Saturday, February 26, 2011

มีเหตุผลอะไรที่จะต้องกลัวสปิริตแห่งการปฏิวัติของโลกอาหรับ?



ปฏิกิริยาของฝ่ายเสรีนิยมในโลกตะวันตกที่มีต่อการลุกขั้นสู้ในอียิปต์และตูนีเซียแสดงถึงความดัดจริตและความสิ้นหวังต่อมนุษยชาติ

โดย: สลาวอย ชิเชค
จาก: http://www.guardian.co.uk/commentisfree/2011/feb/01/egypt-tunisia-revolt
แปลโดย: KK @ Iskra กลุ่มประกายไฟ



สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เลยสำหรับการลุกสู้ในตูนีเซียและอียิปต์ คือ การไม่ปรากฎตัวของแนวคิดมุสลิมเคร่งศาสนา. ในวิถีแห่งของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแบบทางโลกที่ดีที่สุดนั้น คือ การที่ประชาชนเพียงลุกสู้เพื่อต่อต้านระบอบการปกครองที่กดขี่ การคอร์รัปชั่นและความยากจน รวมถึงการเรียกร้องเสรีภาพและความคาดหวังว่าเศรษฐกิจของพวกเขาจะดีขึ้น. ความคิดที่สิ้นหวังในมนุษย์ของพวกเสรีนิยมในโลกตะวันตกได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าผิด ความคิดสิ้นหวังของพวกเสรีนิยมเชื่อว่า มีเพียงชนชั้นนำเสรีนิยมวงแคบๆเท่านั้นที่เข้าใจประชาธิปไตย ส่วนมวลชนส่วนใหญ่นั้นจะออกมาต่อสู้ทางการเมืองได้ก็เพียงอาศัยการปลุกระดมผ่านความคิดทางศาสนาและความคิดชาตินิยมเท่านั้น. คำถามที่สำคัญคือ จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป? ใครจะเป็นผู้ได้รับชัยชนะในทางการเมือง?

เมื่อรัฐบาลชั่วคราวถูกตั้งขึ้นในตูนีเซีย มันได้กีดกันฝ่ายมุสลิมและพวกฝ่ายซ้ายหัวก้าวหน้าออกไป. ปฏิกิริยาของพวกเสรีนิยมอวดดีก็คือ “ดีแล้ว เพราะพวกนี้ (ทั้งพวกมุสลิมและพวกฝ่ายซ้าย-ผู้แปล) มีอะไรพื้นฐานที่เหมือนกัน นั่นคือ เป็นพวกเผด็จการรวมศูนย์แบบสุดโต่งทั้งคู่” – คำถามคือ เราสามารถสรุปได้ง่ายๆอย่างนั้นหรือไม่? จริงหรือที่ความเป็นปฏิปักษ์ในระยะยาวที่แท้จริงไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มมุสลิมและฝ่ายซ้าย? แม้ว่าในบางช่วงเวลาที่เมื่อทั้งสองพวกนี้ร่วมกันต่อต้านระบอบการเมืองใดระบอบหนึ่งแล้ว หลังจากที่ได้รับชัยชนะ เราก็จะพบว่า การร่วมมือกันก็จบสิ้นลง และทั้งสองกลุ่มก็หันมาสู้กันอย่างเอาเป็นเอาตาย และออกจะดุเดือดยิ่งกว่าเมื่อครั้งร่วมกันโค่นล้มศัตรูตัวเดียวกันเสียอีก.

พวกเราไม่ได้เป็นพยานต่อการต่อสู้อย่างเอาเป็นเอาตายแบบที่ว่าภายหลังจากที่มีการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในอิหร่านหรอกหรือ? สิ่งที่ผู้สนับสนุน Mousavi หลายแสนคนสะท้อนออกมาก็คือ ความฝันของมวลมหาประชาชนว่าด้วยการปฏิวัติของโคไมนี นั่นคือ เสรีภาพ และความยุติธรรม. แม้ว่าจะเป็นความเพ้อฝันแบบอุดมคติ แต่มันก็นำไปสู่การระเบิดขึ้นอย่างคาดเดาไม่ได้ของพลังแห่งการสร้างสรรค์ทางการเมืองและสังคม การทดลองจัดองค์กรในหลายรูปแบบ และการถกเถียงอภิปรายทางการเมืองอย่างกว้างขวางในหมู่นักศึกษาและคนธรรมดา. ภาพการเผยตัวอย่างแท้จริงนี้ได้เปิดให้เราเห็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เราไม่เคยได้ยินเสียงมาก่อน พลังเหล่านี้ค่อยๆกลั่นตัวขึ้นผ่านการยึดการควบคุมทางการเมืองคืนจากชนชั้นปกครองอิสลาม และนี่คือ ช่วงเวลาหนึ่งที่ทุกสิ่งทุกอย่างอาจเกิดขึ้นได้.

เราไม่ควรละเลยองค์ประกอบทางสังคมของขบวนการต่างๆ แม้แต่ในกรณีของขบวนการเคร่งศาสนาที่ชัดเจนที่สุด. ในขณะที่ทาลีบันมักจะถูกนำเสนอว่าเป็นกลุ่มมุสลิมที่เคร่งศาสนาที่ปกครองสังคมด้วยความชั่วร้ายรุนแรง. แต่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี 2009 ที่พวกเขาสามารถยึดพื้นที่ Swat valley ในปากีสถาน นิวยอร์คไทม์สรายงานว่า พวกเขากำลังสร้าง “การต่อสู้ทางชนชั้นที่ใช้โอกาสของรอยปริแตกระหว่างชนชั้นเจ้าที่ดินที่ร่ำรวยกลุ่มเล็กๆกับชาวนาไร้ที่ดิน.” หากนี่เป็นการ “หาประโยชน์” จากสภาพอันเลวร้ายของชาวนา ทาลีบันก็กำลังสร้างสรรค์อะไรบางอย่างที่นิวยอร์คไทม์สเรียกว่า “การส่งสัญญาณเตือนภัยต่อปากีสถาน ที่ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงเป็นสังคมแบบฟิวดัลอยู่” ปัญหาก็คือ อะไรล่ะที่ทำให้พวกเสรีนิยมประชาธิปไตยในปากีสถานและสหรัฐฯทำในสิ่งเดียวกันคือ นั่นคือ การไม่ “หาประโยชน์” โดยการเข้าไปช่วยเหลือชาวนาไร้ที่ดินเหล่านั้น? หรือว่าฝ่ายเจ้าที่ดินในปากีสถานคือพันธมิตรโดยธรรมชาติกับพวกเสรีนิยม?

ข้อสรุปที่เลี่ยงไม่ได้ก็คือ กระแสการก่อตัวของความคิดอิสลามหัวรุนแรงมักจะเป็นด้านกลับของการเสื่อมถอยไปของฝ่ายซ้ายที่ไม่ยึดศาสนาเป็นแนวในการต่อสู้ในประเทศมุสลิมทั้งหลาย. ในขณะที่อัฟกานิสถานถูกวาดภาพให้เป็นประเทศคลั่งศาสนาอิสลามแบบสุดขั้ว จะมีใครระลึกได้บ้างหรือไม่ว่า เมื่อ 40 ปีก่อน ประเทศนี้เคยมีวิถีการต่อสู้ที่ไม่อ้างอิงความคิดทางศาสนาที่เข้มแข็งมากแห่งหนึ่ง หรือแม้แต่การที่ประเทศนี้มีพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีบทบาทสำคัญในการยึดอำนาจรัฐที่เป็นอิสระจากสหภาพโซเวียต? แล้ววิถีทางที่ไม่อิงกับศาสนาเช่นว่านั้นมันหายไปไหน?

และนี่เป็นโอกาสสำคัญที่การทำความเข้าใจเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในตูนีเซียและอียิปต์ (รวมถึงเยแมน และ... หรือแม้แต่ – หวังว่า - ซาอุดิอาราเบีย) จากพื้นฐานความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ดังที่กล่าวไปแล้ว. หากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นถูกแช่แข็งเพื่อให้ระบอบเก่ารอดชีวิตอยู่ได้ด้วยการปะแป้งแต่งหน้าใหม่ให้มีความเป็นเสรีนิยมเล็กๆน้อยๆ สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ ปฏิกิริยาตอบโต้อย่างรุนแรงของกระแสคลั่งศาสนา. หากต้องการปกป้องมรดกทางความคิดแบบเสรีนิยมให้อยู่รอดได้ในสถานการณ์เช่นนี้ พวกเสรีนิยมต้องสนับสนุนฝ่ายซ้ายหัวก้าวหน้าอย่างไม่มีเงื่อนไข. กลับมาที่อียิปต์ ปฏิกิริยาแบบฉวยโอกาสที่ไร้ความละอายและอันตรายที่สุดก็คือ คำกล่าวของ โทนี่ แบลร์ ดังที่รายงานโดย CNN ว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็น แต่มันควรจะเป็นย่างก้าวแห่งการเปลี่ยนแปลงที่มีเสถียรภาพ. (การพูดเช่นนี้หมายความว่า – ผู้แปล) การเปลี่ยนแปลงที่มีเสถียรภาพในอียิปต์วันนี้มีความหมายอย่างเดียวก็คือ การประนีประนอมกับฝ่ายมูบารัคโดยการเปิดให้ชนชั้นปกครองหลายกลุ่มเข้ามาสู่แวดวงของอำนาจได้เพิ่มขึ้น. นี่คือสาเหตุที่เราต้องสรุปว่า การเปลี่ยนผ่านแบบสันติในปัจจุบันซึ่งมีความหมายเท่ากับการกำจัดฝ่ายตรงกันข้ามกับรัฐบาลคือสิ่งที่น่าขยะแขยง และที่สำคัญ มูบารัคเองก็คือคนที่ทำให้การเปลี่ยนผ่านอย่างสันติดังที่ว่าไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้จริง. ทันทีที่มูบารัคส่งทหารไปปราบปรามผู้ประท้วง เราจะเห็นทางเลือกที่มีอยู่ชัดขึ้นมาทันที คือ เราจะเอาการเปลี่ยนแปลงแบบลูบหน้าปะแป้งเล็กๆน้อยๆโดยที่ทุกอย่างยังคงอยู่เหมือนเดิม หรือ เราจะสร้างการแตกหักอย่างแท้จริง.

