื่อว่า ทฤษฎีลัทธิมาร์กซใช้ไม่ได้หรอก เป็นความคิดโง่ ๆ เกิดขึ้นเป็นจริงไม่ได้ หลงเชื่อไปก็เสียเวลา หรือไม่ก็ตายเปล่า และอะไรอีกมากมายในทำนองนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหลังสงครามเย็นที่ค่ายสังคมนิยมเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำ และถอยร่น ซึ่งถ้าหากพวกเขาทำได้สำเร็จเช่นนั้นจริง ๆ ก็ย่อมจะรักษาสถานะนำในสังคมและธำรงไว้ซึ่งการกดขี่ขูดรีดอย่างหนักหน่วง เช่นนี้ได้ตลอดไป แต่มันง่ายเกินไปที่จะเพ้อฝันว่าชนชั้นกรรมาชีพที่ก้าวหน้าจะพากันละทิ้งการ ใช้ทฤษฎีลัทธิมาร์กซ-เลนินที่เป็นอาวุธทางความคิดของชนชั้นตนหลังจากการ ต่อสู้ทางชนชั้นกับชนชั้นนายทุนแล้วเกิดความเพลียงพล้ำขึ้นมาสักครั้งสอง ครั้ง เพราะหากละทิ้งหรือปราศจากอาวุธทางความคิดที่รับใช้ชนชั้นกรรมาชีพอย่างถึง ที่สุดชนิดนี้แล้ว ชนชั้นกรรมาชีพก็ไม่สามารถจะต่อสู้โค่นล้มชนชั้นนายทุนและปลดปล่อยพลังการ ผลิตได้อย่างแท้จริงและตลอดไป


กล่าวสำหรับในบางประเทศที่มี อิทธิพลของจักรพรรดินิยม และศักดินาดำรงอยู่อย่างแน่นหนา การดำรงอยู่ของชนชั้นที่ล้าหลังกว่าทางประวัติศาสตร์ เป็นอุปสรรคขัดขวางการพัฒนาไปของสังคมในทุก ๆ ด้าน ในบริบทของความคิดทฤษฎี พวกเขาขัดขวางการขยายตัวเติบใหญ่ของระบอบทุนนิยมอย่างเห็นได้ชัด (แม้ว่าจะพลิกผันตัวเองให้มาขูดรีดแบบเดียวกับชนชั้นนายทุน และมีผลประโยชน์มหาศาลร่วมกับชนชั้นนายทุนอยู่แล้วก็ตาม แต่พวกเขาก็ยังคงใช้อิทธิพลของชนชั้นที่ล้าหลัง สร้างกฎเกณฑ์ทางสังคมที่เอาเปรียบและมิได้แข่งขันกันอย่างเสมอภาคเท่าเทียม กันกับชนชั้นนายทุนอื่น ๆ ) อีกทั้งระบอบการผลิตและวัฒนธรรมจิตสำนึกที่ล้าหลังของพวกเขา ก็ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมที่พัฒนาไปแล้วโดยการผลักดันของชน ชั้นนายทุนได้ การมีอิทธิพลของชนชั้นที่ล้าหลังกว่าดำรงอยู่อย่างหนาแน่น จึงก่อให้เกิดความขัดแย้งขั้นพื้นฐานในสังคมขึ้นอย่างกว้างขวาง และแน่นอนพวกเขาย่อมดิ้นรนเพื่อยืดลมหายใจมิให้ชนชั้นนายทุนขุดหลุมฝังพวก เขาได้โดยง่าย สังคมประเทศอื่น ๆ ที่เคยผ่านช่วงประวัติศาสตร์นี้มาก่อนก็ล้วนแต่เป็นเช่นนี้ จึงมิใช่เรื่องแปลกประหลาดที่น่าตื่นเต้นตกใจแต่อย่างใด


