Tuesday, May 18, 2010

สงครามกลางเมือง

แรซซิ่งบ่อนไก่ เผาตึกราชปรารภ 17 MAY 2010

โดย อ. มังกรดำ

วันนี้ไปบันทึกเหตุการณ์ที่บ่อนไก่ ถนนพระราม4 ซึ่งเป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับทหารจนทำให้ได้รับสมญาพื้นที่นี้ว่าเป็น คิลลิ่งโซน เพราะมีการบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก แต่ในอีกมุมมองหนึ่ง เราได้เห็นความพิเศษบางอย่างของคนไทย
เช่น การร่วมแรงร่วมใจกันผนึกกำลังเพื่อให้ได้สิ่งที่พวกเขาคิดว่าเป็นความถูกต้องยุติธรรม และพร้อมกันนั้นยังแฝงรอยนิสัยสนุกสนาน ยิ้มได้เมื่อภัยมา และเสียงหัวเราะ

ช่วงเย็น เรากลับมายังที่ชุมนุมสามเหลี่ยมดินแดง ราชปรารภ ที่นี่เราได้บันทึกเหตุการณ์น่าสนใจสองอย่างคือภาพของชายที่ได้รับบาดเจ็บสาหัส จากคำบอกเล่าวว่าถูกยิงมาจากตึกสูงลงมายังที่เขายืนอยู่ในซอย 22 แหล่งชุมชนที่อยู่อาศัย ของถนนราชปรารภ กับอีกภาพหนึ่งซึ่งจับภาพได้ว่า เพลิงไหม้อาคารชิวาไทย มีคนอย่างน้อยสองคน บนตึกนั้นกำลังเทสิ่งที่คาดว่าน่าจะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง เพราะภารกิจที่พวกเขาทำนั้น ทำให้ไฟลุกโหมแรงขึ้น โชคยังดี การลุกไหม้เป็นเพียงชั้นเดียวและคุมอดลง

uddthailand แหล่งข่าว : เมื่อราวตี 1 เวทีม.รามคำแหงที่มีผู้ชุมนุมอยู่ราว 800 คน ได้สลายการชุมนุมหมดแล้ว เนื่องจากเกิดเสียงปืนขึ้น 5-6 นัด คาดว่ามาจากกลุ่มอันธพาลจัดตั้งบริเวณหน้าราม ขณะนี้กลุ่มผู้ชุมนุมได้แยกย้ายกันกลับบ้าน บางส่วนไปสมทบเวทีที่ลาดพร้าวเพื่อความปลอดภัย


24.00น. ศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร สรุปข้อมูลตั้งแต่วันที่ 14 -17 พ.ค. 53
เวลา 15.00 น. มีผู้บาดเจ็บ 256 ราย เสียชีวิต 35 ราย รวมทั้งหมด 291 ราย ทุกเหตุการณ์รวมแล้วทั้งสิ้น 65 ศพ

หลังเวลา 15.00 น. ของวันที่ 17 พ.ค. 53 มีผู้บาดเจ็บ 22 รายโดยอยู่ระหว่างรอผลการตรวจรักษา 1 ราย (รพ.ราชวิถี) โดยมีผู้เสียชีวิต 1 ราย คือ นายสมพาน หลวงชม อายุ 35 ปี รวมทั้งหมด 23 ราย
สรุปข้อมูลตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค. 53 ถึง 24.00น. มีจำนวนผู้บาดเจ็บ 278 ราย เสียชีวิต 36 ราย รวมทั้งสิ้น 314 ราย

18.30น. ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน กรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร รายงานจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตยังคงที่ อย่างไรก็ตาม มีรายงานด้วยว่า หลังจากที่รัฐบาลประกาศให้กลุ่ม นปช. ออกจากพื้นที่จากชุมนุม ภายในเวลา 15.00 น. และเมื่อเวลาประมาณ 17.30 น. เกิดเหตุปะทะกันในพื้นชุมชนบ่อนไก่ และบริเวณสามเหลี่ยมดินแดง ทำให้มีผู้บาดเจ็บทั้งสิ้น จำนวน 4 ราย โดยได้นำส่งโรงพยาบาลแล้ว

14.00น. ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน กรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร สรุปตัวเลขผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตตั้งแต่วันที่ 14-17 พ.ค. (ข้อมูล ณ 14.00น. 17 พ.ค.) มีผู้บาดเจ็บ 256 ราย เสียชีวิต 35 ราย เป็นพลเรือน 34 ราย ทหาร 1 ราย

ในจำนวนผู้บาดเจ็บเป็นชาวต่างชาติ 7 รายได้แก่ ชาวแคนาดา 1 ราย, ชาวโปแลนด์ 1 ราย, ชาวพม่า 1 ราย, ชาวไลบีเรีย 1 ราย ,ชาวอิตาลี 1 ราย, ชาวนิวซีแลนด์1 ราย, และชาวต่างชาติไม่ทราบสัญชาติ 1 ราย
ทั้งนี้ ติดตามรายงานผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บได้ที่ เว็บไซต์ศูนย์
เอราวัณ http://www.ems.bangkok.go.th/radmob.html

ลำดับ ชื่อ นามสกุล อายุ โรงพยาบาล ข้าราชการ/พลเรือน

1 นายเสน่ห์ นิลเหลือง 48 รพ.กล้วยน้ำไท1 พลเรือน
2 นายอินแปลง เทศวงศ์ 32 รพ.กล้วยน้ำไท1 พลเรือน
3 นายประจวบ ศิลาพันธ์ รพ.ตำรวจ พลเรือน
4 นายปิยะพงษ์ กิติวงศ์ 32 รพ.ตำรวจ พลเรือน
5 นายสมศักดิ์ ศิลารักษ์ 28 รพ.ตำรวจ พลเรือน
6 น.ส.สันทนา สรรพศรี 32 รพ.พญาไท 1 พลเรือน
7 ชายไทยไม่ทราบชื่อ รพ.พญาไท 1 พลเรือน
8 นายพัน คำกอง รพ.พญาไท 1 พลเรือน
9 นายมนูญ ท่าลาด 40 รพ. พญาไท 1 พลเรือน
10 นายชัยยันต์ วรรณจักร 20 รพ.พระมงกุฏเกล้า พลเรือน
11 ชายไทยไม่ทราบชื่อ รพ.ราชวิถี พลเรือน
12* นายธันวา วงศ์ศิริ 26 รพ.ราชวิถี พลเรือน
13 นายกิตติพันธ์ ขันทอง 26 รพ.ราชวิถี พลเรือน
14 นายทิพเนตร เจียมพล 32 รพ.ราชวิถี พลเรือน
15 นายสรไกร ศรีเมืองปุน 34 รพ.ราชวิถี พลเรือน
16 นายบุญทิ้ง ปานศิลา 25 รพ.รามาธิบดี พลเรือน
17 นายสุภชีพ จุลทรรศน์ 36 รพ.ราชวิถี พลเรือน
18 นายมานะ แสงประเสริฐศรี 25 รพ.เลิดสิน พลเรือน
19 นายอำพล ชื่นสี 25 รพ.รามาธิบดี พลเรือน
20 นายสมพันธ์ ศรีเทพ 25 รพ.รามาธิบดี พลเรือน
21 นายอุทัย อรอินทร์ 35 รพ.รามาธิบดี พลเรือน
22 ชายไม่ทราบชื่อ รพ.พญาไท 1 พลเรือน
23 นายวารินทร์ วงศ์สนิท 28 รพ.ราชวิถี พลเรือน
24 นายพรสวรรค์ นาคะไชย 23 รพ.เลิดสิน พลเรือน
25 นายสมชาย พระสุพรรณ 43 รพ.เลิดสิน พลเรือน
26 ชายไทยไม่ทราบชื่อ รพเจริญกรุงฯ พลเรือน
27 นายประจวบ ประจวบสุข 42 รพ.เจริญกรุงฯ พลเรือน
28 นายเกรียงไกร เลื่อนไธสง 25 รพ.เลิดสิน พลเรือน
29 นายวงศกร แปลงศรี 40 รพ.เลิดสิน พลเรือน
30 นายสุพรรณ ทุมทอง 49 รพ.รามาธิบดี พลเรือน
31 ชายไทยไม่ทราบชื่อ รพ.กล้วยน้ำไท1 พลเรือน
32 นายเฉลียว ดีรื่นรัมย์ 27 รพ.กล้วยน้ำไท1 พลเรือน
33 จ่าอากาศเอกพงศ์ชลิต พิทยานนทกาญจน์รพ.กรุงเทพคริสเตียน ทหาร
34 นายสุพจน์ ยะทิมารพ.ตำรวจ พลเรือน
35 นายสมพาน หลวงชม รพ.ทหารผ่านศึก พลเรือน
หมายเหตุ * ลำดับที่ 12 เปลี่ยนจากชายไทยไม่ทราบชื่อ เป็นนายธันวา วงศ์ศิริข้อมูล ณ วันที่ 17 พฤษภาคม 2553 เวลา 12.00 น

Sunday, May 16, 2010

ไปฟังสาเหตุว่าทำไม? ถึงยังมีผู้ชุมนุมกล้าพูดว่า "เราพร้อมตายแทนแกนนำ"

Credit to : noppatjak's blog

วันนี้ก่อนการแถลงของ ศอฉ.เมื่อเวลาประมาณ 17.00น. ข่าวสารเรื่องการประกาศ'เคอร์ฟิว' และ ที่สำคัญกว่านั้นคือข่าวสารเรื่อง การเข้ามากดดันขั้นสูงสุด ที่เวทีการชุมนุมราชประสงค์ โดยให้เวลาถึงวันพรุ่งนี้ วันที่ 16 พฤษภาคม เวลา 15.00 น.

