ทฤษฏีการเมือง แนวความคิดมาร์คซิสม์ (Marxism)
สำหรับการการวิเคราะห์เรื่องของการกดขี่ทางเพศนั้น แนวมาร์คซิสต์มองว่าเราไม่สามารถแยกเรื่องการกดขี่ทางเพศออกจากปัญหาที่มาจากสังคมชนชั้นได้ เพราะพัฒนาการของสังคมมนุษย์ที่ผ่านมา ในแต่ละระบบหลังยุคบุพการ ล้วนแต่เป็นสังคมแห่งความขัดแย้งทางชนชั้นที่มีพลังผลักดันทางด้านเศรษฐกิจและสังคม มวลชนคนส่วนใหญ่ของโลกถูกคนจำนวนน้อยที่ครอบครองส่วนเกินจากการผลิต กดขี่ขูดรีด ไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย และในขณะเดียวกันมีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างชายกับหญิง ที่นำไปสู่การกดขี่ทางเพศ
แนว มาร์คซิสต์ มองว่าการกดขี่ทางเพศที่ทำให้หญิงเป็นพลเมืองชั้นสอง ไม่ใช่เรื่องธรรมชาติ และไม่ใช่นิสัยใจคอแท้ของชายอีกด้วย การกดขี่ทางเพศเกี่ยวข้องกับการครอบครองทรัพย์สิน และการถ่ายทอดมรดกของชนชั้นปกครอง และเกี่ยวกับการทำให้ภาระงานบ้านเป็นภาระปัจเจกภายในครอบครัว เครื่องมือสำคัญของชนชั้นปกครองคือความคิดจารีตเกี่ยวกับเพศและครอบครัว แนวคิดเกี่ยวกับครอบครัว "ชาย - หญิง" นี้เอง เน้นว่าบทบาทหลักของหญิงอยู่ในบ้าน และยังเป็นผลให้คนรักเพศเดียวกันกลายเป็นพลเมืองชั้นสามอีกด้วย ดังนั้นการแก้ปัญหา ต้องอาศัยทั้งการรณรงค์เพื่อเปลี่ยนค่านิยมคับแคบ และการต่อสู้กับโครงสร้างอำนาจในสังคม ซึ่งรวมทั้งรัฐ ระบบชนชั้น และสถาบันครอบครัว
ในหนังสือ "กำเนิดครอบครอบครัว ทรัพย์สินส่วนตัว และรัฐ" ของ เองเกิลส์ (กุหลาบ สายประดิษฐ์ (๒๕๒๔) "กำเนิดครอบครัวของมนุษยชาติ ระเบียบสังคมของมนุษย์" สำนักพิมพ์ก่อไผ่ กรุงเทพฯ Frederick Engels (1978) The Origin of the Family Private Property and the State. Foreign Language Press, Peking) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1884 มีการอาศัยการค้นคว้าข้อมูลจากการศึกษาของนักมานุษวิทยาเช่น มอร์แกน มีการเสนอว่าฐานะของสตรีนั้นมีจุดตั้งต้นและคลี่คลายออกมาจากระบบการผลิตและฐานะทางครอบครัว ในยุคแรกๆ มนุษย์อยู่กันเป็นเผ่าพันธุ์ ไม่มีทรัพย์สินส่วนตัวและไม่มีคู่สมรสถาวรแบบผัวเดียวเมียเดียว บุตรในเผ่าเป็นบุตรของทั้งเผ่าที่ไม่มีวันทราบว่าใครเป็นพ่อ จึงต้องสืบทอดสายเลือดทางแม่ แต่ที่สำคัญคือการสืบทอดสายเลือดทางแม่กระทำไปเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกจากแม่เดียวกันมีเพศสัมพันธ์กันเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อกำหนดฐานะทางเศรษฐกิจหรืออำนาจในสังคมแต่อย่างใด
เมื่อมนุษย์พัฒนาการเลี้ยงชีพ ค้นพบวิธีการเกษตร แทนการเก็บของป่า จึงเกิด "ส่วนเกิน" จากความต้องการวันต่อวัน ทรัพย์สินส่วนตัวก็เกิดขึ้นได้ในสถานการณ์แบบนี้ เพราะการที่ชายถืออาวุธในการล่าสัตว์อยู่ในมือ มีกำลังทางกายเหนือหญิง และมีบทบาทในการรวบรวมส่วนเกิน โดยเฉพาะจากการเลี้ยงสัตว์ในยุคแรกๆ ทำให้ชายบางคนตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้นในสังคมได้ ซึ่งนำไปสู่กำเนิดสังคมชนชั้น การปกป้องมรดก และการใช้สถาบันครอบรัวและรัฐในการรองรับอำนาจใหม่ดังกล่าว