นักลัทธิ มาร์กซที่ใช้หลักการพื้นฐานของวัตถุนิยมประวัติศาสตร์มาศึกษา และทำความเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมเหลานี้ จะสามารถเข้าใจเรื่องราวได้โดยง่าย และคาดการณ์อนาคตได้ไม่ยากว่า ชนชั้นที่ขัดขวางกงล้อประวัติศาสตร์ ขัดขวางการพัฒนาก้าวรุดหน้าของพลังการผลิตในสังคม จะต้องเสื่อมทรุดและถูกแทนที่ด้วยชนชั้นที่ก้าวหน้ากว่าในช่วงประวัติศาสตร์ นั้น ๆ นี่เป็นกฎที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าใครอยากให้มันเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม และไม่ว่าจะยอมรับลักษณะรูปธรรมที่กักขฬะของชนชั้นนายทุนหรือไม่ก็ตาม เพราะกฎที่ว่านี้ได้เคยเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าตั้งแต่ปลายยุคชุมชนบรรพ กาลเมื่อเกือบหมื่นปีมาแล้ว เพียงแต่ว่า ด็อกเตอร์ คาร์ล มาร์กซ เป็นผู้ค้นพบและถอดกฎเกณฑ์เหล่านี้ออกมาเป็นทฤษฎีได้สำเร็จ จนแม้แต่นักวิชาการและสถาบันชั้นนำในประเทศอเมริกายังต้องยกย่องให้ ดร. คาร์ล มาร์กซ เป็นนักคิดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสหัสวรรษ (ในรอบ 1,000 ปีนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1001-2000 ) เหนือกว่า อัลเบิร์ต ไอน์สไตน นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบหลักการทำงานของระเบิดปรมาณูเสียอีก


การ ปฏิวัติในสังคมที่เช่นนี้จะต้องผ่านขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ 2 รูปแบบ คือ
1. ปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน จะเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขสำคัญคือ
1.1 ชนชั้นนายทุนมีความเข้มแข็งและตัดสินใจต่อสู้เพื่อความเป็นอิสระของตน
1.2 ชนชั้นกรรมาชีพยังอ่อนแอ กล่าวคือ

1.2.1 ไม่สามารถแสดงพลังทางการเมืองที่เป็นอิสระจากชนชั้นอื่น ๆ

1.2.2. ยังมิได้ติดอาวุธทางความคิดเพื่อปลดปล่อยชนชั้นเองอย่างกว้างขวาง

1.2.3 ยังมิได้มีการจัดตั้งที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดตั้งในรูปแบบสูงสุด (พรรคปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพ)
การ ปฏิวัติรูปแบบนี้จะนำโดยชนชั้นนายทุน เพื่อไปขุดหลุมฝังศพให้กับชนชั้นที่ล้าหลังกว่าทางประวัติศาสตร์ แต่ชนชั้นนายทุนจะต้องสำแดง “บทบาทการนำ” ที่เข้มแข็ง จริงจัง เอาการเอางานและทุ่มเทอย่างเต็มที่ และมีแนวร่วมอันกว้างใหญ่ไพศาลคอยสนับสนุน พวกเขาก็จะพบความสำเร็จพร้อมกับชัยชนะที่รออยู่ข้างหน้า


ในรูปแบบ นี้ สถานะ “การนำ” ของขบวนการต่อสู้จะเป็นของชนชั้นนายทุน และผลประโยชน์ของการปฏิวัติก็จะตกอยู่กับชนชั้นนายทุนเป็นส่วนใหญ่ พวกเขาจะเป็นชนชั้นนำในสังคมทดแทนชนชั้นที่ล้าหลังกว่าทางประวัติศาสตร์ต่อ ไป และมีบทบาทในการควบคุมการพัฒนาของ “พลังการผลิตในสังคม” ให้ก้าวรุดหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น
ส่วนชนชั้นกรรมาชีพจะต้องช่วงชิงผล ประโยชน์ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสังคมครั้งนี้ มาทำให้ภายในขบวนแถวของชนชั้นกรรมาชีพเข้มแข็งและมีพลังอย่างเต็มที่ รวมทั้งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเฉพาะหน้าของกรรมกรบางส่วนด้วย
แต่ถ้าชนชั้นนายทุนยังอยู่ในสภาวะที่อ่อนแอ ไม่กล้าแสดงบทบาทนำในการต่อสู้ครั้งสำคัญทางประวัติศาสตร์ หรือทรยศต่อประชาชน หันไปสมคบและประนีประนอมกับชนชั้นที่ล้าหลังทางประวัติศาสตร์ พวกเขาก็จะต้องถูกทำลายล้างและพบกับจุดจบที่น่าอัปยศอดสู ผลประโยชน์ทางชนชั้นอันมหาศาลของพวกเขาจะถูกทำลายและฉกฉวยช่วงชิงไป