แม้ว่าล่าสุด ศอฉ.จะแถลง งดการประกาศเคอร์ฟิว และแน่นอนว่าความอึมครึมในเรื่องการเข้ามาสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์ก็ลดลงไป แต่หลายคนก็ยังพูดถึงความเป็นไปได้ที่จะมีมาตรการในการปฏิบัติการกดดันการชุมนุมขั้นสูงสุดอยู่ โดยเฉพาะเมื่อฝั่งของแกนนำนปช. ยังไม่มีท่าทีจะประกาศยุติการชุมนุม และ ฝั่งของรัฐบาลก็ไม่รับข้อเสนอที่จะเจรจาภายใต้การประสานงานของUN

ผมได้ลงไปพูดคุยกับ ผู้ชุมนุมกลุ่มหนึ่ง หลักๆสัมภาษณ์ผู้หญิงสูงอายุ เธอบอกว่ามาร่วมชุมนุมที่ราชประสงค์ทุกวัน นอนค้างอ้างแรมที่นี่ตลอดไม่เคยออกไปไหน ลองไปฟังการพูดคุยกันครับ หลายคนสงสัยมาตลอด ว่าอะไรทำให้พวกเค้ายังไม่ออกจากจุดชุมนุม และ ทำไมพวกเขาถึงพูดว่า "เราตายแทนแกนนำได้"
(ขออภัยถ้าน้ำเสียง และ คำพูดของผมในบางครั้งไม่สุภาพ หรือฟังดูห้วนเกินไป การสัมภาษณ์ลักษณะนี้บางครั้งต้องอาศัยบรรยากาศที่คุ้นชินครับ)



VDO #1



VDO #2



VDO #3


นอกกลุ่มแรกแล้ว ผมยังได้ไปคุยกับเด็กหนึ่งคน เด็กคนนี้อายุ13ปีครับ เล่าให้ฟังว่ามาจากบุรีรัมย์กับพ่อ-แม่ โดยตอนนี้พ่อแม่ไปรวมตัวชุมนุมอยู่ที่สวนลุม ตัวเองมาอยู่ที่ 'เขตอภัยทาน' วัดปทุมวนาราม เด็กคนนี้ย้ำกลับผมหลายรอบว่า "ผมไม่กลับ-ผมไม่กลัว"



ทั้งหมดนี้คือการพูดคุยแบบเป็นกันเอง ระหว่างผมและผู้ชุมนุมครับ ลองเปิดใจรับฟังความคิด-ความเห็นของพวกเค้าอีกครั้งหนึ่ง

Saturday, May 15, 2010

สถานการณ์ทหาร “ฆ่า” เสื้อแดง ….ทหารของใคร



ภาพบุรุษพยาบาลวัชชิระถูกยิง ทั้งๆ ที่เขาพยายามช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาทเจ็บ …..จุกจนบรรยายไม่ออก

ในเมื่อสื่อกระแสหลักมันหลับตากับความอยุติธรรมพวกเราก็ได้แต่อาศัยสื่อของพี่น้องเสื้อแดง บางคนเป็นมือสมัครเล่น แต่ก็พยายามเปิดโปงความชั่วร้ายของพวกทหาร………

รายงานสดภาคสนามด่านดินแดง จนถึงเวลานี้ 02.22 วันที่ 15 พ.ค.53 ยังมีการยิงกัน เสื้อแดงถูกยิงตายเจ็บจำนวนมาก ทหารไม่ให้เก็บศพและช่วยคนเจ็บ โดยมีรถคอนเทนเนอร์สีส้มจำนวน 4 คันไว้เก็บศพเอง มีการล็อคคลื่นโทรศัพท์ของเจ้าหน้าที่รถพยาบาลเพื่อจะได้ไม่สามารถรับแจ้งได้ ทำให้ไปรับคนเจ็บไม่ได้ ไม่ให้มีการถ่ายรูปทุกรูปแบบ ไม่เว้นแม้มือถือ ถ้าพบจะถูกยึดโดยทันที บางศพมีการแย่งไปจากโรงพยาบาล รถพยาบาลวิ่งเข้าไปรับคนเจ็บตายไม่ได้ จะถูกยิงทันที นี่คือความเลวทรามอำมหิต อธิบายได้ว่าทุกคนที่ถูกยิงจะต้องตาย เพราะไม่ให้รถวิ่งไปรับคนเจ็บ และส่วนใหญ่ผู้เสียชีวิตจะถูกยิงที่ศีรษะและกลางหน้าอก นอกจากนี้มีทหารแอบซุ่มในมุมมืดทั่วบริเวณ ประชาชนผู้บริสุทธิ์มีแต่มือเปล่า แต่ทหารมีอาวุธ ไล่ยิงอย่างมันมือ จึงทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

Today at 12:45

มติชน: เมื่อเวลา 09.35 น. ที่กรมทหาราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ว่าสถานการณ์การชุมนุมเมื่อวันที่ 14 พ.ค.แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 1.การชุมนุมที่แยกราชประสงค์ ซึ่งเมื่อเวลา 22.00 น. มีผู้ชุมนุม 6,000 คน ถือว่าลดลง

2.การชุมนุมรอบพื้นที่ราชประสงค์ มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก มีความพยายามของมวลชนบางส่วนติดอาวุธมาล้อมกรอบเจ้าหน้าที่ ในลักษณะเป็นขนมชั้น เพื่อกดดันไม่ให้เจ้าหน้าที่กระชับกำลัง ตั้งด่านสกัดกั้นมวลชนได้ โดยมีระบบบริหารสั่งการ มีเครือข่ายโยงใยพอสมควร แต่ความพยายามไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเจ้าหน้าที่เตรียมวางแผนรับมือไว้ ขณะที่มวลชนติดอาวุธของกลุ่มผู้ชุมนุมกระจายกำลังกันไปหลายส่วน ทำให้ไม่สามารถโอบล้อมเจ้าหน้าที่ได้ นอกจากนี้มีการระดมคนจากปริมณฑลรอบกทม.ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนต ให้มาร่วมมือกันกดดันเจ้าหน้าที่ โดยเผยแพร่ข่าวสารที่บิดเบือน

นายปณิธานกล่าวว่า ส่วนสถานการณ์การชุมนุมเมื่อคืนวันที่ 14 พ.ค. มีการยิงระเบิดเอ็ม 79 ประมาณ 16 นัด ใส่แนวกำลังของเจ้าหน้าที่ เช่น แยกราชปรารภ แยกประตูน้ำ สถานีรถไฟแอร์พอร์ตลิงค์ แยกบ่อนไก่ แยกสวนลุมไนท์บาร์ซ่า แยกศาลาแดง รวมทั้งมีความพยายามปิดการจราจร โดยใช้จักรยานยนต์และแท็กซี่มิเตอร์จำนวนมาก ส่วนยอดผู้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 พ.ค. มี 17 คน บาดเจ็บ 140 คน

กรุงเดือด!เสียงระเบิด-ปืนดังทุกทิศรอบราชประสงค์ ปชช.บาดเจ็บ ม็อบปิดสามเหลี่ยมดินแดนหวังทะลวงด่าน

พนง.ส่งโค้กเจอลูกหลงถูกยิงได้รับบาดเจ็บหามส่งรพ.ราชวิถี เผารถขยะกทม.ด่านสกัดเจ้าหน้าที่เผชิญหน้ากับผู้ชุมนุมเครียด จนท.ยิงสกัดรถตู้พยายามขับฝ่าด่านคนขับบาดเจ็บ

ม็อบปิดถนนบีบรถวิ่งเข้าราชปรารภหวังทะลวงด่าน


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 12.20 น. วันที่ 15 พ.ค. หลังจากกลุ่ม แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติหรือ นปช. ได้รวมตัวกันควบคุมการจรจรทำที่บริเวณแยกสามเหลี่ยมดินแดง พยายามที่จะขยายพื้นที่การชุมนุมเพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่ทหารเสริมกำลังเข้าไปที่ด่านสกัดผู้ชุมนุมที่บริเวณถนนราชปรารภ โดยการนำยางรถยนต์ตัวหนอนและกระถางต้นไม้มาขวางถนนทำให้รถที่เคลื่อนผ่าน 3 เหลี่ยนดินแดนถูกบังคับให้เลี้ยวเข้าถนนราชปรารภซึ่งมีด่านเจ้าหน้าที่ตั้งแนวกั้นสกัดไม่ให้เข้าไปภายในพื้นที่ชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์

เกิดเสียงระเบิดดัง2ลูกหน้าตึกอื้อจือเหลียง ประกอบเสียงปืนประปราย


เมื่อเวลา 11.40 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้เกิดเสียงระเบิดดัง 2 ลูก บริเวณ ถ.พระราม 4 บริเวณหน้าตึกอื้อจือเหลียง และเสียงปืนดังขึ้นประปราย ซึ่งบริเวณดังกล่าวมีการรวมตัวของกลุ่มคนเสื้อแดงจำนวนมากที่อยู่ตรงสวนลุมพินี โดยคาดว่าจะเกิดเหตุการณ์ขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ซุ่มยิงชาวบ้านที่บ่อนไก่ได้รับบาดเจ็บหลายราย

เวลา 09.30 น. สถานีโทรทัศน์ทีเอ็นทีรายงานสถานการณ์การครั้งด่านสกัดของเจ้าหน้าที่กับชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง ที่บริเวณชุมชนบ่อนไก่ ถนนพระราม 4 เกิดเหตุลอบยิงชาวบ้าน มีผู้ได้รับบาดเจ็บถูกยิงที่หน้าอกเป็นการยิงมาจากมุมสูงทำให้ได้รับบาดเจ็บ 3-4 ราย ถูกนำตัวส่งโรงพยายาบาลแล้ว

