Sunday, November 21, 2010

วัตถุประสงค์การจัดตั้งสถานี "สร้างสรรค์สังคมเชียงใหม่"


สืบเนื่องปรากฏการณ์การตื่นตัวทางการเมืองของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน พบว่าสื่อโดยเฉพาะสื่อใหม่อย่างวิทยุชมชน มีบทบาทสำคัญในเรื่องของการให้การศึกษา ยกระดับความคิดทางการเมือง และเป็นช่องทางที่คนในชุมชนได้รับรู้ข่าวสารจากภายนอก รวมถึงสะท้อนความคิดเห็น ข้อมูลข่าวสารไปสู่ชุมชนอื่นๆ


ทั้งนี้จากการตื่นตัวของชาวเชียงใหม่ในเรื่องประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นมานั้น ถือว่าเป็น "ฐาน" ที่สำคัญในการสร้างสรรค์สังคมเชียงใหม่ ทั้งในด้านการพัฒนาองค์ความรู้ด้านสิทธิ เสรีภาพ สิทธิพลเมือง ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยแก่ประชาชนชาวเชียงใหม่ รวมถึงกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมการสร้างสรรค์และพัฒนาคุณภาพของคนในชุมชนอย่างมีส่วนร่วม


วัตถุประสงค์ของสถานีวิทยุชุมชน "สร้างสรรค์สังคมเชียงใหม่"


1. เป็นช่องทางในการส่งเสริมให้ความรู้ด้านสิทธิเสรีภาพ สิทธิพลเมือง ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยแก่คนชุมชน
2. เป็นช่องทางสื่อสารสาธารณะที่คนในชุมชนมีบทบาทเป็นทั้งผู้รับสารและผู้ส่งสาร
3. เป็นช่องทางส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมแก่ชุมชน
4. เป็นช่องทางส่งเสริมด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น รวมถึงเปิดพื้นที่ให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์

*ตัวอย่างการดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์


(1) เป็นช่องทางในการส่งเสริมให้ความรู้ด้านสิทธิเสรีภาพ สิทธิพลเมือง ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยแก่คนชุมชน >>> มีรายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมือง, รายการข่าวสารจากท้องถิ่นอื่นๆ (เช่น การต่อสู้พิทักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น, รายการข่าวสารการเมืองจากต่างประเทศ (ดำเนินรายการเป็นภาษาถิ่น)), มีรายการให้นักวิชาการ นักศึกษา ย่อยองค์ความรู้ด้านสิทธิเสรีภาพประชาธิปไตยสู่ชุมชนท้องถิ่น, ลิงค์สัญญาณเสียงการเสวนาวิชาการจากเวทีในส่วนกลางสู่ท้องถิ่น, ย่อยบทความวิชาการต่างๆ สู่ผู้ฟัง เป็นต้น


(2) เป็นช่องทางสื่อสารสาธารณะที่คนในชุมชนมีบทบาทเป็นทั้งผู้รับสารและผู้ส่งสาร >>> เปิดที่ที่จัดรายการแบบ "ร่วมด้วยช่วยกัน" ให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมในการสะท้อนความคิดเห็น รวมถึงปัญหาต่างๆ ในชุมชน เป็นต้น


(3) เป็นช่องทางส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมแก่ชุมชน >>> มีการจัดกิจกรรมลงพื้นที่ในชุมชนเชียงใหม่ กระตุ้นให้คนในชุมชนมีจิตสำนึกทำประโยชน์เพื่อสารธารณะร่วมกัน เป็นต้น


(4) เป็นช่องทางส่งเสริมด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น รวมถึงเปิดพื้นที่ให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ >>> มีรายการเกี่ยวกับด้านบันเทิง อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น รวมถึงเปิดพื้นที่ให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ (เช่น เรียนรู้วัฒนธรรมตะวันตก-ตะวันออก เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์)

No comments:

Post a Comment