นี่คือ ช่วงเวลาของความจริง เราไม่สามารถอ้างได้อีกแล้ว ดังที่เราเคยอ้างมาก่อนในกรณีของอัลจีเรียว่า การปล่อยให้มีการเลือกตั้งแบบอิสระโดยแท้มีค่าเท่ากับการให้อำนาจแก่ฝ่ายมุสลิมเคร่งศาสนา. ความกังวลอีกประการของพวกเสรีนิยมก็คือ การที่ไม่มีอำนาจทางการเมืองในลักษณะที่เป็นองค์กรที่จะเข้าปกครองสังคมภายหลังจากที่มูบารัคพ้นจากอำนาจ. แน่นอน มันไม่มี (แต่) สาเหตุเกิดจากมูบารัคใช้ทุกวิถีทางที่จะลดทอนและผลักไสฝ่ายตรงข้ามทุกกลุ่มให้อยู่ชายขอบให้มากที่สุด เพื่อที่ผลของมันจะได้ออกแบบที่ อกาธา คริสตี ตั้งชื่อนิยายของเธอว่า ดังนั้น มันจึงไม่มีอะไรเลย. การให้เหตุผลของพวกเสรีนิยมที่ปกป้องมูบารัคก็คือ การให้เหตุผลที่ย้อนกลับไปทำลายมูบารัคเอง นั่นคือ ไม่จะเอามูบารัค หรือจะเอาความวุ่นวาย

ความดัดจริตของพวกเสรีนิยมในโลกตะวันตกเด่นชัดจนไม่สามารถจะปกปิดได้อีกต่อไป พวกเขาสนับสนุนประชาธิปไตยอย่างออกนอกหน้าในที่สาธารณะ แต่ในขณะปัจจุบันที่ประชาชนกำลังลุกขึ้นต่อสู้กับทรราชในนามของเสรีภาพและความยุติธรรมแบบทางโลก ที่ไม่ใช่การอ้างอิงแนวคิดทางศาสนา พวกเขากลับหวาดกังวลต่อสิ่งที่เกิดขึ้น. คำถามคือ ทำไมถึงต้องหวาดระแวง ทำไมถึงไม่เข้าร่วมต่อสู้เพื่อเสรีภาพในเมื่อโอกาสมาถึงแล้ว? ณ เวลานี้ คำขวัญเก่าของ เหมา เจ๋อตุง มีความสำคัญอย่างยิ่ง นั่นคือ “เมื่อความโกลาหลอันใหญ่หลวงเกิดขึ้นภายใต้สรวงสวรรค์ – นี่ละคือสถานการณ์ที่ดีที่สุดของเรา”

ต่อคำถามที่ว่า มูบารัคควรจะไปไหน? ขณะนี้คำตอบแสนจะชัดเจน นั่นคือ ไปกรุงเฮก (ขึ้นศาลโลก-ผู้แปล). หากจะมีผู้นำคนใดควรไปนั่งที่นั่นในเวลานี้ คนนั้นก็คือ "มูบารัค"



Friday, February 18, 2011

การปฏิวัติประชาธิปไตยประชาชน


ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2150 ถึง พ.ศ. 2300 (ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา) เป็นช่วงที่ประเทศทุนนิยม (ในทวีปยุโรปที่เจริญแล้วในปัจจุบัน) กำลังเฟื่องฟูและได้เกิดการปฏิวัติประชาธิปไตยของชนชั้นนายทุนประเทศแล้ว ประเทศเล่าอย่างต่อเนื่อง เป็นการปฏิวัติที่คัดค้านระบอบทาสกสิกรของชนชั้นศักดินา และกวาดล้างอุปสรรคในการพัฒนาของ “ระบอบทุนนิยม”


พลังขับดันในเวลานั้นมีทั้งชนชั้นนายทุน ชาวนา และชนชั้นกรรมาชีพ ทั้งนี้เพราะขณะนั้นชนชั้นกรรมาชีพยังมิได้ก่อตัวขึ้นเป็นพลังทางการเมือง ที่เป็นอิสระจากการครอบงำของชนชั้นอื่น ๆ อย่างแท้จริง จึงจำเป็นต้องทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ช่วยของชนชั้นนายทุน ส่วนชาวนาก็เป็นเพียงกองทัพสำรองของชนชั้นนายทุนเท่านั้น ชนชั้นนายทุนมีอำนาจนำในการปฏิวัติ ด้วยเหตุนี้ผลของการปฏิวัติ ชนชั้นนายทุนจึงได้อำนาจรัฐไปครอง และกลายเป็นชนชั้นผู้ปกครองในประเทศเหล่านั้นแทนผู้ปกครองจากชนชั้นศักดินา แต่ดั้งเดิม
ต่อมาเมื่อระบอบทุนนิยมในทวีปยุโรปได้ก้าวเข้าสู่ขั้น ทุนนิยมผูกขาด กลายเป็นจักรพรรดินิยมหรือทุนนิยมข้ามชาติไปไม่น้อยแล้ว แต่ยังมีบางประเทศที่ระบอบการปกครองยังล้าหลัง ชนชั้นเจ้าที่ดินศักดินายังครอบงำการปกครองอยู่ โดยมิได้พัฒนาให้สอดคล้องกับพลังการผลิตที่เจริญรุดหน้าไปมากแล้ว ความขัดแย้งภายในของประเทศเหล่านี้ทำให้เกิดการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนาย ทุนขึ้นภายหลัง เช่น การปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนของรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2448 - 2450 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 )


เลนินชี้ว่า “การปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนไม่เพียงแต่มีประโยชน์ต่อชนชั้นนายทุน เท่านั้น ต่อชนชั้นกรรมาชีพก็มีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งเช่นกัน เพราะว่า “การปฏิวัติของชนชั้นนายทุนยิ่งดำเนินไปอย่างเต็มที่ เด็ดเดี่ยว และถึงที่สุดเท่าไหร่ การต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพเพื่อคัดค้านชนชั้นนายทุน ช่วงชิงระบอบสังคมนิยมก็ยิ่งมีหลักประกัน” (จาก “สองยุทธวิธีของพรรคสังคมประชาธิปไตยในการปฏิวัติประชาธิปไตย”)
ดัง นั้น ในระยะประวัติศาสตร์เช่นนี้ ชนชั้นกรรมาชีพทั้งสามารถและควรจะกลายเป็นผู้นำการปฏิวัตินี้ การปฏิวัติประชาธิปไตยของชนชั้นนายทุนภายใต้การนำของชนชั้นกรรมาชีพย่อมจะ ต้องเกิดขึ้นในรูปแบบที่เป็นผลดีต่อชาวนาและกรรมกร ย่อมจะต้องสถาปนา “เผด็จการประชาธิปไตยประชาชนที่ปฏิวัติ” ของชนชั้นกรรมาชีพและชาวนา ทั้งย่อมจะต้องแปรเปลี่ยนเป็นการ “ปฏิวัติสังคมนิยม” ต่อไปด้วย ความคิดเหล่านี้ของเลนิน มีความหมายในการชี้นำอย่างใหญ่หลวงต่อการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนใน ยุคจักรพรรดินิยม


ในยุคจักรพรรดินิยม นอกจากในทวีปยุโรป ยังมีประเทศด้อยพัฒนาล้าหลังอยู่ทั่วโลกเป็นอันมากที่ยังมิได้ทำการปฏิวัติ ประชาธิปไตยให้ลุล่วงไป พวกจักรพรรดินิยมหรือกลุ่มทุนข้ามชาติขนาดยักษ์นั้น ด้านหนึ่งก็ร่วมสมคบกับอิทธิพลศักดินาภายในประเทศด้อยพัฒนาล้าหลัง รักษารากเหง้าระบอบขูดรีดของศักดินาไว้ และทำให้ชนชั้นเจ้าที่ดินกลายเป็นหลักค้ำจุนการรุกรานและการปกครองประเทศ เหล่านี้ของตน อีกด้านหนึ่งก็ชุบเลี้ยงชนชั้นนายทุนใหญ่ที่มีลักษณะเป็นนายหน้าในประเทศ ด้อยพัฒนาล้าหลัง เพื่อให้เป็นตัวแทนการปกครองประชาชนเหล่านี้ของตนโดยตรง


ใน หลายประเทศ ชนชั้นนายทุนนายหน้าได้พัฒนากลายเป็นชนชั้นนายทุนขุนนาง ใช้อำนาจรัฐของประเทศผูกขาดเส้นเลือดทางเศรษฐกิจของทั้งประเทศเพื่อรับใช้ พวกจักรพรรดินิยม ความขัดแย้งระหว่างจักรพรรดินิยมกับประชาชาติที่ถูกกดขี่ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นศักดินาและนายทุนนายหน้าฝ่ายหนึ่งกับมวลมหาประชาชน เป็นความขัดแย้งพื้นฐานของประเทศเหล่านี้ และนำไปสู่การเคลื่อนไหวปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ


หลัง สงครามโลกครั้งที่ 1 และหลังการปฏิวัติเดือนตุลาคมของรัสเซีย การต่อสู้ปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตยในประเทศด้อยพัฒนาล้าหลังได้เกิดขึ้น อย่างกว้างขวาง และชนชั้นนายทุนมิได้เป็นชนชั้นนำการปฏิวัติแต่เพียงชนชั้นเดียวอีกต่อไป ขณะเดียวกันก็เป็นการเริ่มต้นยุคแห่งการปฏิวัติที่นำโดยชนชั้นกรรมาชีพเพื่อ ก้าวไปสู่สังคมนิยม


เลนินชี้ว่า “ถ้าหากการต่อสู้เพื่อคัดค้านทุนของกรรมกรในทวีปยุโรปและอเมริกาไม่สามัคคี กับทาสในเมืองขึ้น เรือนแสนเรือนล้านที่ถูกทุนกดขี่อยู่ทั้งหมดอย่างแน่นแฟ้นที่สุดแล้ว การเคลื่อนไหวปฏิวัติของประเทศที่ก้าวหน้า โดยความเป็นจริงแล้วก็เป็นแค่เพียงกลลวงอย่างหนึ่งเท่านั้น” (จาก “การประชุมสมัชชาผู้แทนครั้งที่ 2 ของคอมมิวนิสต์สากล”)