ข้อเสนอของเองเกิลส์เป็นสาเหตุที่ชาว มาร์คซิสต์ มองว่าการกดขี่ทางเพศ สังคมชนชั้น ระบบครอบครัว และรัฐ แยกออกจากกันไม่ได้ และเราพอจะสรุปหลักการใหญ่ๆ ได้ดังนี้
1) การกดขี่ทางเพศไม่ใช่เรื่องธรรมชาติที่มาจากสรีระ
2) การกดขี่ทางเพศเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการแบ่งมนุษย์ทั้งชายและหญิงออกเป็นชนชั้น ภายใต้การปกครองของคนส่วนน้อย
3) ครอบครัวคือสถาบันสำคัญในการกำหนดและกล่อมเกลาความคิดแบบกดขี่ทางเพศที่เกิดขึ้นในสังคม แต่รูปแบบครอบครัวปัจจุบันไม่ใช่รูปแบบที่มาจากธรรมชาติ รูปแบบครอบครัวมีการเปลี่ยนแปลงเสมอตามยุคของระบบการผลิต
4) วิธีแก้ปัญหาการกดขี่ทางเพศในระยะยาวต้องประกอบไปด้วยการจัดการเปลี่ยนสังคมไม่ให้มีชนชั้น และการเปลี่ยนรูปแบบของครอบครัวจากที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เพื่อให้สตรีมั่นใจในสิทธิ์ของตนเองมากขึ้น พร้อมๆ กับการรณรงค์แก้ไขความคิดอีกด้วย
1) การกดขี่ทางเพศไม่ใช่เรื่องธรรมชาติที่มาจากสรีระ
2) การกดขี่ทางเพศเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการแบ่งมนุษย์ทั้งชายและหญิงออกเป็นชนชั้น ภายใต้การปกครองของคนส่วนน้อย
3) ครอบครัวคือสถาบันสำคัญในการกำหนดและกล่อมเกลาความคิดแบบกดขี่ทางเพศที่เกิดขึ้นในสังคม แต่รูปแบบครอบครัวปัจจุบันไม่ใช่รูปแบบที่มาจากธรรมชาติ รูปแบบครอบครัวมีการเปลี่ยนแปลงเสมอตามยุคของระบบการผลิต
4) วิธีแก้ปัญหาการกดขี่ทางเพศในระยะยาวต้องประกอบไปด้วยการจัดการเปลี่ยนสังคมไม่ให้มีชนชั้น และการเปลี่ยนรูปแบบของครอบครัวจากที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เพื่อให้สตรีมั่นใจในสิทธิ์ของตนเองมากขึ้น พร้อมๆ กับการรณรงค์แก้ไขความคิดอีกด้วย
การปลดแอกผู้หญิง จะเริ่มเป็นไปได้ ในขั้นตอนแรกก็ต่อเมื่อผู้หญิงได้รับโอกาสเข้าไปมีส่วนในการผลิต และมีรายได้ของตนเอง ดั้งนั้นต้องหาทางที่จะแปรเปลี่ยนงานบ้านต่างๆ ให้เป็นงานสาธารณะ ซึ่งหมายถึงการสร้างรัฐสวัสดิการเต็มรูปแบบ
ภาวะเศรษฐกิจของระบบทุนนิยมปัจจุบัน มีการดึงสตรีเข้ามามีส่วนในการทำงานมากขึ้น ซึ่งสร้างความอิสระให้สตรีระดับหนึ่ง และส่งเสริมให้เกิดขบวนการเรียกร้องสิทธิสตรีมากขึ้น แต่ในมุมกลับ ชนชั้นนายทุนไม่พร้อมและไม่สามารถจะสละกำไรเพื่อสร้างระบบสังคมที่ "ภาระบ้าน" ทั้งหมดกลายเป็นภาระของสังคมโดยรวม ดังนั้นจึงมีการรณรงค์จากรัฐในกระแสความคิดที่เชิดชูสถาบันครอบครัวและค่านิยมอนุรักษ์เกี่ยวกับบทบาทสตรี สิ่งนี้ทำให้มีความขัดแย้งดำรงอยู่ในสังคมสมัยใหม่ตลอดเวลา ( Lindsey German (1989) Sex class and socialism. Bookmarks, London. Celia Petty, Deborah Roberts & Sharon Smith (1987) Women's liberation and socialism. Bookmarks, London & Chicago. Lindsey German (2007) Material Girls. Women, men and work. Bookmarks, London.)