อย่าง ไรก็ตาม หากพวกเขาไม่กล้าลุกขึ้นสู้ และอยู่ในช่วงเวลาที่ชนชั้นกรรมาชีพยังเติบโตเข้มแข็งไม่เพียงพอที่จะเข้า แบกรับภารกิจทางประวัติศาสตร์ของตน ในอนาคตก็จะต้องมีตัวแทนชนชั้นนายทุนกลุ่มใหม่ลุกขึ้นมาต่อสู้กับชนชั้นที่ ล้าหลังกว่าและจะต้องประสบชัยชนะในที่สุด นี่เป็นกฎทางประวัติศาสตร์ !
2. การปฏิวัติประชาธิปไตยประชาชน จะเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขสำคัญคือ

2.1 ชนชั้นนายทุนอ่อนแอเกินกว่าจะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสังคม

2.1.1 ไม่กล้าต่อสู้กับชนชั้นที่ล้าหลังกว่าทางประวัติศาสตร์

2.1.2 ทรยศต่อประชาชน หรือหันไปสมคบและประนีประนอมกับชนชั้นที่ล้าหลังทางประวัติศาสตร์

2.1.3 ถูกแยกสลายทำลายล้างและอ่อนแอกว่าชนชั้นอื่น ๆ โดยสัมพัทธ์
2.2 ชนชั้นกรรมาชีพมีความเข้มแข็ง ได้ติดอาวุธทางความคิดอย่างกว้างขวาง มีการจัดตั้งที่ทรงพลังเข้มแข็งเพียงพอ


การปฏิวัติรูปแบบนี้จะนำโดย ชนชั้นกรรมาชีพ (กรรมกร) ที่ลุกขึ้นมาแบกรับภารกิจทางประวัติศาสตร์ของตนเอง โดยมีชนชั้นชาวนาเป็นพันธมิตรที่เข้มแข็ง นำพาชนชั้นกลาง ชนชั้นนายทุนน้อย ชนชั้นนายทุนชาติและผู้รักชาติรักประชาธิปไตยทั้งมวลที่รวมตัวกันเป็น “แนวร่วมประชาชนอันกว้างใหญ่ไพศาล” เข้าร่วมการเปลี่ยนแปลงปฏิวัติครั้งนี้
ผล ประโยชน์จากการปฏิวัติครั้งนี้ก็จะตกอยู่กับ “ประชาชนทุกชนชั้น” มิได้ตกอยู่กับชนชั้นกรรมกร-ชาวนา ซึ่งเป็นพันธมิตรที่มีบทบาทนำเท่านั้น หากแต่ชนชั้นอื่น ๆ ไม่ว่าชนชั้นกลาง ชนชั้นนายทุนน้อย ชนชั้นนายทุนชาติและผู้รักชาติรักประชาธิปไตยทุกหมู่เหล่าเช่น ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ภิกษุ อาชีพอิสระ นักบริหาร ค้าขาย รับจ้างสาธารณะ ฯลฯ ต่างก็จะได้ประโยชน์กันโดยถ้วนหน้า
“การปฏิวัติประชาธิปไตยประชาชน” จึงเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมที่รวบรวมพลังทางการเมืองของคน ทุกชนชั้น ไม่ว่ากรรมกร ชาวนา นายทุนน้อย ชนชั้นกลาง และรวมทั้งชนชั้นนายทุนชาติด้วย เพื่อ
1. สร้าง “ระบอบประชาธิปไตยของประชาชน” ที่เท่าเทียมกันอย่างแท้จริงขึ้นมาในสังคม