เหมาเจ๋อตุง ชี้ว่า “การปฏิวัติของประเทศเมืองขึ้น กึ่งเมืองขึ้น เป็นการโจมตีลัทธิจักรพรรดินิยมอย่างถึงที่สุด มันทำให้แนวหลังของลัทธิจักรพรรดินิยมกลายเป็นแนวหน้าที่คุกคามชีวิตของ ลัทธิจักรพรรดินิยม สั่นคลอนระบอบลัทธิจักรพรรดินิยมอย่างถึงราก และเป็นประโยชน์แก่การพัฒนาของการเคลื่อนไหวปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพ ด้วยเหตุนี้ มันจึงเป็นสิ่งที่ลัทธิจักรพรรดินิยมไม่ยินยอมและคัดค้าน แต่มันกลับเป็นที่ยอมรับของลัทธิสังคมนิยม และเป็นสิ่งที่ลัทธิสังคมนิยมและชนชั้นกรรมาชีพสากลให้การสนับสนุน”
หลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 การเคลื่อนไหวเพื่อปลดปล่อยประชาชาติในประเทศด้อยพัฒนาล้าหลังได้พัฒนาขยาย ตัวไปอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น หลังจากการต่อสู้กับจักรพรรดินิยมมาเป็นเวลายาวนาน บางส่วนได้ก้าวไปสู่หนทางสังคมนิยม บ้างก็ได้รับเอกราชทางการเมือง แต่จักรพรรดินิยมโดยเฉพาะอย่างยิ่งจักรพรรดินิยมอเมริกา ยังคงดิ้นรนและหมายมุ่งที่จะใช้นโนบาย “ล่าอาณานิคมแบบใหม่” ที่มีเล่ห์เหลี่ยมกลลวงมากกว่าเดิม มากดขี่ขูดรีดประเทศด้อยพัฒนาล้าหลังต่อไป รวมทั้งแทรกตัวเข้าแทนที่ลัทธิล่าอาณานิคมแบบเก่าที่เสื่อมอิทธิพลลง


ลัทธิ ล่าอาณานิคมแบบใหม่มิได้ใช้วิธีการล่าเมืองขึ้นโดยตรงอย่างโจ่งแจ้ง หากได้ใช้สิ่งที่เรียกว่า ”การช่วยเหลือ” เป็นเหยื่อล่อ ใช้วิธีการ “ผูกมัด-ควบคุมทางเศรษฐกิจ การกว้านซื้อทางการเมือง และสนธิสัญญาทางทารทหาร” เป็นเครื่องมือบรรลุจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกับลัทธิล่าอาณานิยมแบบเก่า ซึ่งโดยผิวเผินแล้ว ได้ยอมให้ประเทศที่ถูกรุกรานยังคงมี “ความเป็นเอกราชในทางรูปแบบ” เพราะมันแสดงบทบาทหลอกลวงได้แนบเนียนกว่า


สิ่ง ที่เรียกว่า ”การช่วยเหลือ” แท้จริงก็คือการส่งออกของทุนอย่างหนึ่ง การช่วยเหลือเหล่านี้ก็เพื่อที่จะเสริมการรุกราน การขูดรีด และการควบคุมที่มั่นคงแน่นหนายิ่งขึ้นต่อประเทศที่คอยรับความช่วยเหลือ แล้วคอยฉกชิงผลกำไรสูงสุด และสร้างอิทธิพลครอบงำทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองต่อประเทศที่รับความช่วย เหลือตลอดไป


หลายสิบปีหลังการปฏิวัติเดือนตุลาคมของรัสเซีย การต่อสู้ปฏิวัติตามแนวทางสังคมนิยมได้ท้าทายการครอบงำโลกของ “ทุนนิยม” อย่างทั่วด้าน กลายเป็นสงครามเย็นที่เผชิญหน้ากันในทุกแนวรบระหว่างค่ายสังคมนิยมกับค่าย ทุนนิยม


แม้ว่าในเวลาต่อมา สงครามเย็นได้ยุติลงโดยฝ่ายค่ายสังคมนิยมจะเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำและถอยร่น เพราะความอ่อนหัดและขาดบทเรียนในการนำลัทธิมาร์กซ-เลนินไปชี้นำการปฏิวัติ ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ทางภาววิสัย ทำให้ต้องหันกลับมาสรุปบทเรียนและความจัดเจนครั้งใหญ่ท่ามกลางการต่อสู้นี้ เหมือนดังตอนหนึ่งของเพลง “วีรชนปฏิวัติ” ที่ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้ประพันธ์ไว้ว่า
“สู้ พ่ายแพ้สู้ใหม่ พ่ายแพ้สู้ใหม่ จนชัยได้มา”


การเพลี่ยงพล้ำและถอยร่นดังกล่าว ทำให้ค่ายทุนนิยมรุกเข้าครอบครองโลกไว้ได้อย่างเด็ดขาด การขยายอิทธิพลของจักรพรรดินิยมโดยเฉพาะอย่างยิ่งจักรพรรดินิยมอเมริกาจึง เป็นไปอย่างเต็มที่ ทั้งด้วยรูปแบบทางเศรษฐกิจและทางการทหาร ทั้งบนบก ในทะเล และแม้แต่ในอวกาศ โดยไม่คำนึงถึงข้อตกลงหรือสนธิสัญญาระหว่างประเทศใด ๆ ไม่ว่าในกรณีรุกรานประเทศอาฟกานิสถาน ประเทศอิรัก การข่มขู่ว่าจะใช้กำลังทหารรุกรานประเทศต่าง ๆ หรือแม้แต่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมและคุกคามความ ปลอดภัยของประชาชนทั่วทั้งโลก ทำให้วิกฤติการณ์ต่าง ๆ ขยายตัวไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งวิกฤติทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ


ทฤษฎีการปฏิวัติตั้งแต่ ในอดีต ได้ให้ความสำคัญต่อ “ปัญหาอำนาจการนำ” ไว้อย่างมาก เหมาเจ๋อตุงเคยกล่าวไว้ว่า “ปัญหาอำนาจการนำของการเคลื่อนไหวปฏิวัติในประเทศเมืองขึ้น กึ่งเมืองขึ้น เป็นปัญหามูลฐานปัญหาหนึ่ง เป็นปัญหาปมเงื่อนแห่งการที่จะบรรลุชัยชนะอย่างถึงที่สุดหรือไม่ของการ ปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตย”


ในยุคสมัยแห่งการปฏิวัติโลกของลัทธิ สังคมนิยมวิทยาศาสตร์แห่งชนชั้นกรรมาชีพ (ในกาลข้างหน้าอนาคตที่ยังมาไม่ถึง) มีแต่ชนชั้นกรรมาชีพเท่านั้นจึงจะสามารถนำประชาชนทั้งมวลไปทำการปฏิวัติที่ คัดค้านจักรพรรดินิยม คัดค้านศักดินา คัดค้านทุนนิยมได้อย่างถึงที่สุด ทำให้ประเทศเป็นเอกราชและประชาชนได้รับการปลดปล่อยอย่างถึงที่สุดได้อย่าง แท้จริง นี่เป็นวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล และไม่อาจจะเข้าใจได้ด้วยการมองแค่ปรากฏการณ์ช่วงสั้น ๆ ในปัจจุบัน หรือด้วยทัศนะการมองปัญหาแบบหยุดนิ่ง ไม่เคลื่อนที่ ไม่เปลี่ยนแปลง หรือมิได้ทำความเข้าใจด้วยทัศนะของวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ ซึ่งก็เหมือนกับนักคิดโบราณในยุคทาสจำนวนหนึ่งที่ไม่ยอมเชื่ออย่างเด็ดขาด ว่า ชนชั้นทาสจะสามารถลุกขึ้นต่อสู้ปลดแอกตนเองจนระบอบทาสล่มสลาย หรือเหมือนกับนักคิดโบราณในยุคศักดินาจำนวนหนึ่งที่ไม่ยอมเชื่ออย่างเด็ดขาด ว่า พ่อค้าวาณิชย์หรือเหล่ากระฏุมพีที่แสนต่ำต้อยในสังคมศักดินาจะเติบโตเข้ม แข็งจนกลายเป็นชนชั้นผู้ขุดหลุมฝังศพให้กับชนชั้นศักดินา เช่นเดียวกัน ด้วยทัศนะอภิปรัชญาแบบนี้

พวกเขาจึงมองไม่เห็นพลังของชนชั้นกรรมาชีพในอนาคต และคิดเพียงว่า ชนชั้นกรรมาชีพที่ต่ำต้อยด้อยพลังในเวลานี้จะต้องสะดุดหยุดนิ่งและจะเป็น เช่นนี้ตลอดไป ขณะเดียวกันก็ใช้หลักคิดพื้นฐานเช่นนี้ไปเข้าใจว่า ชนชั้นนายทุนชาติ ชนชั้นกลาง รวมทั้งปัญญาชนและชนชั้นนายทุนน้อย จะต้องมีพลังมากกว่าชนชั้นกรรมาชีพเช่นนี้ไปตลอดกาลเช่นเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่ปรากฏการณ์เฉพาะหน้านี้เป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่มีการ พัฒนามาตลอดกาลอย่างยาวนานหลายพันปี และมิได้สิ้นสุดหยุดนิ่งแต่เพียงเท่านี้อย่างแน่นอน ที่สำคัญบางคนถึงกับเชื่อว่าชนชั้นนายทุนจะสามารถเสกสรร์เล่ห์อุบายกลลวง นานัปการมาหลอกลวงมึนชา ให้ชนชั้นกรรมาชีพยอมจำนนอยู่กับการกดขี่ขูดรีดเช่นนี้ได้ตลอดไป และฟันธงอย่างมั่นใจว่า การปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพจะไม่เกิดขึ้นอีกแล้วตลอดกาล และแน่นอน ลัทธิมาร์กซก็ย่อมจะใช้ไม่ได้ไปตลอดกาลด้วย !