ทั้งนี้คาดว่าเป็นการยิงลงมาจากตึกร้างฝั่งตรงข้ามสนามมวยลุมพินี


พนง.ส่งโค้กเจอลูกหลงถูกยิงได้รับบาดเจ็บหามส่งรพ.ราชวิถี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 09.20 น. เกิดเหตุการยิงปะทะกันที่ถนนราชปารภประมาณ 10 นาที ก่อนจะสงบลง พบว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นพนักงานส่งโค้กขณะนี้ได้นำตัวส่งโรงพยาบาลราชวิถี นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่งที่ยังไม่สามารถนำตัวออกมาจากที่เกิดเหตุได้ซึ่งอยู่บริเวณบังเกอร์เจ้าหน้าที่ทหาร

เผารถขยะกทม.ด่านสกัดเจ้าหน้าที่เผชิญหน้ากับผู้ชุมนุมเครียด

เมื่อเวลา 09.00 น. ที่บริเวณสี่แยกวิทยุ มีเหตุเผารถขยะสีเขียวของกทม.กลุ่มควันพวยพุ่งขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ชาวบ้านที่อยู่ในระแวกนั้นออกมาช่วยกันดับไปซึ่งไฟเริ่มมอดเกือบหมดแล้ว รายงานข่าวแจ้งว่ารถขยะคันดังกล่าวเป็นรถที่กลุ่มผู้ชุมนุม นปช.ขับมาจอดขวางถนนหลังจากขับฝ่าด่านเจ้าหน้าที่เข้ามาและจอดทิ้งไว้ตั้งแต่ เวลา 03.00 น. แล้ว

ทางด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ตั้งด่านสกัดและกดดันกลุ่มผู้ชุมนุมตั้งแต่เช้าวันที่ 14 พ.ค.จนถึงขณะนี้ยังมีความตึงเครียดตลอดเวลาและมีเสียงปืนดังเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่อง

ทหารยิงสกัดรถส่งเสบียงเสื้อแดงโต้กลับเผาตู้โทรศัพท์-ยางรถยนต์

ผู้สื่อข่าวรายงาน สถานการณ์การครั้งด่านสกัดของเจ้าหน้าที่กับชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อเช้าวันที่ 15 พ.ค. ที่บริเวณชุมชนบ่อนไก่ ถนนพระราม 4 ยังมีการจุดไฟเผายางรถยนต์ ตลอดคืนที่ผ่านมาจนถึงเช้า มีการยิงระเบิดเอ็ม79 ใส่แนวตรึงกำลังของทหารบริเวณสนามมวยลุมพีนี ตรงข้ามกับซอยงามดูพลี มีทหารได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยบริเวณด้านหลังข้อมือ 1 นาย ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุม เผาตู้โทรศัพท์สาธารณะ 2 ตู้ พร้อมทั้งทำลายป้อมตำรวจ บริเวณสะพานไทย-เบลเยียม เพื่อเป็นการตอบโต้ทหารที่เข้ากดดัน และมีผู้ชุมนุมขับรถกระบะฝ่าด่านของทหารด้วยความเร็วสูง เพื่อไปส่งเสบียงที่เวทีแยกราชประสงค์ แต่ถูกทหารยิงยางรถสกัดไว้

จนท.ยิงสกัดรถตู้พยายามขับฝ่าด่านคนขับบาดเจ็บ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงเช้ามืดวันที่ 15 พ.ค. มีรถตู้สีขาว 1 คัน พยายามที่จะขับฝ่าแนวเจ้าหน้าที่ทหารบริเวณถนนราชปรารภ หลังจากได้มีการเตือนแล้วแต่ได้เร่งเครื่องยนต์อีก เจ้าหน้าที่จึงได้ใช้ปืนยิงเพื่อหยุดรถคันดังกล่าว ทำให้คนขับได้รับบาดเจ็บ

Friday, May 14, 2010

นักรบเสรีชนขอรายงานจากพื้นที่ คืนแรกของสงครามประชาชน




















พอดีกลับมาชาร์จแบตโทรศัพท์ที่บ้าน กับ เปลี่ยนเสื้อกำลังจะออกไปใหม่ถ้าอยากได้สดจริงๆให้เข้า facebook ห้อง red democracy อันนั้นรายงานได้ตลอด









ผมเริ่มต้นเวลา 18.00 น. จอดรถไว้แถวๆพระราม 3 ติดม้าเร็วกับน้องอีกคน สำรวจรอบพื้นที่ศาลาแดงปิดตาย อังรีปิดตาย เพชรบุรี ลงรถแล้วเดินไปได้ เพลินจิตปิดตาย วิทยุ รถเข้าได้









ประจำการด่านหลังสวน ไม่กี่นาทีเสธแดงโดนยิง ตามด้วย M79 ถล่มด่านศาลาแดงพื้นที่ราชประสงค์ทั้งหมดเราพรางไฟ ด้วยการช้อตสายไฟถนน และถุงดำครอบไฟรถทุกคัน เพื่อป้องกันซุ่มยิง





มีการยิง M79 เข้าสถานี 106.8 ในพื้นที่ จากภายในสวนลุมด้านหลังสวนโดนถล่มโดย ลูกซอง เป็นชุดๆ จากในพื้นที่สวนลุม แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บทหารตั้งบังเกอร์พร้อมอาวุธ หน้าสวนลุมไนท์บาซา บางส่วนเคลื่อนพลเข้า ไปในสวนลุมพินีถนนวิทยุยังไม่มีการปิด





ประมาณ 20.00 น. ม้าเร็วออกก่อกวน ทำให้ทหารสาดกระสุน ใส่มอเตอร์ไซด์ทุกคัน มีผู้ได้รับบาดเจ็บนับสิบเสียชีวิต 1 คน แยกลุมพินีไม่ปิด แต่อันตรายโดนยิงหนักมาก





ช่วง 20.00-24.00 ถนนวิทยุยังอันตรายมีการจนย้ายคนเจ็บเข้าด่านตลอด ร่วมฤดี มีกลุ่มมวลชนจัดตั้งดักทำร้าย มีคนโดนระเบิดปิงปอง





24.00 ผมกับน้องม้าเร็ว ได้รับมอบหมายให้ไปแจ้งข่าว มวลชนบริเวณแยกเพลินจิต จึงใช้ถุงดำพรางตัว ออกทางชิดลม เลีย้วเข้าหลังบิ้กซีราชดำริทะลุออกถนนเพชรบุรีตัดใหม่มีด่านทหาร แต่กำลังค่อนข้างน้อยย้อนกลับไปเอารถที่พระราม 3 แยกกับม้าเร็ว ให้ม้าเร็วกลับด่านหลังสวนตัวผมมุ่งหน้า แยกเพลินจิตบริเวณถนนข้างทางด่วน เส้น โรงงานยาสูบ พบมวลชนแท้กซี่รวมตัวกันประมาณ 50 คันเพลินจิตปิดตายโดยทหาร ไม่สามารถเข้าไปเสริมได้ ซักพักมีมอไซด์รับจ้างแจ้งว่า มวลชนรวมตัวที่ พระราม 4 ลุมพินีเพื่อชิงพื้นที่เลยพามวลชนแท้กซี่50 คันออกพระราม4





1.30 มวลชนปิดพระราม 4 ขาเข้าช่วงทางขึ้นทางด่วน จนถึงสะพานไทยเบลเยี่ยม โดยแท้กซี่ มีรถคอนเทอนนเอร์ 4 คันมาช่วยขวางถนนมวลชนประมาณ 500 คน สองฝั่งถนนพื้นที่ถนนวิทยุทั้งหมด ทหารได้ย้ายเข้าสวนลุม มวลชนบางส่วนเข้าคุมพื้นที่วิทยุ





2.30 แท้กซี่ประมาณ 300 คัน ปิดถนนสาทร ฝั่งขาออก ช่วง สะพานไทยเบลเยี่ยม ถึง แยกนราธิวาสสกัดจับรถน้ำทหารได้ สองคัน ไล่กำลังทหารโดยสารรถร่วมออกไปยืมลมยาง ตัดสายเบรค รถน้ำ





3.30 ยึดพื้นที่ แยกลุมพินี ถนนวิทยุ ถนนพระราม 4 ช่วงแยกลุมพินีถึงทางด่วน ถนนสาทร โดยสมบูรณ์แท้กซี่ สามล้อ ประมาณ 500 คัน มวลชน 3-4000 คนพื้นที่ถนนวิทยุสามารถเสริมกำลังเข้า แยกสารสินได้แล้ว





4.00 สกัด รถตู้ตำรวจ และรถผุ้ต้องหา อีกสองคัน มีกำลังพลตำรวจ ปราบจราจลประมาณ 50 นาย ยื้อประมาณพักนึง ให้รถ ย้อนกลับออกไปทั้งหมด





สรุปพื้นที่ปัจจุบัน
ถนนวิทยุ แยกลุมพินี ถึงสารสิน มวลชนประมาณ 3000 คน แท้กซี่ 500 คันยึดได้แล้ว สามารถเดินทางเข้าไปได้แล้ว








สาทร พระราม 4 ยึดได้ เว้นระยะห่างบังเกอร์ทหาร หน้าตึกอื้อจือเหลียง ประมาณ 300 เมตร
พระราม 4 ช่วง สะพานเหลือง แท้กซี่ประมาณ 100 คันยึดพื้นที่ไว้





ราชปรารถ แท้กซี่ ประมาณ 50 คัน ปิด ชนด่านประตูน้ำ
นานา แท้กซี่ ประมาณ 30 คัน แต่ล่าสุด มีการผลักดันและ ยิงกระสุนจริง บริเวณนี้ ทหารยึดคืนได้แล้ว
ดินแดง มอเตอร์ไซด์ประมาณ 1000 คันยึดสามเหลี่ยมดินแดงไว้





ดอนเมือง ได้รับแจ้งว่ามีการรวมมวลชนแต่ไม่ทราบจำนวน
ลาดหลุมแก้ว มวลชนจำนวนประมาณ 10000 คน