2. ขจัดอิทธิพลล้าหลังที่ขัดขวางพลังการผลิต เอารัดเอาเปรียบและกดขี่ขูดรีดชนชั้นอื่น ๆ ทุกชนชั้น

3. จัดสรรผลประโยชน์ให้กับชนชั้นต่าง ๆ อย่างเหมาะสม

4. พัฒนาประเทศให้อยู่ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์อย่างเท่าเทียมและรู้เท่าทันเล่ห์กล ของ จักรพรรดินิยม

5. ต่อสู้กับการรุกรานและขยายอิทธิพลครอบงำโลกของจักรพรรดินิยมอย่างเด็ดเดี่ยว

6. ร่วมมือบางอย่างกับจักรพรรดินิยมบางส่วน ภายใต้เงื่อนไขที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนอย่างมีการจำแนกแยกแยะ
การ วิเคราะห์สังคมอย่างถูกต้องและตามหลักวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ จะช่วยแยกแยะให้แจ่มชัดว่า การเปลี่ยนแปลงปฏิวัติที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ที่สุดนี้ เป็นการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน หรือการปฏิวัติประชาธิปไตยประชาชน
กล่าว (ย้ำอีกที) สำหรับในบางประเทศที่มีอิทธิพลของจักรพรรดินิยมและศักดินาดำรงอยู่อย่างแน่น หนา
การเปลี่ยนแปลงสังคมในรูปแบบ “การปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน” นั้น หากจะเกิดขึ้นจริง ในทางยุทธวิธี (ของชนชั้นกรรมาชีพ) อาจจะมีความเป็นไปได้ที่จะเข้าร่วมอยู่บ้าง แต่ปัจจัยชี้ขาดว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ ก็ยังคงอยู่ที่ชนชั้นนายทุนว่าจะกล้าต่อสู้จริง ๆ หรือไม่ กล่าวโดยทั่วไปก็มีความเป็นไปได้น้อย เนื่องจากชนชั้นที่ล้าหลังทางประวัติศาสตร์ก็รู้จักสรุปบทเรียน และต้องการประนีประนอมมากกว่า เพราะนอกจากด้านวัฒนธรรมจิตสำนึกแล้ว ก็มิได้มีอะไรที่เข้มแข็งกว่าชนชั้นนายทุน


ส่วนในทางยุทธศาสตร์นั้น หากคิดจะหวังพึ่งให้ชนชั้นนายทุนชาตินำพาการปฏิวัติสังคมอย่างถึงที่สุดแล้ว กล่าวได้ว่านี่เป็นความคิดเพ้อฝันที่ผิดพลาดและล้มเหลวตั้งแต่เริ่มต้น ส่วนในทางปฏิบัติจะทำแนวร่วมกับชนชั้นนายทุนได้หรือไม่ ยังต้องพิจารณาที่ชนชั้นกรรมาชีพมีพลังมากพอสมควรหรือยัง ที่สำคัญต้องมิใช่หลอมรวมกลายเป็นเครื่องมือรับใช้พวกเขา