ภาวะเศรษฐกิจของระบบทุนนิยมปัจจุบัน มีการดึงสตรีเข้ามามีส่วนในการทำงานมากขึ้น ซึ่งสร้างความอิสระให้สตรีระดับหนึ่ง และส่งเสริมให้เกิดขบวนการเรียกร้องสิทธิสตรีมากขึ้น แต่ในมุมกลับ ชนชั้นนายทุนไม่พร้อมและไม่สามารถจะสละกำไรเพื่อสร้างระบบสังคมที่ "ภาระบ้าน" ทั้งหมดกลายเป็นภาระของสังคมโดยรวม ดังนั้นจึงมีการรณรงค์จากรัฐในกระแสความคิดที่เชิดชูสถาบันครอบครัวและค่านิยมอนุรักษ์เกี่ยวกับบทบาทสตรี สิ่งนี้ทำให้มีความขัดแย้งดำรงอยู่ในสังคมสมัยใหม่ตลอดเวลา ( Lindsey German (1989) Sex class and socialism. Bookmarks, London. Celia Petty, Deborah Roberts & Sharon Smith (1987) Women's liberation and socialism. Bookmarks, London & Chicago. Lindsey German (2007) Material Girls. Women, men and work. Bookmarks, London.)
Tony Cliff (Tony Cliff(1984) Class Struggle and Women's Liberation. Bookmarks, London) นักมาร์คซิสต์อังกฤษ เคยอธิบายว่าขบวนการสิทธิสตรีในรอบร้อยกว่าปีที่ผ่านมา มีสองแนวคือ เฟมินิสต์ กับมาร์คซิสต์ และสองแนวนี้ถึงแม้ว่ามีเป้าหมายร่วมเพื่อปลดแอกสตรี แต่จะมีความขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง แนวเฟมินิสต์ เป็นแนวคิดของชนชั้นกลาง ที่มองว่าปัญหาการกดขี่ทางเพศมาจากสังคมชายเป็นใหญ่ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับปัญหาชนชั้น ดังนั้นผู้หญิงทุกชนชั้นต้องรวมตัวกันต่อสู้กับอิทธิพลชาย แต่แนว มาร์คซิสต์ ซึ่งเป็นแนวของชนชั้นกรรมาชีพ (ดู ใจ อึ๊งภากรณ์และคณะ (๒๕๔๙) "ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในไทย" สำนักพิมพ์ประชาธิปไตยแรงงาน บทที่ 3, 4 และ 5) มองว่าการกดขี่ทางเพศแยกออกจากเรื่องชนชั้นและการขูดรีดแรงงานไม่ได้ และไม่มีเรื่องใดที่สำคัญมากน้อยกว่ากัน นักมาร์คซิสต์อย่าง Alexandra Kollontai ซึ่งเป็นผู้นำ บอลเชวิค ในการปฏิวัติรัสเซีย 1917 มองว่าหญิงกรรมาชีพได้ประโยชน์จากการเข้าใจว่าสังคมชนชั้นเป็นแหล่งกำเนิดของการกดขี่ทางเพศ และหญิงกรรมาชีพจะได้ประโยชน์จากการร่วมต่อสู้กับชายในการล้มล้างสังคมดังกล่าว และในการยกเลิกสถาบันครอบครัวแบบจารีต (Alexandra Kollontai เขียนบทความสำคัญเช่น The social basis of the woman question (1909), Sexual relations and the class struggle (1911) และ Communism and the family (1918) อ่านได้ใน Alexandra Kollontai (1998) On Women's Liberation. Chanie Rosenberg (Ed.) Bookmarks, London. หรือใน ใจ อึ๊งภากรณ์และคณะ (๒๕๔๕) อ้างแล้ว)
ในประเทศไทย การรณรงค์เพื่อให้เกิดสิทธิลาคลอด เป็นผลงานที่สำคัญของสตรีในขบวนการแรงงานไทย ที่จัดตั้งในองค์กร "กลุ่มบูรณการสตรี" และการรณรงค์รอบต่อไปของขบวนการแรงงานในปัจจุบัน คือการต่อสู้เพื่อสิทธิทำแท้ง ซึ่งมีสหพันธ์แรงงานสิ่งทอเป็นหัวหอก
No comments:
Post a Comment