นี่เป็นการต่อสู้ใน ปริมณฑลทางความคิดทฤษฎีที่แหลมคม เพราะความปรารถนาสูงสุดของชนชั้นนายทุนตั้งแต่ไหนแต่ไรมาก็คือ พยายามทำให้ทุกคนในโลก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนชั้นกรรมาชีพ) เชื่อว่า ทฤษฎีลัทธิมาร์กซใช้ไม่ได้หรอก เป็นความคิดโง่ ๆ เกิดขึ้นเป็นจริงไม่ได้ หลงเชื่อไปก็เสียเวลา หรือไม่ก็ตายเปล่า และอะไรอีกมากมายในทำนองนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหลังสงครามเย็นที่ค่ายสังคมนิยมเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำ และถอยร่น ซึ่งถ้าหากพวกเขาทำได้สำเร็จเช่นนั้นจริง ๆ ก็ย่อมจะรักษาสถานะนำในสังคมและธำรงไว้ซึ่งการกดขี่ขูดรีดอย่างหนักหน่วง เช่นนี้ได้ตลอดไป แต่มันง่ายเกินไปที่จะเพ้อฝันว่าชนชั้นกรรมาชีพที่ก้าวหน้าจะพากันละทิ้งการ ใช้ทฤษฎีลัทธิมาร์กซ-เลนินที่เป็นอาวุธทางความคิดของชนชั้นตนหลังจากการ ต่อสู้ทางชนชั้นกับชนชั้นนายทุนแล้วเกิดความเพลียงพล้ำขึ้นมาสักครั้งสอง ครั้ง เพราะหากละทิ้งหรือปราศจากอาวุธทางความคิดที่รับใช้ชนชั้นกรรมาชีพอย่างถึง ที่สุดชนิดนี้แล้ว ชนชั้นกรรมาชีพก็ไม่สามารถจะต่อสู้โค่นล้มชนชั้นนายทุนและปลดปล่อยพลังการ ผลิตได้อย่างแท้จริงและตลอดไป


กล่าวสำหรับในบางประเทศที่มี อิทธิพลของจักรพรรดินิยม และศักดินาดำรงอยู่อย่างแน่นหนา การดำรงอยู่ของชนชั้นที่ล้าหลังกว่าทางประวัติศาสตร์ เป็นอุปสรรคขัดขวางการพัฒนาไปของสังคมในทุก ๆ ด้าน ในบริบทของความคิดทฤษฎี พวกเขาขัดขวางการขยายตัวเติบใหญ่ของระบอบทุนนิยมอย่างเห็นได้ชัด (แม้ว่าจะพลิกผันตัวเองให้มาขูดรีดแบบเดียวกับชนชั้นนายทุน และมีผลประโยชน์มหาศาลร่วมกับชนชั้นนายทุนอยู่แล้วก็ตาม แต่พวกเขาก็ยังคงใช้อิทธิพลของชนชั้นที่ล้าหลัง สร้างกฎเกณฑ์ทางสังคมที่เอาเปรียบและมิได้แข่งขันกันอย่างเสมอภาคเท่าเทียม กันกับชนชั้นนายทุนอื่น ๆ ) อีกทั้งระบอบการผลิตและวัฒนธรรมจิตสำนึกที่ล้าหลังของพวกเขา ก็ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมที่พัฒนาไปแล้วโดยการผลักดันของชน ชั้นนายทุนได้ การมีอิทธิพลของชนชั้นที่ล้าหลังกว่าดำรงอยู่อย่างหนาแน่น จึงก่อให้เกิดความขัดแย้งขั้นพื้นฐานในสังคมขึ้นอย่างกว้างขวาง และแน่นอนพวกเขาย่อมดิ้นรนเพื่อยืดลมหายใจมิให้ชนชั้นนายทุนขุดหลุมฝังพวก เขาได้โดยง่าย สังคมประเทศอื่น ๆ ที่เคยผ่านช่วงประวัติศาสตร์นี้มาก่อนก็ล้วนแต่เป็นเช่นนี้ จึงมิใช่เรื่องแปลกประหลาดที่น่าตื่นเต้นตกใจแต่อย่างใด


นักลัทธิ มาร์กซที่ใช้หลักการพื้นฐานของวัตถุนิยมประวัติศาสตร์มาศึกษา และทำความเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมเหลานี้ จะสามารถเข้าใจเรื่องราวได้โดยง่าย และคาดการณ์อนาคตได้ไม่ยากว่า ชนชั้นที่ขัดขวางกงล้อประวัติศาสตร์ ขัดขวางการพัฒนาก้าวรุดหน้าของพลังการผลิตในสังคม จะต้องเสื่อมทรุดและถูกแทนที่ด้วยชนชั้นที่ก้าวหน้ากว่าในช่วงประวัติศาสตร์ นั้น ๆ นี่เป็นกฎที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าใครอยากให้มันเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม และไม่ว่าจะยอมรับลักษณะรูปธรรมที่กักขฬะของชนชั้นนายทุนหรือไม่ก็ตาม เพราะกฎที่ว่านี้ได้เคยเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าตั้งแต่ปลายยุคชุมชนบรรพ กาลเมื่อเกือบหมื่นปีมาแล้ว เพียงแต่ว่า ด็อกเตอร์ คาร์ล มาร์กซ เป็นผู้ค้นพบและถอดกฎเกณฑ์เหล่านี้ออกมาเป็นทฤษฎีได้สำเร็จ จนแม้แต่นักวิชาการและสถาบันชั้นนำในประเทศอเมริกายังต้องยกย่องให้ ดร. คาร์ล มาร์กซ เป็นนักคิดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสหัสวรรษ (ในรอบ 1,000 ปีนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1001-2000 ) เหนือกว่า อัลเบิร์ต ไอน์สไตน นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบหลักการทำงานของระเบิดปรมาณูเสียอีก


การ ปฏิวัติในสังคมที่เช่นนี้จะต้องผ่านขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ 2 รูปแบบ คือ
1. ปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน จะเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขสำคัญคือ
1.1 ชนชั้นนายทุนมีความเข้มแข็งและตัดสินใจต่อสู้เพื่อความเป็นอิสระของตน
1.2 ชนชั้นกรรมาชีพยังอ่อนแอ กล่าวคือ

1.2.1 ไม่สามารถแสดงพลังทางการเมืองที่เป็นอิสระจากชนชั้นอื่น ๆ

1.2.2. ยังมิได้ติดอาวุธทางความคิดเพื่อปลดปล่อยชนชั้นเองอย่างกว้างขวาง

1.2.3 ยังมิได้มีการจัดตั้งที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดตั้งในรูปแบบสูงสุด (พรรคปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพ)
การ ปฏิวัติรูปแบบนี้จะนำโดยชนชั้นนายทุน เพื่อไปขุดหลุมฝังศพให้กับชนชั้นที่ล้าหลังกว่าทางประวัติศาสตร์ แต่ชนชั้นนายทุนจะต้องสำแดง “บทบาทการนำ” ที่เข้มแข็ง จริงจัง เอาการเอางานและทุ่มเทอย่างเต็มที่ และมีแนวร่วมอันกว้างใหญ่ไพศาลคอยสนับสนุน พวกเขาก็จะพบความสำเร็จพร้อมกับชัยชนะที่รออยู่ข้างหน้า


ในรูปแบบ นี้ สถานะ “การนำ” ของขบวนการต่อสู้จะเป็นของชนชั้นนายทุน และผลประโยชน์ของการปฏิวัติก็จะตกอยู่กับชนชั้นนายทุนเป็นส่วนใหญ่ พวกเขาจะเป็นชนชั้นนำในสังคมทดแทนชนชั้นที่ล้าหลังกว่าทางประวัติศาสตร์ต่อ ไป และมีบทบาทในการควบคุมการพัฒนาของ “พลังการผลิตในสังคม” ให้ก้าวรุดหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น
ส่วนชนชั้นกรรมาชีพจะต้องช่วงชิงผล ประโยชน์ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสังคมครั้งนี้ มาทำให้ภายในขบวนแถวของชนชั้นกรรมาชีพเข้มแข็งและมีพลังอย่างเต็มที่ รวมทั้งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเฉพาะหน้าของกรรมกรบางส่วนด้วย
แต่ถ้าชนชั้นนายทุนยังอยู่ในสภาวะที่อ่อนแอ ไม่กล้าแสดงบทบาทนำในการต่อสู้ครั้งสำคัญทางประวัติศาสตร์ หรือทรยศต่อประชาชน หันไปสมคบและประนีประนอมกับชนชั้นที่ล้าหลังทางประวัติศาสตร์ พวกเขาก็จะต้องถูกทำลายล้างและพบกับจุดจบที่น่าอัปยศอดสู ผลประโยชน์ทางชนชั้นอันมหาศาลของพวกเขาจะถูกทำลายและฉกฉวยช่วงชิงไป


อย่าง ไรก็ตาม หากพวกเขาไม่กล้าลุกขึ้นสู้ และอยู่ในช่วงเวลาที่ชนชั้นกรรมาชีพยังเติบโตเข้มแข็งไม่เพียงพอที่จะเข้า แบกรับภารกิจทางประวัติศาสตร์ของตน ในอนาคตก็จะต้องมีตัวแทนชนชั้นนายทุนกลุ่มใหม่ลุกขึ้นมาต่อสู้กับชนชั้นที่ ล้าหลังกว่าและจะต้องประสบชัยชนะในที่สุด นี่เป็นกฎทางประวัติศาสตร์ !
2. การปฏิวัติประชาธิปไตยประชาชน จะเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขสำคัญคือ

2.1 ชนชั้นนายทุนอ่อนแอเกินกว่าจะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสังคม

2.1.1 ไม่กล้าต่อสู้กับชนชั้นที่ล้าหลังกว่าทางประวัติศาสตร์

2.1.2 ทรยศต่อประชาชน หรือหันไปสมคบและประนีประนอมกับชนชั้นที่ล้าหลังทางประวัติศาสตร์

2.1.3 ถูกแยกสลายทำลายล้างและอ่อนแอกว่าชนชั้นอื่น ๆ โดยสัมพัทธ์
2.2 ชนชั้นกรรมาชีพมีความเข้มแข็ง ได้ติดอาวุธทางความคิดอย่างกว้างขวาง มีการจัดตั้งที่ทรงพลังเข้มแข็งเพียงพอ