สำหรับรูป แบบการปฏิวัติประชาธิปไตยประชาชน จะต้องเข้าใจอีกว่า ระดับการเข้าร่วมการปฏิวัติของชนชั้นนายทุนชาตินั้นขึ้นอยู่กับการเปลี่ยน แปลงของ “การเปรียบเทียบกำลังทางชนชั้น” และ “การเปลี่ยนแปลงความขัดแข้งทางชนชั้น” ซึ่งเหมาเจ๋อตุงชี้ว่า “ในยุคจักรพรรดินิยม ชนชั้นอื่น ๆ ของประเทศหนึ่งใด ล้วนไม่สามารถจะนำการปฏิวัติที่แท้จริงใด ๆ ไปสู่ชัยชนะได้” (จาก “ว่าด้วยเผด็จการประชาธิปไตยประชาชน”) นั่นคือต้องไม่ประเมินบทบาทของชนชั้นนายทุนชาติมากจนเกินจริง พวกเขาก่อบทบาทในขบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมได้ในบางขั้นตอนเท่านั้น มิใช่เป็นบทบาทการนำตลอดไป


ชนชั้นนายทุนชาติในบางประเทศ ในระยะเวลาและในเงื่อนไขที่แน่นอนหนึ่ง ถึงแม้จะได้นำการเคลื่อนไหวประชาชาติและได้รับชัยชนะบ้างก็ตาม แต่ว่าในขั้นสุดท้ายก็ยังคงไม่สามารถจะแก้ภาระหน้าที่มูลฐานของการปฏิวัติ ประชาชาติประชาธิปไตยไปได้อย่างถึงที่สุด ซึ่งข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ก็ได้ยืนยันในข้อนี้อย่างชัดเจนแล้ว ทั้งนี้เนื่องจากชนชั้นนายทุนชาติมีทั้ง


1. ความเป็นไปได้ที่จะเข้าร่วมการปฏิวัติ (แค่เข้าร่วม ไม่ใช่นำ)

2. ลักษณะประนีประนอมต่อกลุ่มชนชั้นปกครองที่ล้าหลัง


ชนชั้นกรรมาชีพจึง ต้องใช้นโยบายแนวร่วมที่ทั้งร่วมมือและทั้งต่อสู้กับพวกเขา ร่วมมือกับพวกเขาในการคัดค้านจักรพรรดินิยม ศักดินานิยม ตลอดจนกลุ่มอิทธิพลต่าง ๆ ที่ขัดขวางการพัฒนาก้าวหน้าของพลังการผลิต และต่อสู้กับลักษณะโลเลประนีประนอมของพวกเขาอย่างเด็ดเดี่ยว ขจัดแนวโน้มที่คัดค้านมวลชนกรรมกรชาวนา และคัดค้านพรรคปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพของชนชั้นนายทุนอย่างเด็ดเดี่ยวเช่น เดียวกัน
ต่อชนชั้นเจ้าที่ดินหรือชนชั้นอื่น ๆ ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิวัติ ชนชั้นกรรมาชีพก็สามารถยึดหลักการ “ใช้ความขัดแย้ง ช่วงชิงส่วนมาก คัดค้านส่วนน้อย ตีให้แตกทีละส่วน” สร้างแนวร่วมชั่วคราวกับอิทธิพลบางส่วนในหมู่พวกเขาเท่าที่มีความเป็นไปได้ และเมื่อมีความจำเป็น (จาก “ว่าด้วยนโยบาย” ของเหมาเจ๋อตุง)
ในปัญหา แนวร่วมนี้ ต้องระวังทั้งแนวโน้มที่ “ร่วมมือทุกอย่าง ปฏิเสธการต่อสู้” และ “ต่อสู้ทุกอย่าง ปฏิเสธการร่วมมือ”