ขณะนี้ แดงปทุม รวมตัวกับ ลำลูกกากำลังเคลือ่นมาเสริมด้านสามเหลี่ยมดินแดง
แดงสุมทรปราการ เคลือ่นพลมาตามถนนสุขุมวิท อยู่บริเวณสวนชูวิทย์เพื่อกดดันทหาร
ขอกำลังเสริม ทุกจุดที่ใกล้ เรากำลังพยายามล้อมโอบทหารไว้ด้านใน
ต้องสู้กันอีกหลายวัน ขอพี่น้องช่วยกันด้วยครับ





ในราชประสงค์ มวลชนยังแน่น





การสลาย ถ้าดำเนินการเช้านี้ไม่ง่ายแน่
ขอตัวออกไปเสริมก่อนครับ
———————————-









UDDThailand Attachai Anantameak สภาพด่านตอนดึก ก็ไม่มีอะไรต่างจากที่รายงานไปเมื่อหัวคำ ด้านที่ดูว่ากำลังทหารเข้มแข็งก็คือด้านทางทิศ ใต้ ( สีลม สวนลุม อังรีดุนัง หน้าจุฬา ) ใต้ ตะวันตก ( ประตูน้ำ มาบุญครอง ) โล่ง อย่างที่วิเคราห์ ก็คือทหารมันไม่พอจะโอบล้อมเรา จึงโอบแค่ ด้านใต้ ส่วนที่เหลือใช้ตำรวจ ผสมทหาร ที่จะโอมล้อมไม่ให้คนเข้าไปเติม คงแค่ ฝันไป เพราะ ตำรวจเขาเกียร์ ว่าง









UDDThailand Attachai Anantameak สำรวจเส้นทางแล้ว ยังยืนยันนะครับ ว่าสามารถเข้าได้โดยลงทางด่วน ที่หัวลำโพงแล้วเลี้ยงเข้าซอย หลังหัวลำโพง มาอกแถวหลังจุฬา ต่อมาข้างมาบุญครองไม่มีด่านสักด่าน ผ่านฉลุย ฝากบอกพี่น้องต่างจังหวัดที่จะเข้ามาสบทบด้วยนะครับ









—————————————
02.31 : UDDThailand เพื่งกลับออกมาจากม๊อบ ! ถึงบ้านแล้วและปลอดภัยดี ขอบคุณที่เป็นห่วงกัน….ขอประนามฝ่ายรัฐบาลที่ทำความรุนแรงต่อพี่น้องของเราทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผู้บาดเจ้บและเสียชีวิต ล้วนแต่มีบาดแผลกระสุนบริเวณศีรษะทั้งสิ้น ! พวกคุณจะได้รับโทษทางกฏหมายอย่างสูงสุด









———————————
ขอบคุณเพื่อนๆ ที่รายงาน
ด่วน…. ปะทะหนักที่ ถนนสาธร(เมื่อ20 นาทีที่ผ่านมา) นักรบนิรนาม+ทหารแตงโมปฏิบัติการ “เอาคืน” ต้อนทหารราชินีผ้าสีฟ้า(ทหาร ตจว.ไม่รู้ทาง) เข้าซอยตันแล้วถล่มด้วย M79 + อาก้า มีบาดเจ็บ ตายหลายสิบ รถร่วมกตัญญูกำลังเข้าไปเก็บศพทหารเจ็บและตาย ตอนนี้(01:45)ยังยิงกันอยู่ แต่ไม่มากแล้ว
01.54 น. รถพ่วง 18 ล้อ ปิดถนนพระราม 4 ขาเข้า ขอปรบมือให้ครับ เยี่ยมเรครับ





01:56 แยกศาลาแดง ตึงเครียดผู้ชุมนุม-ทหาร ปะทะเป็นระยะ









—————————————
สหรัฐอเมริกาสั่งปิดสถานทูตในกรุงเทพฯแล้ว เพราะตั้งอยู่ใกล้สถานที่เกิดเหตุรุนแรง ขณะที่สถานทูตอังกฤษและเนเธอร์แลนด์ในกรุงเทพฯ สั่งระงับบริการวีซ่า ด้วยเหตุผลความไม่สะดวก และวิตกเรื่องเหตุความรุนแรง… สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานเมื่อ 13 พ.ค.ว่า ทางการสหรัฐอเมริกา สั่งปิดสถานทูตในกรุงเทพฯแล้ว เนื่องจากเป็นกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรงระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่มผู้ประท้วง









โดยนายฟิลิป โครว์ลีย์ โฆษกกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯ แถลงในกรุงวอชิงตันว่า พวกเรารู้สึกเป็นห่วงเป็นอย่างมาก และกำลังจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งการที่สหรัฐฯสั่งปิดสถานทูต เป็นเพราะว่าตั้งอยู่ใกล้สถานที่เกิดเหตุรุนแรง สำหรับคำแถลงของนายโครว์ลีย์ มีขึ้นหลังสถานทูตอังกฤษและเนเธอร์แลนด์ในกรุงเทพฯ สั่งระงับบริการเกี่ยวกับวีซ่าไว้ก่อน ด้วยเหตุผลความไม่สะดวก และวิตกเรื่องเหตุความรุนแรงในไทยเช่นกัน
————————————–
UDDThailand Puma Punku รักประชาชน Apitsara Sawayhad – ข่าวกรองแล้ว เมื่อเวลาประมาณเที่ยงคืนมีรถวีออสทะเบียน 333888 ติดโลโก้ช่อง 3 นำกาแฟมาแจกให้การ์ดที่บริเวรด่านสารสินผลปรากฎว่า การ์ดที่ดื่มกาแฟ เข้าไปมีอาการมึนเมา เวียรศรีษะ บางคนถึงกับน๊อกไปเลย ขณะนี้กำลังทยอยส่งโรงพยาบาล////ช่วยกันกระจายข่าวด้วยครับ อันตรายมากๆ








————————————-
01.32 WeAreUDD ศาลาแดงตึงเครียดเสียงปืน-ระเบิดดังระงม บางช่วงทหาร-นปช.ซัดกันนัวไปหมด





———————————-
ผู้สื่อข่าวรายงานวันที่ 13 พฤศจิกายนว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษเตรียมอายัดตัวพล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือเสธ.แดง ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบกหลังจากโดนยิงอาการสาหัส ช่วงหัวค่ำวันที่ 13 พฤศจิกายนและถูกนำตัวจากโรงพยาบาลหัวเฉียวมารักษาที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาลตามหมายจับในฐานะผู้ก่อการร้าย









———————————–
UDDThailand ภาคสนาม คุณ :btf แจ้งว่า แหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือกล่าวว่า มีการส่งทหารนอกเครื่องแบบ แทรกซึมเข้ามาในที่ชุมนุม ทางด่านสารสิน บริเวณหลังสวนลุมพินี โดยยังไม่ทราบวัตถุประสงค์แน่ชัด
————————————









01.07 : UDDThailand ภาคสนาม คุณ :btf แจ้งว่า เนื่องจากบริเวณศาลาแดง ยังคงมีการปะทะกันอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้จึงต้องย้ายมาอยู่ที่ เต็นท์พยาบาลไนติงเกล สถานีบีทีเอสราชดำริ เมื่อสองนาทีที่แล้ว มีพี่น้องเรา เป็นผู้หญิง 1 ท่าน ผู้ชาย 1 ท่าน ไม่ชัดเจนว่าเป็นการ์ดด้วยหรือไม่ เข้ามารักษาที่เต็นท์ มีอาการหมดสติจากกาแฟ ที่มีผู้ไม่หวังดีผสมยาสลบ แล้วนำมาให้ดื่มครับ









WeAreUDD แรมโบ้ประกาศหน้าเวที ทหารยิงใส่พี่น้องเสื้อแดงที่ด่านศาลาแดงไม่หยุด ยิงมาจากตึกสูง(RI02)
————————————









01.01 : ขณะนี้มีการยิงมาที่ด่านสีลมตลอดเวลา และเป็นการยิงปืนลงมาจากที่สูง เรามีคนเจ็บหลายคนต้องคอยลำเรียงส่งโรงพยาบาลอยู่เป็นระยะ และ มี M79 ลงที่ชุมนุม 7 ลูกแล้ว

ประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ 2 จากไอ้ทรราชอภิสิทธิ


ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดปทุมธานีจังหวัด นครปฐม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดชลบุรี จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงรายจังหวัด ลำปาง จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดน่าน จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดศรีษะเกษ



ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอบาง บ่อ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา และอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร และอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553 แล้วนั้น


โดยที่ปรากฏว่า ได้มีกลุ่มบุคคลดำเนินการที่ก่อให้เกิดความ วุ่นวายหรือเตรียมการจะก่อเหตุร้ายในพื้นที่ต่าง ๆ เพิ่มเติม จากพื้นที่ที่เคยมีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อมุ่งให้เกิดความเสียหายและความไม่ปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐยิ่งขึ้น


ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน และความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ อันเป็นการกระทำที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ และกระทบต่อการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนผู้บริสุทธิ์ จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มเติมให้ยุติโดยเร็ว



อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 38 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 45 และมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ 2 ดังต่อไปนี้



ข้อ 1. ให้พื้นที่เขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดชลบุรี จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดน่าน จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดศรีษะเกษ เป็นพื้นที่ในเขตประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ 2


ข้อ 2 ให้บรรดาข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อดำเนินการตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองจังหวัดสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา และอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร และอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2553 ประกาศและคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ประกาศและคำสั่งของหัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศ และคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มีผลบังคับใช้กับเขตพื้นที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ 2 ด้วย



ข้อ 3 ให้ผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) และพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในเขตพื้นที่ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553 มีอำนาจหน้าที่ในเขตพื้นที่ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ด้วย


ในกรณีที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) มอบหมายให้บุคคลใดปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2553 ให้บุคคลนั้นเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป



ประกาศ ณ วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
(นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
นายกรัฐมนตรี

Monday, May 10, 2010

ปรองดองอย่างนี้เอามั้ย?