การปฏิวัติรูปแบบนี้จะนำโดย ชนชั้นกรรมาชีพ (กรรมกร) ที่ลุกขึ้นมาแบกรับภารกิจทางประวัติศาสตร์ของตนเอง โดยมีชนชั้นชาวนาเป็นพันธมิตรที่เข้มแข็ง นำพาชนชั้นกลาง ชนชั้นนายทุนน้อย ชนชั้นนายทุนชาติและผู้รักชาติรักประชาธิปไตยทั้งมวลที่รวมตัวกันเป็น “แนวร่วมประชาชนอันกว้างใหญ่ไพศาล” เข้าร่วมการเปลี่ยนแปลงปฏิวัติครั้งนี้
ผล ประโยชน์จากการปฏิวัติครั้งนี้ก็จะตกอยู่กับ “ประชาชนทุกชนชั้น” มิได้ตกอยู่กับชนชั้นกรรมกร-ชาวนา ซึ่งเป็นพันธมิตรที่มีบทบาทนำเท่านั้น หากแต่ชนชั้นอื่น ๆ ไม่ว่าชนชั้นกลาง ชนชั้นนายทุนน้อย ชนชั้นนายทุนชาติและผู้รักชาติรักประชาธิปไตยทุกหมู่เหล่าเช่น ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ภิกษุ อาชีพอิสระ นักบริหาร ค้าขาย รับจ้างสาธารณะ ฯลฯ ต่างก็จะได้ประโยชน์กันโดยถ้วนหน้า
“การปฏิวัติประชาธิปไตยประชาชน” จึงเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมที่รวบรวมพลังทางการเมืองของคน ทุกชนชั้น ไม่ว่ากรรมกร ชาวนา นายทุนน้อย ชนชั้นกลาง และรวมทั้งชนชั้นนายทุนชาติด้วย เพื่อ
1. สร้าง “ระบอบประชาธิปไตยของประชาชน” ที่เท่าเทียมกันอย่างแท้จริงขึ้นมาในสังคม

2. ขจัดอิทธิพลล้าหลังที่ขัดขวางพลังการผลิต เอารัดเอาเปรียบและกดขี่ขูดรีดชนชั้นอื่น ๆ ทุกชนชั้น

3. จัดสรรผลประโยชน์ให้กับชนชั้นต่าง ๆ อย่างเหมาะสม

4. พัฒนาประเทศให้อยู่ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์อย่างเท่าเทียมและรู้เท่าทันเล่ห์กล ของ จักรพรรดินิยม

5. ต่อสู้กับการรุกรานและขยายอิทธิพลครอบงำโลกของจักรพรรดินิยมอย่างเด็ดเดี่ยว

6. ร่วมมือบางอย่างกับจักรพรรดินิยมบางส่วน ภายใต้เงื่อนไขที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนอย่างมีการจำแนกแยกแยะ
การ วิเคราะห์สังคมอย่างถูกต้องและตามหลักวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ จะช่วยแยกแยะให้แจ่มชัดว่า การเปลี่ยนแปลงปฏิวัติที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ที่สุดนี้ เป็นการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน หรือการปฏิวัติประชาธิปไตยประชาชน
กล่าว (ย้ำอีกที) สำหรับในบางประเทศที่มีอิทธิพลของจักรพรรดินิยมและศักดินาดำรงอยู่อย่างแน่น หนา
การเปลี่ยนแปลงสังคมในรูปแบบ “การปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน” นั้น หากจะเกิดขึ้นจริง ในทางยุทธวิธี (ของชนชั้นกรรมาชีพ) อาจจะมีความเป็นไปได้ที่จะเข้าร่วมอยู่บ้าง แต่ปัจจัยชี้ขาดว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ ก็ยังคงอยู่ที่ชนชั้นนายทุนว่าจะกล้าต่อสู้จริง ๆ หรือไม่ กล่าวโดยทั่วไปก็มีความเป็นไปได้น้อย เนื่องจากชนชั้นที่ล้าหลังทางประวัติศาสตร์ก็รู้จักสรุปบทเรียน และต้องการประนีประนอมมากกว่า เพราะนอกจากด้านวัฒนธรรมจิตสำนึกแล้ว ก็มิได้มีอะไรที่เข้มแข็งกว่าชนชั้นนายทุน


ส่วนในทางยุทธศาสตร์นั้น หากคิดจะหวังพึ่งให้ชนชั้นนายทุนชาตินำพาการปฏิวัติสังคมอย่างถึงที่สุดแล้ว กล่าวได้ว่านี่เป็นความคิดเพ้อฝันที่ผิดพลาดและล้มเหลวตั้งแต่เริ่มต้น ส่วนในทางปฏิบัติจะทำแนวร่วมกับชนชั้นนายทุนได้หรือไม่ ยังต้องพิจารณาที่ชนชั้นกรรมาชีพมีพลังมากพอสมควรหรือยัง ที่สำคัญต้องมิใช่หลอมรวมกลายเป็นเครื่องมือรับใช้พวกเขา


สำหรับรูป แบบการปฏิวัติประชาธิปไตยประชาชน จะต้องเข้าใจอีกว่า ระดับการเข้าร่วมการปฏิวัติของชนชั้นนายทุนชาตินั้นขึ้นอยู่กับการเปลี่ยน แปลงของ “การเปรียบเทียบกำลังทางชนชั้น” และ “การเปลี่ยนแปลงความขัดแข้งทางชนชั้น” ซึ่งเหมาเจ๋อตุงชี้ว่า “ในยุคจักรพรรดินิยม ชนชั้นอื่น ๆ ของประเทศหนึ่งใด ล้วนไม่สามารถจะนำการปฏิวัติที่แท้จริงใด ๆ ไปสู่ชัยชนะได้” (จาก “ว่าด้วยเผด็จการประชาธิปไตยประชาชน”) นั่นคือต้องไม่ประเมินบทบาทของชนชั้นนายทุนชาติมากจนเกินจริง พวกเขาก่อบทบาทในขบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมได้ในบางขั้นตอนเท่านั้น มิใช่เป็นบทบาทการนำตลอดไป


ชนชั้นนายทุนชาติในบางประเทศ ในระยะเวลาและในเงื่อนไขที่แน่นอนหนึ่ง ถึงแม้จะได้นำการเคลื่อนไหวประชาชาติและได้รับชัยชนะบ้างก็ตาม แต่ว่าในขั้นสุดท้ายก็ยังคงไม่สามารถจะแก้ภาระหน้าที่มูลฐานของการปฏิวัติ ประชาชาติประชาธิปไตยไปได้อย่างถึงที่สุด ซึ่งข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ก็ได้ยืนยันในข้อนี้อย่างชัดเจนแล้ว ทั้งนี้เนื่องจากชนชั้นนายทุนชาติมีทั้ง


1. ความเป็นไปได้ที่จะเข้าร่วมการปฏิวัติ (แค่เข้าร่วม ไม่ใช่นำ)

2. ลักษณะประนีประนอมต่อกลุ่มชนชั้นปกครองที่ล้าหลัง


ชนชั้นกรรมาชีพจึง ต้องใช้นโยบายแนวร่วมที่ทั้งร่วมมือและทั้งต่อสู้กับพวกเขา ร่วมมือกับพวกเขาในการคัดค้านจักรพรรดินิยม ศักดินานิยม ตลอดจนกลุ่มอิทธิพลต่าง ๆ ที่ขัดขวางการพัฒนาก้าวหน้าของพลังการผลิต และต่อสู้กับลักษณะโลเลประนีประนอมของพวกเขาอย่างเด็ดเดี่ยว ขจัดแนวโน้มที่คัดค้านมวลชนกรรมกรชาวนา และคัดค้านพรรคปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพของชนชั้นนายทุนอย่างเด็ดเดี่ยวเช่น เดียวกัน
ต่อชนชั้นเจ้าที่ดินหรือชนชั้นอื่น ๆ ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิวัติ ชนชั้นกรรมาชีพก็สามารถยึดหลักการ “ใช้ความขัดแย้ง ช่วงชิงส่วนมาก คัดค้านส่วนน้อย ตีให้แตกทีละส่วน” สร้างแนวร่วมชั่วคราวกับอิทธิพลบางส่วนในหมู่พวกเขาเท่าที่มีความเป็นไปได้ และเมื่อมีความจำเป็น (จาก “ว่าด้วยนโยบาย” ของเหมาเจ๋อตุง)
ในปัญหา แนวร่วมนี้ ต้องระวังทั้งแนวโน้มที่ “ร่วมมือทุกอย่าง ปฏิเสธการต่อสู้” และ “ต่อสู้ทุกอย่าง ปฏิเสธการร่วมมือ”


แนวร่วมที่ครอบคลุมชนชั้นนาย ทุนและกลุ่มอิทธิพลล้าหลังในสังคมกลุ่มอื่น ๆ ด้วยนั้น พรรคปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพจะต้องรักษาฐานะความเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเองเอาไว้ให้ได้ จะต้องพัฒนากำลังการปฏิวัติอย่างเอาการเอางาน “พันธมิตรระหว่างกรรมกรกับชาวนาภายใต้การนำของชนชั้นกรรมาชีพ เป็นเสาหลักของแนวร่วม” มีแต่การพัฒนากำลังหลักนี้อย่างเต็มที่เท่านั้น จึงจะสามารถสามัคคีกำลังที่สามารถจะสามัคคีได้ ยับยั้งความโลเลของกำลังที่เป็นกลาง และดึงดูดพวกเขาให้มาอยู่กับฝ่ายตน จากนี้จึงขยายและสร้างความมั่นคงแก่แนวร่วมให้ใหญ่โตขึ้นอย่างไม่ขาดสาย และโดดเดี่ยวอิทธิพลล้าหลังให้มากที่สุด
อย่างไรก็ตาม เพื่อที่จะสามัคคีกำลังที่สามารถสามัคคีได้ทั้งปวง เสริมอิทธิพลปฏิวัติให้เติบใหญ่เข้มแข็งขึ้นและโดดเดี่ยวอิทธิพลที่ล้าหลัง ทางประวัติศาสตร์ ชนชั้นกรรมาชีพยังจำเป็นจะต้องสร้างแนวร่วมปฏิวัติอย่างกว้างขวางกับชนชั้น นายทุนชาติ ชนชั้นนายทุนน้อยและชนชั้นกลางในเมือง ตลอดจนพลังที่รักชาติอื่น ๆ บนพื้นฐานของความเป็นพันธมิตรระหว่างกรรมกร-ชาวนา