แนวร่วมที่ครอบคลุมชนชั้นนาย ทุนและกลุ่มอิทธิพลล้าหลังในสังคมกลุ่มอื่น ๆ ด้วยนั้น พรรคปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพจะต้องรักษาฐานะความเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเองเอาไว้ให้ได้ จะต้องพัฒนากำลังการปฏิวัติอย่างเอาการเอางาน “พันธมิตรระหว่างกรรมกรกับชาวนาภายใต้การนำของชนชั้นกรรมาชีพ เป็นเสาหลักของแนวร่วม” มีแต่การพัฒนากำลังหลักนี้อย่างเต็มที่เท่านั้น จึงจะสามารถสามัคคีกำลังที่สามารถจะสามัคคีได้ ยับยั้งความโลเลของกำลังที่เป็นกลาง และดึงดูดพวกเขาให้มาอยู่กับฝ่ายตน จากนี้จึงขยายและสร้างความมั่นคงแก่แนวร่วมให้ใหญ่โตขึ้นอย่างไม่ขาดสาย และโดดเดี่ยวอิทธิพลล้าหลังให้มากที่สุด
อย่างไรก็ตาม เพื่อที่จะสามัคคีกำลังที่สามารถสามัคคีได้ทั้งปวง เสริมอิทธิพลปฏิวัติให้เติบใหญ่เข้มแข็งขึ้นและโดดเดี่ยวอิทธิพลที่ล้าหลัง ทางประวัติศาสตร์ ชนชั้นกรรมาชีพยังจำเป็นจะต้องสร้างแนวร่วมปฏิวัติอย่างกว้างขวางกับชนชั้น นายทุนชาติ ชนชั้นนายทุนน้อยและชนชั้นกลางในเมือง ตลอดจนพลังที่รักชาติอื่น ๆ บนพื้นฐานของความเป็นพันธมิตรระหว่างกรรมกร-ชาวนา


แต่สิ่งสำคัญ ที่ขาดไม่ได้ ในทางยุทธศาสตร์ นักลัทธิมาร์กซจะต้องทุ่มเทกำลัง นำหลักการพื้นฐานของทฤษฎีลัทธิมาร์กซ-เลนินเข้าไปสู่ชนชั้นกรรมกรและชาวนา ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่และถูกกดขี่ขูดรีดอย่างหนักหน่วงที่สุด นี่เป็นภารกิจหลักที่มีความหมายทางยุทธศาสตร์เหนือกว่าภารกิจอื่นใดทั้งปวง
ปัจจุบัน พลังการผลิตที่พัฒนาขยายตัวไปอย่างกว้างขวาง ได้สร้างชนชั้นกรรมกรขึ้นมาจำนวนมาก และก็มีทฤษฎีลัทธิมาร์กซ-เลนินเป็นอาวุธความคิดทางชนชั้นที่ทรงพลังที่สุด อยู่แล้ว เพียงแต่อาวุธทางความคิดเหล่านี้ ยังมิได้ซึมลึกเข้าไปสู่มวลหมู่กรรมกรและชาวนาอย่างเต็มที่ เมื่อมวลชนผู้ทุกข์ยากและถูกกดขี่ขูดรีดอันไพศาลได้ใช้อาวุธทางความคิดของตน อย่างมีพลังแล้ว การเปลี่ยนแปลงต่อสู้ครั้งสุดท้ายของมวลมนุษยชาติจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ยิ่งชนชั้นผู้ถูกกดขี่ตื่นตัวขึ้นมาเร็วเท่าไหร่ พวกเขาก็จะเข้ามาแบกรับภาระหน้าที่ทางประวัติศาสตร์ได้เร็วขึ้นเท่านั้น


อย่าง ไรก็ตาม การนำพาชนชั้นกรรมาชีพให้ลุกขึ้นต่อสู้ปฏิวัติได้อย่างเป็นจริง ก็ต่อเมื่อมีการนำที่ถูกต้องของพรรคการเมืองแห่งชนชั้นของตนเอง พรรคการเมืองที่ใช้ความคิดลัทธิมาร์กซ-เลนินชี้นำทางความคิด
ความ สำเร็จในภารกิจในการจัดตั้งองค์กรนำสูงสุดของชนชั้นกรรมาชีพในปัจจุบัน จึงเป็นสิ่งชี้ขาดว่า นักลัทธิมาร์กซแห่งยุคโลกาภิวัฒน์ จะก้าวต่อไปข้างหน้าได้หรือไม่ และก้าวไปอย่างไรในท่ามกลางวิกฤติการณ์ทุก ๆ ด้าน ?

No comments:

Post a Comment