Sun, 2010-05-09 07:48

ก่อนอื่น ฝากใครก็ได้ไปบอกม็อบเสื้อแดงให้เลิกเหอะ อยู่ไปก็มีแต่จะถูกโจมตีว่ายึกยักยึกยื้อ เสียการเมืองเปล่าๆ



ผมเข้าใจดีว่าแกนนำคงไม่พอใจที่มีการตั้งข้อหาผู้ก่อการร้าย แบบป้ายสีเหวี่ยงแห ขณะที่ไม่มีการสอบสวนความผิดหรือความบกพร่องอย่างร้ายแรงของผู้สั่งการ “ขอพื้นที่คืน” เมื่อวันที่ 10 เมษายน จนทำให้เกิดเหตุนองเลือด (ซึ่งก็คืออภิสิทธิ์นั่นแหละ ที่ต้องรับผิดชอบเป็นรายแรก)

แต่เมื่อม็อบเรียกร้อง “ยุบสภา” และแกนนำไปขานรับข้อเสนอ “ยุบสภา” เลือกตั้งใหม่วันที่ 14 พฤศจิกายนของอภิสิทธิ์แล้ว ก็เท่ากับเงื่อนไขการชุมนุมจบแล้วครับ คุณจะมาตั้งแง่เรื่องโรดแมพปรองดอง 5 ข้อ แล้วต้องเขียนโรดแมพของคุณทำไม

ก็เพราะเสื้อแดงไม่เห็นจำเป็นต้องไปยอมรับโรดแมพ 5 ข้อของอภิสิทธิ์ ไม่รับอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องถกเถียงเรื่องนี้ ส่วนที่สลายการชุมนุมแล้ว จะถูกดำเนินคดีก็ให้มันดำเนินไป จะได้เห็นกันชัดๆ ว่าสองมาตรฐาน ยึดทำเนียบยึดสนามบิน ไม่เป็นกบฎ ไม่เป็นผู้ก่อการร้าย แต่ยึดราชประสงค์ แถมยังถูก “ขอพื้นที่คืน” จนมวลชนบาดเจ็บล้มตาย 800 กว่าคนกลับกลายเป็น “ผู้ก่อการร้าย” บ้าไหม

เรื่องพวกนี้ต้องมาสู้กันหลังยุติการชุมนุมแล้ว รวมทั้งเรื่องความรับผิดกรณี 10 เมษา เพราะต้องเข้าใจว่าอารมณ์สังคมยังหมกมุ่นกับความกดดันเรื่องม็อบเฉพาะหน้า เมื่อสลายความกดดันไปแล้ว จึงจะสามารถกลับมารื้อฟื้นใหม่และเป็นฝ่ายไล่จี้เรียกร้องความรับผิดชอบอย่างชอบธรรม

ผมรู้ว่ามวลชนส่วนหนึ่งก็ไม่ยอม ทำใจไม่ได้ เพราะตั้งเป็าหมายไว้สูงกว่าการยุบสภาเยอะ แต่ก็ต้องชี้แจงกันให้เข้าใจ ว่านั่นมันต้องต่อสู้ระยะยาว

เสื้อแดงต้องมองด้วยว่าหลังจากอภิสิทธิ์เสนอโรดแมพ แล้วแกนนำเสื้อแดงขานรับ กระแสการเมืองมันพลิกนะครับ กลับไปเป็นฝ่ายพันธมิตรและเสื้อหลากสีที่เสียหายแทน เพราะแสดงความบ้าคลั่งเช่นยังเรียกร้องให้แม่ทัพภาคที่ 1 ประกาศกฎอัยการศึก ผู้คนเขาก่นด่ากันพึม แต่พอเสื้อแดงยึกยัก กระแสก็จะตลบกลับมาหงุดหงิดเสื้อแดง

เออ พันธมิตรกับประชาธิปัตย์เขาจะกัดกัน แล้วคุณยังไปดึงสถานการณ์ให้กลับมาเข้าเนื้อตัวเอง





โรดแมพ:ขี่กระแสรักสงบ

มีบางคนตั้งข้อสังเกตว่า หลังสถานการณ์ครั้งนี้คงต้องประเมินอภิสิทธิ์ใหม่ หรือไม่อย่างนั้นก็ผู้ที่อยู่เหนือกว่าและคอยเป็นกุนซือให้อภิสิทธิ์ (ไม่ใช่ผู้ใหญ่ แต่เป็นกำนัน-ฮา)

เพราะอภิสิทธิ์แสดงให้เห็นว่ามีความ “เหี้ยมหาญ” (ยืมศัพท์กำลังภายใน) อยู่ไม่น้อย อภิสิทธิ์พูดตั้งแต่ตั้งโต๊ะเจรจาว่า 9 เดือนยุบสภาต่อรองได้ เป็นที่รู้กันเหมือนประกาศขายรถบ้าน ผู้หญิงขับมือเดียว (อีกมือทาลิป) ต่อรองได้ รู้กันอยู่ว่าอภิสิทธิ์ต้องการให้ต่อรองเหลือ 6 เดือน แต่ถ้าพูดตอนนั้นก็ไม่มีความหมาย อภิสิทธิ์รอจนกระทั่ง “นวด” ม็อบเสื้อแดงให้ต้องยอม พร้อมทั้ง “นวด” สังคม (รวมทั้งคนในพรรค ปชป.เอง) ให้ต้องยอม โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์นองเลือด 10 เมษา อภิสิทธิ์รู้แล้วว่าปราบม็อบไม่ได้ จึงหันมาใช้การคุกคามแบบปฏิบัติการจิตวิทยา (ปล่อยข่าวทุกวันว่าจะสลายตอนตีสอง) ใช้การสร้างกระแสร่วมกับสื่อ “นวด” จนม็อบไม่มีทางไป ไม่สามารถพลิกกระแสได้ ไปต่อก็ไม่ได้ ลงก็ไม่ได้

ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้ภาพที่ดูเหมือนกับว่า อภิสิทธิ์ไม่กล้าตัดสินใจ ร้ายไหมล่ะ? หรือไม่ก็ผู้ที่เป็นกุนซือให้นั่นแหละเจ๋ง คร่ำหวอด เข้าใจเกมการเมืองและการเล่นกับอารมณ์สังคม

หันมาดูโรดแมพปรองดอง ผมไม่เชื่อว่าอภิสิทธิ์จะคิดคนเดียวโดยไม่ได้ไฟเขียวจาก “กำนัน” ซึ่งก็น่าจะคืออำมาตยาสายพิราบ ผู้วางหมากชาญฉลาดกว่าสายเหยี่ยว

ถ้าย้อนดูประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองของไทยให้ดี เราจะพบว่าสายเหยี่ยวจะออกมาใช้ความรุนแรงปราบปรามพลังประชาธิปไตยหรือพลังฝ่ายก้าวหน้าก่อน แล้วก็จะมีสายพิราบเข้ามาคลี่คลายสร้างความปรองดอง ลูบหลัง ทำให้อารมณ์โกรธแค้นการตอบโต้ความรุนแรงด้วยความรุนแรง ยุติลง (แล้วสังคมก็ไปไม่ถึงไหนสักที)

มันอาจไม่ใช่ความจงใจ หรือจงใจ แต่ก็เป็นวัฒนธรรมแบบไทยๆ ที่ครอบงำอยู่ทั้งสังคม

ครั้งนี้ก็เช่นกัน ผมดูโรดแมพแล้วกระสาว่า ฝ่ายอำมาตย์อย่างน้อยก็ส่วนหนึ่งที่ร่วมคิดกับอภิสิทธิ์ กำลังจะเปลี่ยนขั้นตอนทางยุทธศาสตร์ นั่นคือลดการใช้อำนาจ ลดแรงกดที่จะทำให้เกิดแรงต้าน แต่ยังกุมอำนาจไว้คุมเชิง ปล่อยให้การเมืองเดินไปในสภาพที่ดูเหมือนปกติ และคืนความเป็นธรรมให้บางส่วน เช่นอาจจะนำไปสู่การนิรโทษกรรม 111 คน 109 คน

ถามว่าทำไมต้องลดการใช้อำนาจ ก็ใช้ไปหมดแล้วนี่ครับ ทักษิณติดคุกแล้ว ทักษิณถูกยึดทรัพย์แล้ว มันไม่เหลืออะไรที่จะกระตุ้นความโกรธแค้นว่า “สองมาตรฐาน” ของมวลชนอีก ยุบพรรคก็หมดความหมายแล้ว ไม่ว่าจะเลิก ม.237 หรือไม่ก็ตาม ไม่มีใครโง่เป็นกรรมการบริหารพรรคไปลงเลือกตั้ง ส.ส.เขต

ฉะนั้นในทางกำลังอาวุธ ยุบสภาเดือนกันยายน รับประกันล้านเปอร์เซ็นต์ไว้ล่วงหน้าว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะได้เป็น ผบ.ทบ. อยู่ยงคงกระพันอีกหลายปี ทหารก็ลดแอคชั่นทางการเมืองลงได้ แต่ยังคุมเชิงอยู่ ยังมี พ.ร.บ.ความมั่นคงอยู่ ยังมี กอ.รมน.ที่มีอำนาจเสมือนรัฐบาลเงาครอบคลุมทุกพื้นที่ และมีงบประมาณไม่อั้น

ในทางตุลาการภิวัตน์ คดีสำคัญไม่เหลืออีกแล้ว หรือเหลือก็ไม่ได้มีสาระสำคัญทางการเมือง อาจมีแค่คดีเดียวคือยุบพรรค ปชป. แต่อย่าลืมว่าต่อให้ยุบพรรคก็ไม่จำเป็นต้องตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค เพราะไม่ใช่ ม.237 ฉะนั้นจึงมีทางเลือกสองทางคือ ไม่ยุบ แล้วทำให้เสื้อแดงโกรธแค้นลุกฮือขึ้นมาอีก หรือยุบ ยอมสละพระแม่ธรณีบีบมวยผม แต่อภิสิทธิ์ยังอยู่ ส.ส.ยังอยู่