แต่สิ่งสำคัญ ที่ขาดไม่ได้ ในทางยุทธศาสตร์ นักลัทธิมาร์กซจะต้องทุ่มเทกำลัง นำหลักการพื้นฐานของทฤษฎีลัทธิมาร์กซ-เลนินเข้าไปสู่ชนชั้นกรรมกรและชาวนา ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่และถูกกดขี่ขูดรีดอย่างหนักหน่วงที่สุด นี่เป็นภารกิจหลักที่มีความหมายทางยุทธศาสตร์เหนือกว่าภารกิจอื่นใดทั้งปวง
ปัจจุบัน พลังการผลิตที่พัฒนาขยายตัวไปอย่างกว้างขวาง ได้สร้างชนชั้นกรรมกรขึ้นมาจำนวนมาก และก็มีทฤษฎีลัทธิมาร์กซ-เลนินเป็นอาวุธความคิดทางชนชั้นที่ทรงพลังที่สุด อยู่แล้ว เพียงแต่อาวุธทางความคิดเหล่านี้ ยังมิได้ซึมลึกเข้าไปสู่มวลหมู่กรรมกรและชาวนาอย่างเต็มที่ เมื่อมวลชนผู้ทุกข์ยากและถูกกดขี่ขูดรีดอันไพศาลได้ใช้อาวุธทางความคิดของตน อย่างมีพลังแล้ว การเปลี่ยนแปลงต่อสู้ครั้งสุดท้ายของมวลมนุษยชาติจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ยิ่งชนชั้นผู้ถูกกดขี่ตื่นตัวขึ้นมาเร็วเท่าไหร่ พวกเขาก็จะเข้ามาแบกรับภาระหน้าที่ทางประวัติศาสตร์ได้เร็วขึ้นเท่านั้น


อย่าง ไรก็ตาม การนำพาชนชั้นกรรมาชีพให้ลุกขึ้นต่อสู้ปฏิวัติได้อย่างเป็นจริง ก็ต่อเมื่อมีการนำที่ถูกต้องของพรรคการเมืองแห่งชนชั้นของตนเอง พรรคการเมืองที่ใช้ความคิดลัทธิมาร์กซ-เลนินชี้นำทางความคิด
ความ สำเร็จในภารกิจในการจัดตั้งองค์กรนำสูงสุดของชนชั้นกรรมาชีพในปัจจุบัน จึงเป็นสิ่งชี้ขาดว่า นักลัทธิมาร์กซแห่งยุคโลกาภิวัฒน์ จะก้าวต่อไปข้างหน้าได้หรือไม่ และก้าวไปอย่างไรในท่ามกลางวิกฤติการณ์ทุก ๆ ด้าน ?

Saturday, February 5, 2011

จีน เป็นสังคมนิยมหรือทุนนิยม


ในประวัติศาสตร์ประเทศไทย การปฏิวัติที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยหรือ พคท. ถือเป็นการปฏิวัติที่แท้จริงเพียงครั้งเดียวของไทย เพราะที่ผ่านมาการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทย เป็นเพียงการเปลี่ยนอำนาจปกครองประเทศจากชนชั้นสูงกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่งเท่านั้น โดยที่โครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมยังคงเหมือนเดิม แต่การปฏิวัติที่นำโดย พคท. มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศทั้งระบอบ เพื่อก้าวไปสู่สังคมสังคมนิยมและสังคมคอมมิวนิสต์ในที่สุด


พคท. เป็นพรรคการเมืองที่ก่อตั้งขึ้นตามทฤษฎีลัทธิมาร์กซ-เลนิน ต่อมาเมื่อการปฏิวัติของจีนประสบความสำเร็จพรรคคอมมิว-นิสต์จีนสามารถสถาปนาอำนาจรัฐขึ้นมาปกครองประเทศเมื่อปี ค.ศ. 1949 (พ.ศ. 2492) จากผลสะเทือน ดังกล่าว ในการประชุมสมัชชาครั้งที่สองของ พคท. เมื่อปี พ.ศ. 2495 ที่ประชุมจึงได้ผ่านมติยอมรับความคิด เหมา เจ๋อ ตง เป็นทฤษฎีชี้นำเช่นเดียวกับลัทธิมาร์กซ์-เลนิน ตั้งแต่ นั้นเป็นต้นมา การปฏิวัติของไทยที่นำโดย พคท. จึงยึดถือจีนเป็นแบบอย่างการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจรัฐจากชนชั้นปกครองใช้วิธีเดียวกับที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนเคยใช้ ส่วนการสร้างสรรค์สังคมสังคมนิยมภายหลังได้รับชัยชนะ แม้จะไม่ได้กำหนด ไว้ชัดเจน แต่แน่นอนย่อมไม่ต่างจาก จีนมากนัก ในสายตาของนักปฏิวัติไทย ประเทศจีนที่เป็นรัฐสังคมนิยมจึงเป็นเสมือนภาพในอนาคตของประเทศไทย ที่พวกเขามุ่งมั่นต่อสู้เพื่อให้ไปถึงวันนั้น
เป็นที่น่าเสียดายว่า การปฏิวัติ ไทยที่นำโดย พคท. ต้องสะดุดหยุดลงในกลางทศวรรษ 2520 ความหวังที่จะเห็นสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นเป็นอันต้องเลื่อนออกไปโดยไม่มีกำหนด แต่อย่างใดก็ตาม เชื้อแห่งการปฏิวัติไทยยังไม่ดับมอดทีเดียว ผู้ที่เคยเข้าร่วมปฏิวัติกับ พคท. จำนวนมากยังไม่ละทิ้งอุดมการณ์ โอกาสที่พวกเขาจะรวมตัวกันในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อผลักดันสังคมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นยังมีความเป็นไปได้


ในขณะที่กระแสการปฏิวัติของ ไทยกำลังขึ้นสูงภายหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ในจีนได้เกิดการเปลี่ยน แปลงครั้งสำคัญ พรรคคอมมิวนิสต์ จีนภายใต้การนำของ เติ้ง เสี่ยว ผิง ได้จัดการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 3 ของคณะกรรมการกลางชุดที่ 11 เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1978 (พ.ศ. 2521) ที่ประชุมได้ผ่านมติให้พรรค เน้นงานด้านเศรษฐกิจ แทนที่จะเป็นการเน้นงานด้านการเมืองและการปฏิวัติเหมือนในอดีต และได้กำหนดนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศ การประชุมครั้งนี้ถือเป็นจุดหักเหของประวัติศาสตร์จีนและพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการประชุมจุนอี้ในระหว่างเดินทัพทางไกลเมื่อปี 1935 เพราะนับแต่นี้ไป จีนได้เริ่มการพัฒนาเศรษฐกิจตามแบบประเทศทุนนิยม จนประสบความสำเร็จ กลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกประเทศหนึ่ง ขณะเดียวกัน ท่าทีของจีนต่อการปฏิวัติก็เปลี่ยนไป จีนได้ให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาล ประเทศต่างๆ ที่ตนเคยโจมตีว่าเป็นสมุนจักรพรรดินิยม ส่วนความสัมพันธ์กับพรรคคอมมิวนิสต์ประเทศต่างๆกลับเสื่อมลง การเปลี่ยนแปลงของจีนได้ส่งผลกระทบกว้างขวางและลึกซึ้งต่อขบวนปฏิวัติของประเทศต่างๆ ในเอเชียอาคเนย์ ซึ่งมีผลทำให้การเคลื่อนไหว ปฏิวัติในหลายประเทศต้องปิดฉากลงหรือตกอยู่ในสภาพลำบากอย่างยิ่ง


พคท. เป็นพรรคที่ถูกกระทบอย่างรุนแรงจากการเปลี่ยนนโยบายของจีน พคท. จำต้องปิดสถานีวิทยุเสียงประชาชนไทยที่ตั้งอยู่ในจีน และยังต้องรับเคราะห์จากความขัดแย้งระหว่างจีนกับเวียดนาม ทำให้ไม่สามารถใช้ดินแดนลาวและกัมพูชาเป็นแนวหลังอีกต่อไป ที่หนักที่สุดคือ อาวุธและยุทธปัจจัยของกองกำลัง ทปท. เขตภาคเหนือและภาคอีสาน ที่เคยได้รับความช่วยเหลือจากจีนไม่มีอีกแล้ว เพราะเส้นทางลำเลียงที่ผ่านลาวถูกตัดขาด พคท. ต้องพบกับความยากลำบากที่ไม่เคยประสบมาก่อน ทั้งที่กำลังอยู่ในช่วงกระแสสูงของการปฏิวัติ ทุกวันนี้แม้จะยังไม่มีการสรุปอย่างจริงจังถึงสาเหตุความล้มเหลวของ พคท. และการปฏิวัติไทย แต่การเปลี่ยนนโยบายของ จีนและสถานการณ์ในอินโดจีนขณะนั้นน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การล่มสลายของขบวนปฏิวัติไทยในช่วงนั้น


ประเทศจีนภายหลังการปฏิรูปและเปิดประเทศ เศรษฐกิจของประเทศได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก มีปริมาณการค้าต่างประเทศใหญ่เป็นที่ 3 ของโลก และมีเงินตราต่างประเทศสำรองมากที่สุดในโลก จีนได้กลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ของโลกอย่างแท้จริง โดยใช้เวลาในการพัฒนาเพียง 20 กว่าปีเท่านั้น


อย่างใดก็ตาม การพัฒนาเศรษฐกิจของจีนได้ก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ที่สำคัญคือปัญหาการกระจายรายได้ ที่เกิดความเหลื่อม ล้ำระหว่างเขตชายฝั่งกับดินแดนตอนใน ความเหลื่อมล้ำระหว่างเมือง กับชนบท และความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจน ปัญหาการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย ปัญหาการทำลายสภาพแวดล้อม ปัญหาการพัฒนาคุณภาพคน ปัญหาสังคมเช่น ยาเสพติด การพนัน การค้าประเวณี การค้ามนุษย์ การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ และปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นที่ระบาดไปทุกวงการ ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับการพัฒนาประเทศตามระบอบทุนนิยม ที่ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายรวมทั้งประเทศไทยประสบมาแล้วทั้งนั้น ที่น่าสังเกตคือ ปัญหาเหล่านี้เคยถูกกำจัดจนหมดสิ้นในยุคที่จีนเป็นรัฐสังคมนิยม แต่ได้ฟื้นขึ้นมาใหม่ภายหลังการปฏิรูปและเปิดประเทศ


ในช่วงแรกของการปฏิรูปและเปิดประเทศ ภายในพรรคคอมมิวนิสต์ จีนมีการต่อสู้สองแนวทางระหว่างการเดินหน้าปฏิรูปต่อไป กับการถอย กลับไปสู่นโยบายเดิม ส่วนในสังคมก็มีกระแสความไม่พอใจต่อพรรคคอมมิวนิสต์ อันเนื่องมาจากการละเลยในการจัดการปัญหาที่เกิดจากการปฏิรูปและเปิดประเทศ รวมทั้งเรียกร้องให้มีการปฏิรูปทางการเมือง ความไม่พอใจนี้ได้นำไปสู่การชุมนุมประท้วงยืดเยื้อ จนกลายเป็นเหตุการณ์ นองเลือดเทียนอันเหมินที่มีผู้เสียชีวิตมากมายเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 1989


พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่มี เติ้ง เสี่ยว ผิง เป็นผู้นำสูงสุดได้ใช้วิธีเฉียบขาดในการจัดการกับผู้ชุมนุมที่ จัตุรัสเทียนอันเหมิน จากนั้นในปี 1992 เติ้ง เสี่ยว ผิง ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมมณฑลทางใต้ และได้กล่าว สุนทรพจน์หลายครั้ง เพื่อกระตุ้นให้เร่งปฏิรูปและเปิดประเทศให้มากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นการสยบเสียงคัดค้านภายพรรคให้เงียบลงไป นับตั้งแต่นั้นมา การปฏิรูปและเปิดประเทศของจีนก็ได้เดินหน้าเต็มที่ การพัฒนาเศรษฐกิจของจีนรุดหน้าเหมือนติดปีกบิน อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงกว่า 9 % ต่อปีติด ต่อกันเป็นเวลา 10 กว่าปี ซึ่งนับเป็นอัตราสูงที่สุดในโลก จนทำให้จีนกลายเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจประเทศหนึ่งของโลก ส่วนในด้านการเมือง พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ยึดกุมอำนาจรัฐไว้อย่างเหนียวแน่น โดยแทบไม่มีการปฏิรูปใดๆ เกิดขึ้น


การพัฒนาเศรษฐกิจของจีนทำ ให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ดีขึ้นมาก ทุกวันนี้คงไม่มีคนจีนคนใดต้องการให้ประเทศของเขากลับไปสู่ยุคเดิมอีก แต่ก็มีคนจีนจำนวนไม่น้อยเกิดความสงสัยว่า ประเทศของเขาเป็นประเทศสังคมนิยมหรือทุนนิยมกันแน่ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้หรือ และในอนาคตพรรคคอมมิวนิสต์จีนยังจะนำพวกเขาก้าวเดินไปสู่สังคมสังคมนิยมและสังคมคอมมิวนิสต์อีกหรือไม่ คำถามเหล่านี้เป็นโจทย์ที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนต้องตอบให้ได้ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในหมู่ประชาชน ชาวจีน

ไม่เพียงชาวจีนเท่านั้นที่เกิดความสงสัยในระบอบการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศเขา ชาวต่างชาติโดยเฉพาะผู้ที่เคยเข้าร่วมขบวน การต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม และเคยยึดถือจีนเป็นแบบอย่าง ก็เกิดความสับสนเช่นกันว่า ความสำเร็จใน การพัฒนาเศรษฐกิจของจีนเกิดจากการมีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นแกนนำ และมีทฤษฎีลัทธิมาร์กซ์-เลนินเป็นความคิดชี้นำ หรือเกิดจากการเลียนแบบประเทศทุนนิยมกันแน่ ประสบ- การณ์ของจีนเป็นบทเรียนที่ใช้กับประเทศอื่นได้หรือไม่ และที่สำคัญที่สุดคือ จีนยังเป็นประเทศสังคม- นิยม ที่ใช้การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นทางผ่าน เพื่อก้าวไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์ ที่เป็นเป้าหมายสูงสุดในการปฏิวัติ หรือเป็นเพียงประเทศทุนนิยมที่ปกครองโดยกลุ่มเผด็จการในคราบของพรรคคอมมิวนิสต์เท่านั้น


พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ตอบปัญหาทางทฤษฎีที่ค้างคาใจคนมาตลอด ซึ่งล่าสุดได้สรุปเป็นแนวคิดที่ค่อนข้างชัดเจน ที่มีสาระสำคัญคือ ขณะนี้จีนอยู่ในขั้นตอนเริ่มต้นของสังคมสังคมนิยม และกำลังสร้างสรรค์ สังคมสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์ของจีน โดยใช้รูปแบบเศรษฐกิจการตลาดสังคมนิยม ระบบกรรมสิทธิ์รวมยังเป็นระบบหลักในการถือครองปัจจัยการผลิต ส่วนระบบกรรมสิทธิ์อื่นเป็นเพียงระบบเสริมเท่านั้น ชนชั้นกรรมาชีพยังเป็นชนชั้นนำของสังคม พรรคคอมมิว-นิสต์ยังเป็นตัวแทนชนชั้นกรรมาชีพ เป้าหมายระยะยาวของพรรคคอม-มิวนิสต์จีนยังคงเป็นการสร้างสังคมคอมมิวนิสต์ให้เกิดขึ้นบนพื้นพิภพ ดังนั้นจีนจึงเป็นประเทศสังคมนิยมโดยไม่ต้องสงสัย


ที่ยกมาข้างต้นเป็นคำกล่าวจากเอกสารทางการของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งชาวจีนส่วนใหญ่แม้แต่สมาชิกพรรคยังไม่อยากเชื่อ การพิจารณาว่าจีนเป็นประเทศสังคมนิยมหรือทุนนิยมคงมิใช่ฟังจากทางการจีนเท่านั้น หากแต่ต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะสรุปได้ในทันทีทันใด หรือบางทีอาจไม่สามารถหาข้อสรุป จน กว่าจะมีข้อมูลที่ชัดเจนกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน


อย่างใดก็ตาม ผู้เขียนในฐานะที่เคยทำงานอยู่ในจีนนานถึง 17 ปี จะขอเสนอข้อมูลเกี่ยวกับจีนที่ผู้เขียนรับรู้มา เพื่อให้มิตรสหายพิจารณาเองว่า ประเทศจีนที่เป็นจริงจะเหมือนหรือต่างกับที่มิตรสหายจิตนาการหรือไม่ และสภาพของจีนในทุกวันนี้ควรจะเรียกว่าเป็นสังคม- นิยมหรือทุนนิยมกันแน่


ในด้านการเมืองการปกครอง จีนปกครองโดยพรรคการเมืองพรรคเดียวคือพรรคคอมมิวนิสต์มาตลอด ในหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ โรงเรียน โรงพยาบาล ชุมชนต่างๆทั้งในเมืองและชนบท ฯลฯ จะมีคณะกรรมการพรรคหรือหน่วยพรรค ตั้งอยู่ ในกิจการลงทุนของต่างชาติและกิจการเอกชนบางแห่งก็มีคณะกรรมการพรรคหรือหน่วยพรรคเช่นกัน คณะกรรมการพรรคหรือหน่วยพรรคจะตั้งซ้อนกับองค์กรบริหารเช่น หัวหน้ากรมกอง ผู้จัดการโรงงานผู้อำนวยการโรงเรียน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ โดยมีอำนาจในการตัดสินใจและถือว่าอยู่เหนือฝ่ายบริหาร ในองค์กรต่างๆ เลขาธิการพรรคถือเป็นบุคคลสำคัญอันดับหนึ่ง ส่วนหัวหน้าฝ่ายบริหารเป็นอันดับสอง


ในจีนมีพรรคการเมืองอื่นอีก 8 พรรค แต่พรรคเหล่านี้ไม่มีความอิสระในการดำเนินงาน ไม่สามารถเสนอนโยบายที่แตกต่างจากพรรคคอมมิวนิสต์และไม่สามารถรับสมัคร สมาชิกโดยไม่ผ่านการยินยอม จากพรรคคอมมิวนิสต์ พรรคเหล่านี้จึงไม่ถือว่าเป็นพรรคการเมืองที่แท้จริง


พรรคคอมมิวนิสต์จีนใช้อำนาจ ปกครองประเทศแบบเบ็ดเสร็จ อำนาจ บริหาร อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจ ตุลาการอยู่ในมือของพรรคทั้งหมด สื่อทุกแขนงอยู่ใต้การควบคุมของพรรคอย่างเข้มงวด ประชาชนไม่มีสิทธิในการจัดตั้งกลุ่มการเมืองหรือแสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างจากแนวนโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์


ปัจจุบันพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีสมาชิกพรรคประมาณ 70 ล้านคน การเข้าเป็นสมาชิกพรรคมีขั้นตอนเช่นเดียวกับในอดีต คือต้องเป็นคนที่เอางานเอาการ กระตือรือร้น มีผู้แนะนำและต้องผ่านขั้นสมาชิกเตรียมระยะหนึ่ง สมาชิกพรรคต้องศึกษาทฤษฎีการเมืองอย่างต่อเนื่องและต้องใช้ชีวิตจัดตั้ง การเป็นสมาชิก พรรคเป็นเรื่องเปิดเผย ดังนั้นคนที่เป็นสมาชิกพรรคจึงต้องระมัดระวังคำพูดและการแสดงออกเวลาอยู่ต่อหน้าคนรู้จัก ส่วนลับหลังก็เหมือนคนทั่วไปที่มีความเห็นแก่ตัวและกิเลสตัณหาต่างๆ สมาชิกพรรคเท่าที่ผู้เขียนรู้จัก แทบไม่มีคนใดที่มีอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ บางคนยังยอมรับว่าที่เข้าพรรคเพราะต้องการไต่เต้าขึ้นไปเท่านั้น
ในด้านเศรษฐกิจ จีนแทบไม่แตกต่างจากประเทศทุนนิยม ชาวจีน สามารถเปิดกิจการค้าได้อย่างเสรี หรือจะลงทุนในตลาดหุ้น พันธบัตรรัฐบาล กองทุนต่างๆ ฯลฯ ก็มีทางเลือกมากมาย แม้แต่ไปลงทุนในต่างประเทศก็ทำได้ กฎหมายเกี่ยวกับการค้าการลงทุนและกฎหมายภาษีอากรของจีนค่อนข้างสมบูรณ์ ระบบกรรมสิทธิ์เอกชนได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่


รัฐวิสาหกิจของจีนแม้จะยังครองสัดส่วนการผลิตมากกว่าครึ่งหนึ่ง แต่การบริหารแตกต่างจากเมื่อก่อนมาก รัฐวิสาหกิจที่ประสบความ สำเร็จในการดำเนินงานจะเป็นกิจการ ที่ร่วมทุนกับต่างชาติหรือมีการปรับปรุงการบริหารงานตามแบบประเทศทุนนิยม ส่วนรัฐวิสาหกิจที่บริหารตามแบบเดิมหรือไม่สามารถปรับปรุงให้ทันสมัยก็ยังขาดทุนต่อไป ซึ่งได้กลายเป็นภาระหนักอึ้งของรัฐบาลในการอุดหนุน