ในภาพรวม ตุลาการภิวัตน์ก็สามารถลดบทบาทลง แต่ยังคุมเชิงอยู่ อย่าหวังว่าจะมีการรื้อระบบสรรหาองค์กรอิสระ ศาลรัฐธรรมนูญ ปปช. ชุดนี้ก็ยังจะเสวยอำนาจไปจนครบ 9 ปี โอเค อาจจะมีการแก้รัฐธรรมนูญบางส่วน แต่ไม่แตะอำนาจหลักๆ ที่เป็นเสาค้ำ (เรื่องการตรวจสอบศาลยิ่งไม่ต้องหวัง)

ปมเงื่อนสำคัญคือ ทำอย่างไรให้อภิสิทธิ์กลับมาเป็นนายกฯอีก ซึ่งไม่แน่เหมือนกันนา ใครที่เชื่อว่าเพื่อไทยชนะ อย่าเชื่อให้มากนัก ถ้าชนะแล้วไม่ถึงครึ่ง คุณจะตั้งรัฐบาลได้อย่างไร ปชป.ก็ยังร่วมกับพรรคเดิมๆ เป็นรัฐบาลได้ต่อไป

เพราะในการเลือกตั้งจะต่อสู้กันดุเดือดแน่นอน ทั้งการใช้ใบเหลืองใบแดง ใช้อำนาจรัฐ อำนาจมืด หรือว่าอำนาจเงิน (ใครว่ามีแต่พรรคเพื่อไทยใช้เงินทักษิณ กลุ่มทุนอีกฝ่ายรวมกันมีเงินมากกว่าทักษิณหลายเท่า เห็นมาแล้วตอนปี 50 บางเขตหัวคะแนนพลังประชาชนโดนบล็อกจนออกจากบ้านไม่ได้ ได้แต่นั่งทำตาปริบๆ ดูฝ่ายตรงข้ามยิงอุตลุด)

ถ้าอภิสิทธิ์กลับมาเป็นนายกฯ อีกครั้ง จบเห่เลยนะครับ เพราะเสื้อแดงจะไล่ให้ยุบสภาลาออกไม่ได้ อย่างเก่งก็เรียกร้องให้แก้รัฐธรรมนูญ แล้วถ้าอภิสิทธิ์เดินโรดแมพปรองดองต่อ แก้ไขบางอย่าง แต่ที่สำคัญไม่แก้ ไม่ทำอะไรสองมาตรฐานที่จะเป็นการยั่วยุให้มวลชนเสื้อแดงโกรธ (ก็ทำไปหมดแล้ว ไม่มีเหลือแล้ว) อภิสิทธิ์ก็จะขี่กระแส “ไทยนี้รักสงบ” คนส่วนใหญ่ พลังเงียบ นักธุรกิจ อยากให้บ้านเมืองเดินต่อไปได้ แม้จะซุกปัญหาไว้ใต้พรม แม้จะไม่เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ก็ช่างหัวมันเถอะ

มันจะไประเบิดอีกทีก็ตอนอภิสิทธิ์หมดก๊อก ปชป.ทำพังเองแบบทุกครั้งที่ผ่านมานั่นแหละ แต่ต้องรอนานพอดูเหมือนกัน

ผมนึกเปรียบเทียบหลัง 6 ตุลา “สูตร” ก็คล้ายๆ อย่างนี้ คือมีการเข่นฆ่านักศึกษาประชาชนอย่างเหี้ยมโหดแล้วรัฐบาลหอยขึ้นมามีอำนาจ ขวาจัดสุดโต่งประกาศจะอยู่ 12 ปี กวาดล้างพลังประชาธิปไตยลิดรอนสิทธิเสรีภาพ แต่ไปสักพักก็ถูกยังเติร์กรัฐประหาร ชูเกรียงศักดิ์ขึ้นมา แล้วก็เปลี่ยนเป็นเปรม มาสร้างความ “ปรองดอง” นิรโทษกรรม 66/23 ประชาธิปไตยครึ่งใบ แบ่งอำนาจให้กลุ่มธุรกิจและคนชั้นกลางได้มีสิทธิมีเสียงบ้าง

ถามว่าเกิดความยุติธรรมไหม 6 ตุลาถูกลบลืมไป ใครฆ่านักศึกษาประชาชนยังไม่รู้เลย ถามว่าประชาธิปไตยก้าวหน้าไหม จากปี 17 เต็มใบเหลือครึ่งใบ แต่ก็เหมือนจาก 100 ถูกยึดไปหมดในรัฐบาลหอย เขาให้คืนมา 50 ก็ยังดี

ผมยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า คนที่ต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมเนี่ยมักจะลงเอยด้วยการเป็นผู้ร้าย หรือไม่ก็มีชนักปักหลัง ไม่ได้เป็นพระเอก คนที่เป็นพระเอกมักจะเป็นคนที่ประนีประนอม ไกล่เกลี่ย เช่น 14 ตุลาตอนแรกขบวนการนักศึกษาเป็นพระเอก ต่อมาก็เป็นผู้ร้าย พฤษภา จำลองเป็นไง ถูกหาว่าพาคนไปตาย พระเอกกลับกลายเป็นอานันท์ นายกฯ ที่ไม่ใช่แค่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่รัฐประหารตั้งเลยละ ยังเป็นพระเอกได้

ในต่างประเทศไม่เหมือนกันนะครับ เช่นเกาหลี นักศึกษาประชาชนที่สู้เผด็จการปักจุงฮี ชุนดูฮวาน เขาเป็นพระเอกตลอดกาล ผมดูหนัง The Classic (ตกงานมีเวลาดูหนังเกาหลี ฮิฮิ) ยังมีฉากพ่อแม่นางเอกไปประท้วงโดนแก๊สน้ำตาทั้งที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่องเลยซักนิด

อันนี้ก็ฝากเตือนพวกพันธมิตรไว้ด้วยแล้วกัน คือผมไม่คิดว่าพันธมิตรเป็นพระเอก แต่ที่ผ่านมาคุณเป็นขวัญใจคนชั้นกลาง ระวังมันจะพลิก



เงื่อนไขที่แตกต่าง

ทำไมชนชั้นปกครองอำมาตยาต้องคิดปรองดอง ก็เพราะเขาเห็นแล้วว่าถ้าปล่อยให้เสื้อแดงเติบโตขยายตัว จะเขย่าอำนาจนอกระบบที่ชี้นำสังคมตลอดมา วิธีการที่ไม่ทำให้ขยายตัว ถ้าคิดแบบเหยี่ยวคือปราบ ถ้าคิดแบบพิราบคือลดแรงกดดันที่จะทำให้เกิดแรงต้าน เปรียบเหมือนคุณชนะศึกแล้ว 80% ในขณะที่ใครๆ คิดว่าคุณจะรุกต่อเพื่อให้ชนะ 100% คุณกลับลดลงมาเหลือชนะแค่ 70% ก็พอ คุณยังครองอำนาจได้ และปิดฉากชัยชนะได้อย่างนุ่มนวล ไม่ต้องเสี่ยงกับแรงฮึดต้านของฝ่ายตรงข้าม

สมมติเช่นถ้านิรโทษกรรม 111 คน 109 คน ปลดล็อกเงื่อนไขบางอย่างที่ไม่จำเป็นแล้ว ทำให้เสื้อแดงไม่มีเงื่อนไขจะเคลื่อนไหว ก็สามารถขี่กระแส “ไทยนี้รักสงบ” ครองอำนาจต่อไปได้ โดยสมการนี้จะตัดหรือลดบทบาทคน 3-4 กลุ่มออกไป คือทักษิณ กับแกนนำเสื้อแดงฮาร์ดคอร์ ซึ่งเชื่อว่าจะเจอคดีท่วมหัวจนไม่มีเวลาเอาตัวไปทำอะไรอื่น นอกจากนี้ยังอาจจะมีการ “จัดการ” กับแกนนำในพื้นที่ ซึ่งคงต้องระวังเพราะอาจมีทั้งวิธีมืดวิธีสว่าง

แล้วอย่าคิดชั้นเดียวนะครับ บางทีอาจมี 2 ชั้น เช่นตัดสินโทษกันแล้วรัฐบาลอาจเป็นฝ่ายยื่นขอพระราชทานอภัยโทษให้ด้วยซ้ำ เจอแบบนี้คุณยิ่งพูดไม่ออก เคลื่อนไหวอะไรไม่ได้ ต้องยุติบทบาทไปเลย

กลุ่มถัดมาก็คือนักประชาธิปไตย ฝ่ายสองไม่เอาทั้งหลาย ซึ่งคงไม่ต้องทำอะไรมากหรอก ก็เหลือพื้นที่แค่ให้บ่นกันอยู่ในเว็บประชาไท (ที่ ศอฉ.ไม่ยอมปรองดองด้วย) เพราะถ้าสามารถสร้างอารมณ์สังคมให้ปรองดอง สังคมไทยก็ไม่เคยคิดเรื่องประชาธิปไตยอยู่แล้ว

กลุ่มสุดท้ายคือ พันธมิตร บอกแล้วว่าอย่าคิดว่าจะเป็นพระเอกตลอดไป เพราะถ้าอภิสิทธิ์สร้างความปรองดองได้ พระเอกหล่อตัวจริงของคนชั้นกลางจะขโมยซีน แล้วทำให้พวกคุณหมดบทบาท ค่อยๆ แห้งตายอยู่ในพรรคการเมืองใหม่

พันธมิตรก็ไม่ต่างจากเสื้อแดง ถ้าปล่อยให้กระแสประชาชนเติบโตทั้งสองข้าง เป็นปฏิภาคต่อกัน ผลักกันและกัน เหมือนขั้วบวกขั้วลบสร้างประจุไฟฟ้า ก็เป็นอันตรายต่ออำนาจนอกระบบ ที่เขาอยากให้อยู่สงบๆ ดีกว่า