กิจการลงทุนต่างชาติและกิจการเอกชนเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีชีวิตชีวาที่สุดของจีน การเติบโตทางเศรษฐกิจและการส่งออกของจีนมาจากกิจการสองส่วนนี้เป็นหลัก รูปแบบกรรมสิทธิ์และการบริหารของกิจการสองส่วนนี้เป็นแบบทุนนิยมล้วนๆ ที่คำนึงแต่การแสวง หากำไรสูงสุดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น


ในด้านสังคม จีนใช้ระบบสำมะโนครัวที่เข้มงวดแบ่งพลเมืองออกเป็นสองพวก คือคนในเมืองกับคนชนบท คนชนบทไม่สามรถย้ายสำมะโนครัวไปอยู่ในเมือง สมัยก่อนคนในเมืองมีสวัสดิการต่างๆ เช่น บ้านพัก การรักษาพยาบาล การศึกษา เล่าเรียน การปันส่วนอาหาร ฯลฯ และมีโอกาสเข้าทำงานในหน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ส่วนคนชนบทซึ่งมีจำนวนประมาณ 70% ของพลเมืองทั่วประเทศไม่มีสวัสดิการ ใดๆ ต้องเสียภาษีผลผลิตเกษตร แล้วยังต้องแบกภาระเงินเดือนของกำนันผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่หน่วยงานท้องถิ่น ครูประชาบาล และค่าใช้ จ่ายจีปาถะต่างๆ ปัจจุบันสวัสดิการของคนในเมืองถูกยกเลิกหมดแล้ว แต่ระบบสำมะโนครัวยังมีผลบังคับใช้ ภาระของชาวชนบทก็ยังเหมือนเดิม


จีนเป็นประเทศที่มีพื้นที่เพาะปลูกจำกัดมาก ชาวนาครอบครัวหนึ่งมีที่ดินเพาะปลูกประมาณ 1-3 ไร่ไทยเท่านั้น รายได้หลักของชาวชนบทจึงอยู่ที่การเข้าไปหางานทำในเมือง ชาวชนบทไม่สามารถเข้าเป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ เป็นได้แค่ลูกจ้างชั่วคราวเท่านั้น อาชีพของชาวชนบทส่วนใหญ่ที่เข้าไปทำงานในเมืองได้แก่ กรรมกรในโรงงานเอกชน คนงานก่อสร้าง พนักงานบริการตามร้านอาหาร พนักงานทำความสะอาด พ่อค้าแม่ค้าในตลาด เป็นต้น ชาวชนบทเป็นแรงงาน ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีน เป็นผู้สร้าง ถนนหนทาง ตึกรามบ้านช่องและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในเมือง และเป็นผู้ที่ทำให้สินค้าจีนมีต้นทุนต่ำอย่างไม่น่าเชื่อ จนส่งไปขายทั่วโลก ยึดครองตลาดทุกหนทุกแห่ง


ในขณะที่คนชนบทสร้างความเจริญให้เมืองต่างๆ และสร้างกำไรมหาศาลแก่เจ้าของกิจการ พวกเขากลับได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง นอกจากค่าแรงที่ต่ำกว่าคนในเมืองมากแล้ว ยังต้องทำงานวันละ 10-12 ชั่วโมง ต้องเสี่ยงอันตราย จากอุบัติเหตุ กินอาหารที่คนในเมือง ไม่กินกัน อาศัยอย่างแออัดอยู่ในห้อง แคบๆ ยามเจ็บไข้ไม่มีสวัสดิการรักษาพยาบาล บุตรหลานของพวกเขาไม่สามารถเข้าโรงเรียนในเมือง พวกเขามักถูกเจ้าของกิจการและผู้รับเหมาหาเหตุหักเงินเดือนหรือเบี้ยวค่าแรงดื้อๆ นอกจากนี้ยังถูกคนในเมืองดูถูกเหยียดหยาม ถูกเจ้าหน้าที่เทศกิจและตำรวจข่มเหงรังเก


การกดขี่ขูดรีดชาวชนบทเป็นเรื่องน่าละอายที่สุดในสังคมจีน ในจีนมีกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แต่เจ้าของกิจการส่วนใหญ่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่รัฐก็ไม่ใส่ใจดูแล พรรคคอมมิวนิสต์จีนและรัฐบาล กลางของจีนได้ออกกฎระเบียบ ประกาศ คำสั่งที่ให้ลดภาระหรือช่วยเหลือชาวชนบทมากมาย แต่ไม่มีการปฏิบัติอย่างจริงจังสักเรื่อง สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะ ชาวชนบทเป็นแรงงานราคาถูกและมีทักษะสูง ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการลดต้นทุนการผลิต ทำให้สินค้าจีนมีราคา ถูกกว่าสินค้าประเทศอื่นๆ จึงสามารถ ส่งออกไปทุ่มตลาดต่างประเทศและนำเงินเข้าประเทศมากมายมหาศาล นี่คือเคล็ดลับของ การเติบโตทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดของจีน พรรคคอมมิวนิสต์จีนตระหนักดีว่า หากยกเลิก ระบบสำมะโนครัว ปล่อยให้ชาวชนบทย้ายเข้าเมืองได้อย่างเสรี จะไม่มีแรงงานราคาถูกอีกต่อไป ความสามารถในการแข่งขันของจีนจะลดลงไปทันที จึงต้องคงสภาพเดิมไว้ จนกว่าจีนจะมีความสามารถในการแข่งขันด้วยผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ใช้แรงงานเป็นหลัก นี่คือโศกนาฏกรรมชองชาวนาจีนที่ถูกกำหนดให้เป็นผู้เสียสละในการพัฒนาประเทศ
นอกจากความเหลื่อมล้ำระหว่างคนในเมืองกับคนชนบทแล้ว

สังคมจีนยังเต็มไปด้วยความไม่เท่าเทียมเช่นเดียวกับสังคมทุนนิยมทั้งหลาย ในจีนทุกอย่างว่ากันด้วยเงิน คนที่มีเงินสามารถซื้อทุกสิ่งทุกอย่าง ส่วนคนจนต้องดิ้นรนให้มีชีวิตรอดด้วยความยากลำบาก ประเทศจีนปัจจุบันรัฐไม่มีสวัสดิการให้ประชาชน คนที่ทำงานราชการ รัฐวิสาหกิจ กิจการต่างชาติและกิจการเอกชนขนาดใหญ่สามารถใช้สวัสดิการของที่ทำงาน ส่วนคนที่ไม่มีหน่วยงานสังกัดหรือทำงานในกิจการเอกชนขนาดเล็กต้องช่วยเหลือตัวเอง ค่ารักษาพยาบาลกับค่าเล่าเรียนในจีนแพงมาก ที่อยู่อาศัยก็แพงขึ้นเรื่อยๆ คนส่วนใหญ่จึงต้องใช้จ่ายอย่างประหยัด เพื่อเก็บเงินไว้ใช้ในยามเจ็บป่วย หรือเก็บไว้เป็นค่าเล่าเรียนของลูกหลานหรือซื้อบ้าน เพราะเมื่อถึงคราวจำเป็นจริงๆ ไม่มีใครให้ความช่วยเหลือหรือจะขอความเมตตาจาก ใครได้ทั้งนั้น กรณีที่คนไข้ในโรงพยาบาลถูกไล่ออกกลางคันเพราะเงินหมดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นปรกติมากในเมืองจีน


หน่วยราชการของจีนซับซ้อนใหญ่โต หน่วยงานแต่ละแห่งมีอำนาจ มากและมีข้อบังคับมากมาย การติดต่อเรื่องใดๆ กับหน่วยราชการเสียเวลามากและต้องเสียเงินทั้งนั้น ยกตัวอย่างเช่น การซื้อรถยนต์คันหนึ่ง จะต้องเสียเวลาเป็นเดือนติดต่อกับหน่วยราชการ 10 กว่าหน่วย และเสียค่าใช้จ่ายรวมเท่ากับ 1 ใน 3 ของราคารถยนต์ ท่าทีของเจ้าหน้าที่รัฐบาล ก็แย่มาก มีลักษณะวางตัวเป็นเจ้าขุนมูลนาย ทั้งที่หน้าหน่วยราชการทุกแห่งจะมีป้ายเขียนคำว่า “รับใช้ประชาชน” ติดไว้โก้หรู คนจีนบอกผู้เขียนว่า เขาต้องแก้เป็น “รับใช้เงินหยวน” จึงจะถูกต้อง


ปัญหาเรื่องพฤติกรรมของคนเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สร้างความงุนงงแก่ผู้ไปเยือนจีน โดยเฉพาะผู้ที่เคยเข้าร่วมขบวนปฏิวัติต่างไม่เข้าใจว่า ทำไมพลเมืองของประเทศที่เคยอยู่ในระบอบสังคมนิยมนานถึง 30 ปี และปัจจุบันยังอยู่ใต้การปกครองของ พรรคคอมมิวนิสต์ถึงเป็นแบบนี้ คนจีนจำนวนมากไม่มีระเบียบ เวลาขึ้นรถลงเรือจะแย่งกัน ชอบขากเสลด ทั้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง เอะอะโวยวาย ไม่มีมารยาท พูดปดจนติดเป็นนิสัย เห็นแก่ตัว ไม่มีความเห็นอกเห็นใจผู้ที่ด้อยกว่า ฯลฯ พฤติกรรม ของคนจีนทำให้เกิดข้อสงสัยว่า สังคมสังคมนิยมหล่อหลอมคนให้เป็นเช่นนี้หรือ แล้วเราจะต่อสู้เพื่อให้เกิดสังคมที่มีคนเป็นแบบนี้หรือ
อย่างใดก็ดี ประสบการณ์ของผู้เขียนเป็นเพียงข้อมูลส่วนหนึ่งเท่านั้น การจะชี้ว่าจีนเป็นสังคมนิยม หรือทุนนิยมคงไม่ใช่สรุปกันง่ายๆ ผู้เขียนหวังว่ามิตรสหายคงจะศึกษาค้นคว้าต่อไป เพื่อหาคำตอบที่ถูกต้องออกมาให้ได้