ฉะนั้นถ้าปรองดองกันได้ พันธมิตรก็หมดบทบาท พันธมิตรถึงออกมาเต้นแร้งเต้นกา “ไม่ปรองดอง” อยู่นี่ไง กลายเป็นว่าเสื้อแดงกับพันธมิตรมีจุดยืนเหมือนกันอย่างปลาส คือต่างฝ่ายต่างก็ “ไม่ปรองดอง”

งานนี้พันธมิตรจะลำบากกว่าเสื้อแดงด้วยนะครับ เพราะแม้แกนนำหรือมวลชนส่วนหนึ่งที่คิดฝันถึง “การเมืองใหม่ใสสะอาด” ยังอยู่ แต่มวลชนรวมทั้งผู้สนับสนุนเช่นสื่อ นักวิชาการ ส่วนหนึ่งก็จะแยกตัวออกไป “ปรองดอง” เราจะเริ่มเห็นการแยกขั้วที่ชัดเจนระหว่าง พธม.การเมืองใหม่ กับอีแอบ พธม. แต่ที่แท้ ปชป. (ดูตัวอย่างม็อบเสื้อหลากสี คนหายไปเกินครึ่ง)

ผมอาจจะวิเคราะห์ได้ไม่ถูกทั้งหมด แต่ผมเชื่อว่าทิศทางหลักของอภิสิทธิ์ ที่เป็นตัวแทนอำมาตยา ถึงอย่างไรก็ต้องไปในทางนี้คือ ขี่กระแสรักสงบของคนส่วนใหญ่ ยึดคำขวัญของพรรคภูมิใจห้อย “ปกป้องสถาบัน สงบ สันติ สามัคคี” มาโดดเดี่ยวทักษิณ โดดเดี่ยวเสื้อแดงที่คิดจะแก้ปัญหาโครงสร้างสังคม โดดเดี่ยวเสื้อเหลือง-ที่คิดจะแก้ปัญหาโครงสร้างสังคมเหมือนกัน (แต่แก้แบบ 70-30) รวมทั้งโดดเดี่ยวนักประชาธิปไตย

เพียงแต่ปัญหาก็คือ ความขัดแย้งครั้งนี้ไม่เหมือนสมัย 6 ตุลา 14 ตุลา พฤษภา หรือก่อนๆ หน้านั้น เพราะมันยืดเยื้อยาวนานกว่า และมีมวลชนเข้าร่วมขบวนที่ “ไม่ปรองดอง” ทั้งสองข้างจำนวนมาก-มากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ทุกครั้งรวมกันยังเทียบไม่ได้

มวลชนเหล่านี้จะยอมหรือไม่ หลังจากปลุกกันมา 193 วันว่าต้องการ “การเมืองใหม่” แต่ได้มาร์คกับยี้ห้อย “เพื่อความสงบ” หลังจากสู้สงกรานต์เลือดมา 2 ครั้ง บาดเจ็บล้มตายเป็นเบือเพื่อ “ประชาธิปไตยที่แท้จริง” แต่จะไม่ได้อะไรเลยนอกจากการปรองดองแบบซุกปัญหาไว้ใต้พรม

ก็ต้องวัดใจกันละครับ

ส่วนตัวผมทำใจไว้แล้วว่าการต่อสู้ทุกครั้งในโลกนี้ไม่เคยมีหรอกที่คุณจะได้ความยุติธรรมคืนมาเต็มร้อย ได้ประชาธิปไตยตามที่หวังไว้เต็มร้อย แต่อย่างน้อยเราก็ควรได้คุณภาพใหม่

ฉะนั้นต้อง “ไม่ปรองดอง” แต่ต้องยกระดับการต่อสู้สู่คุณภาพใหม่เช่นกันคือต่อสู้โดยไม่สุดขั้วและไม่รุนแรงเสียเลือดเนื้อ



ใบตองแห้ง

มาร์กซในฐานะนักหนังสือพิมพ์

<
มาถึงตอนที่สามแล้ว สำหรับชีวะประวัติของ มาร์กซ ก็ต้องขอบคุณเพื่อนๆ พี่ๆ กลุ่มเชียงใหม่เลี้ยวซ้ายที่ยังเป็นกำลังใจให้ โดยเฉพาะ
คุณ X-112 ที่ยังยืนอยู่บนอุดมการณ์เดียวกันอย่างเหนียวแน่น แม้ว่าจะมีอุปสรรค อยู่บ้าง แต่..มีวลีอมตะอันหนึ่งของ
อับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐ ที่กล่าวไว้ว่า "ข้าพเจ้าเป็นคนเดินช้า แต่ไม่เคยเดินถอยหลัง” น่าจะเป็นวลีอมตะ อันหนึ่งที่จะฝากไปยังพี่น้องที่กำลังต่อสู้และโหยหา เสรีภาพอย่างแท้จริง


DJ.1>
จากไรน์แลนด์สู่ปารีสสำหรับมาร์กซ
อาชีพนักหนังสือพิมพ์ได้กลายเป็นช่องทางในการดำรงชีพ เพราะทางบ้าน มารดาไม่เห็นด้วยอย่างมากกับแนวทางการดำเนินชีวิตของเขา และยุติการส่งเงินให้เขาตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๘๔๒ มาร์กซจึงทุ่มเทมากขึ้นให้กับการทำงานในกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไรน์ (Rheinische Zaitung) แต่ในอีกด้านหนึ่ง หนังสือพิมพ์ไรน์ได้กลายเป็นหนังสือพิมพ์เล่มสำคัญที่มาร์กซใช้เผยแพร่แนวคิดที่ก้าวหน้า โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการปฏิวัติประชาธิปไตย เพื่อลดการเพ่งเล็งจากทางการรัฐบาลท้องถิ่นไรน์แลนด์ มาร์กซยอมตกลงที่จะลดการวิพากษ์ศาสนาลง แล้วใช้หน้าหนังสือพิมพ์ในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเป็นหลัก ในเงื่อนไขที่ปรัสเซียและรัฐเยอรมันส่วนใหญ่ ยังอยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์ ไม่มีรัฐธรรมนูญ ไม่มีระบอบรัฐสภาแบบประชาธิปไตย และไม่มีการประกันสิทธิทางการเมืองของประชาชน

นอกจากนี้ เมื่อมาร์กซเข้ารับตำแหน่งบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ไรน์ถูกโจมตีจากหนังสือพิมพ์ออกสเบิร์กที่เป็นคู่แข่งว่า เป็นเอกสารคอมมิวนิสต์ ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะเร่งเร้าให้รัฐบาลปิดหนังสือพิมพ์นี้ สืบเนื่องจากการที่หนังสือพิมพ์ไรน์ลงข่าวการเคลื่อนไหวของกลุ่มสังคมนิยมของฟูริเอร์ ซึ่งเปิดประชุมที่เมืองสตาร์บูร์ก ในฝรั่งเศส ทั้งนี้เพราะแนวคิดสังคมนิยมของชาร์ล ฟูริเออร์ (Charles Fourier) กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยนั้น โดยเฉพาะแนวคิดในการสร้างชุมชนอุดมคติที่เรียกว่า ฟาลังสแตร์ (phalanstere) ซึ่งจะมีกรรมสิทธิทั้งหมดเป็นของส่วนรวม ที่สมาชิกเป็นเจ้าของโดยเท่าเทียมกัน ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า มาร์กซนิยมความคิดของฟูริเอร์หรือไม่ แต่เขาก็ได้ตอบโต้กับการกล่าวหาเรื่องคอมมิวนิสต์ โดยชี้แจงว่า บทความในหนังสือพิมพ์ไรน์ ยังไม่มีเรื่องใดเลยที่นำเสนอความคิดหรืออุดมการณ์แบบคอมมิวนิสต์ การ กล่าวหาโดยอ้างเพียงไม่กี่ประโยคนั้นไม่อาจจะยอมรับได้

การตอบโต้ของมาร์กซในขณะนั้น ได้ชี้ให้เห็นว่า มาร์กซยังไม่ได้มีอุดมการณ์แบบสังคมนิยมเต็มที่นัก แม้ว่าวารสารไรน์จะมีความสนใจและเห็นใจในความทุกข์ยากของคนยากคนจน แต่ก็นำเสนอให้เห็นว่า คนเหล่านี้ตกเป็นผู้ถูกกระทำของสังคม ยังไม่ได้เห็นว่าชนชั้นกรรมกรเป็นพลังในการเปลี่ยนแปลงสังคมแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ความสนใจปัญหาสังคม และศึกษาชีวิตของคนยากจน ชนชั้นล่าง เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญในชีวิตของมาร์กซในระยะที่ทำงานกับวารสารนี้ เพราะเป็นการดึงมาร์กซออกจากโลกที่ศึกษาแต่เพียงประเด็นทางปรัชญา มาสู่การที่จะต้องเข้าใจเศรษฐกิจและสังคมทึ่เป็นจริงมากขึ้น มาร์กซได้เริ่มทำความเข้าใจกับความเป็นไปของสังคม และเริ่มสนใจที่จะศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ในระหว่างนี้เอง

ทั้งนี้ การตื่นตัวด้านแนวคิดสังคมนิยมในปรัสเซียและรัฐเยอรมันอื่นๆ ในขณะนั้นยังมีน้อยมาก จากการที่รัฐต่างๆในดินแดนเยอรมนียังเป็นรัฐแบบศักดินา อุตสาหกรรมเพิ่งจะเริ่มต้นและพัฒนาน้อยมาก ชนชั้นกรรมกรมีน้อย และมีพื้นฐานมาจากช่างฝีมือในสมาคมอาชีพ ที่ยังจมกับความรุ่งเรืองในอดีตยิ่งกว่าจะสนใจการปฏิวัติเพื่อสร้างอนาคต แนวคิดสังคมนิยมในเยอรมันเผยแพร่เพียงในหมู่ปัญญาชนจำนวนน้อย แนวคิดสังคมนิยมจากฝรั่งเศส แผ่เข้ามาในทศวรรษที่ ๑๘๓๐ เช่น ลุดวิก กอล (Ludwig Gall) แห่งเมืองเทรียส์ เริ่มเผยแพร่ความคิดสังคมนิยมแบบแซงต์ซีมองต์และฟูริเอร์ หนังสือเริ่มแรกในเยอรมนีที่เสนอแนวคิดสังคมนิยมอย่างชัดเจนคือ ประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์แห่งมนุษยชาติ เขียนโดย โมเสส เฮส (Moses Hess) หนึ่งในสมาชิกกลุ่มโคโลญจน์ ซึ่งได้มีโอกาสเดินทางไปปารีส นอกจากนี้ ก็คือ วิลเฮล์ม เวทลิง (Wilhelm Weitling) ซึ่งเป็นชาวปรัสเซียที่อยู่นอกประเทศ ตั้งสมาคมคนงานเยอรมันขึ้นในกรุงปารีส และได้เขียนบทความเรื่อง มนุษยชาติที่เป็นอยู่และที่ควรจะเป็น

ซึ่งเสนอแนวคิดโจมตีคนร่ำรวยว่า เป็นตัวการก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคและความอยุติธรรม หนังสือเล่มที่ช่วยเผยแพร่แนวคิดสังคมนิยมน่าจะได้แก่เรื่อง สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ในฝรั่งเศสปัจจุบัน เขียนโดย ลอเรนซ ฟอนสเตน (Lorenz von Stein) พิมพ์เผยแพร่ใน ค.ศ.๑๘๔๒ ก่อให้เกิดความสนใจในแนวคิดสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์อย่างมาก ทั้งที่สเตนเป็นเจ้าหน้าที่รัฐบาลปรัสเซีย มีแนวคิดต่อต้านสังคมนิยม เห็นว่าสังคมนิยมฝรั่งเศสเป็นภัยต่อรัฐปรัสเซีย หนังสือของเขาต้องการเพียงแค่สำรวจแนวคิดสังคมนิยมฝรั่งเศส ที่ส่งผลสะเทือนในหมู่ชาวเยอรมันที่อยู่นอกประเทศ

ปรากฏว่ากลุ่มสโมสรโคโลญจน์เป็นกลุ่มหนึ่งที่รับเอาแนวคิดสังคมนิยมฝรั่งเศส และได้เริ่มศึกษาแนวคิดนี้อย่างจริงจัง มีการพบปะเพื่อแลกเปลี่ยนกันในแนวคิดสังคมนิยม มาร์กซเองก็เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนแนวคิดสังคมนิยมนี้ด้วยเช่นกัน จากการศึกษาและแลกเปลี่ยนกันในกลุ่มจึงทำให้มาร์กซได้กลายเป็นผู้นำสังคมนิยมฝรั่งเศสไปด้วย

นอกจากนี้ ใน ค.ศ.๑๘๔๒ ระหว่างที่มาร์กซเป็นบรรณาธิการ เขาได้พบกับเฟรเดอริก เองเกลส์ เป็นครั้งแรก ในระหว่างที่เองเกลส์กำลังจะเดินทางจากเบอร์ลินไปอังกฤษ ได้แวะมายังกองบรรณาธิการวารสารไรน์ และพบกับมาร์กซด้วยความสนใจเป็นอย่างยิ่ง นี่จะเป็นจุดเริ่มแห่งการทำงานร่วมกันของคนทั้งสองในระยะต่อมา

ปรากฏว่า หนังสือพิมพ์ไรน์เริ่มถูกคุกคามมากขึ้นจากเจ้าหน้าที่เซ็นเซอร์ เนื่องจากบทความของมาร์กซที่วิจารณ์การดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยเหตุผลของรัฐบาลปรัสเซีย นอกจากนี้ยังสืบเนื่องจากการที่รัฐบาลกษัตริย์แห่งปรัสเซีย ใช้นโยบายริดรอนสิทธิของหนังสือพิมพ์มากขึ้น หลังจากที่พระเจ้าเฟรเดอริกวิลเฮล์มที่ ๔ ขึ้นครองราชย์ใน ค.ศ. ๑๘๔๐ นอกจากนี้ พระเจ้าซาร์รุสเซียยังได้ประท้วงมายังรัฐบาลปรัสเซียว่า วารสารไรน์ลงบทความที่เป็นปฏิปักษ์กับระบอบซาร์ ดังนั้น มาร์กซจึงขอลาออกจากตำแหน่งบรรณาธิการในวันที่ ๑๗ มีนาคม ค.ศ. ๑๘๔๓ ด้วยความคาดหวังว่า วารสารจะยังคงดำเนินการต่อไปภายใต้บรรณาธิการคนใหม่ แต่รัฐบาลไรน์แลนด์ได้ตัดสินชะตากรรมของวารสารไว้แล้ว ในวันที่ ๓๑ มีนาคม ค.ศ.๑๘๔๓ วารสารก็ถูกคำสั่งปิดดำเนินการ

ผลของการใช้มาตรการปราบปราบและควบคุมทางความคิดของรัฐบาลปรัสเซีย นำมาสู่ความแตกแยกในกลุ่มเฮเกลฝ่ายซ้ายด้วย บรูโน บาวเออร์ และกลุ่มที่อยู่ในเบอร์ลิน ถูกบีบให้ลดบทบาททางการเมืองลง บาวเออร์หวังว่ามาตรการในการปราบปรามของรัฐบาล จะนำมาสู่การต่อต้านมากยิ่งขึ้นในหมู่ชนชั้นกลาง แต่เมื่อสถานการณ์ไม่ได้เป็นเช่นนั้น บาวเออร์และกลุ่มเบอร์ลิน ก็หันไปศึกษาและโต้แย้งในเชิงทฤษฎีมากขึ้น และสนใจปัญหาสังคมลดลง สำหรับกลุ่มของอาร์โนลด์ รูเก ต้องการที่จะต่อสู้ทางการเมืองต่อไปด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

เขาเห็นว่าจะต้องเดินทางออกไปเคลื่อนไหวนอกประเทศ จึงเดินทางไปซูริก ซึ่งเป็นแห่งอาศัยของชาวเยอรมันนอกประเทศจำนวนมาก มาร์กซก็เช่นเดียวกัน เขามีแนวคิดในเชิงปฏิวัติสังคมมากขึ้น เพราะเห็นว่าอนาคตของสังคมปรัสเซียจะเป็นไปได้ ก็จะต้องผ่านการปฏิวัติ ในจดหมายของมาร์กซที่เขียนถึงรูเก เขาอธิบายว่า สถานการณ์ในเยอรมนีนั้นสิ้นหวัง จะต้องมีการสร้างโลกขึ้นใหม่ สร้างชีวิตใหม่โดยการปฏิวัติ ด้วยการสร้างพันธมิตรระหว่าง “นักคิด” กับ “ประชาชนผู้ทนทุกข์”

ในเงื่อนไขที่มาร์กซก้าวไปสู่ความเป็นนักปฏิวัติมากขึ้น เขาเห็นว่าหนทางที่จะทำหนังสือพิมพ์อย่างเสรีในปรัสเซียและรัฐเยอรมนีอื่นๆ คงเป็นไปได้ยาก มาร์กซตัดสินใจที่จะดินทางไปต่างประเทศ เพื่อที่จะทำวารสารที่มีเนื้อหาปฏิวัติ และจะส่งข้ามแดนมายังปรัสเซีย ปรากฏว่าอาร์โนล รูเก ได้ร่วมคิดกับนักคิดคนสำคัญอีกคนหนึ่ง ชื่อ จูเลียส โฟรเบล (Julius Froebel) ที่จะออกวารสารในต่างประเทศ และได้ชักชวนมาร์กซให้ไปร่วมกองบรรณาธิการ มาร์กซจึงตกลงทันที ด้วยความมุ่งหวังที่จะให้วารสารนี้ เป็นวารสารที่นำความคิดปฏิวัติมาสู่รัฐเยอรมันทั้งหลาย ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๔๓ มาร์กซ, รูเก และ โฟรเบล ได้พบกันที่เมืองเดรสเดน ในรัฐแซกโซนี เพื่อตกลงในเรื่องการออกวารสาร โดยเลือกเมืองสตราบูร์ก ในรัฐอัลซาค ของฝรั่งเศสเป็นสถานที่ออกหนังสือ เพราะเมืองนี้อยู่ใกล้เขตไรน์แลนด์ของปรัสเซีย จึงเป็นการง่ายที่จะนำเอาวารสารมาเผยแพร่ในเขตรัฐเยอรมนี



หลังจากนั้น มาร์กซเดินทางกลับไปยังเมืองครูสแนส ซึ่งเป็นเมืองใกล้เมืองเทรียส์ และเป็นเมืองที่ครอบครัวของ เจนนี เวสฟาเลน ย้ายไปอยู่ที่นั่น เขาแต่งงานกับเจนนี ในวันที่ ๑๙ มิถุนายน ค.ศ. ๑๘๔๓ ที่โบสถ์โปรเตสแตนต์แห่งหนึ่งที่ครูซแนช จากนั้นก็ไปฮันนีมูนกันที่สวิสเซอร์แลนด์ และเดินทางผ่านแคว้นบาเดน ก่อนที่จะกลับมาที่ครูซแนช จากนั้น มาร์กซกับเจนนีก็อาศัยอยู่ที่นี่เป็นเวลา ๓ เดือน ในระหว่างนี้ มาร์กซได้ใช้เวลาทบทวนปรัชญาของเฮเกล และศึกษาปรัชญาวัตถุนิยมของลุดวิก ฟอยเออร์บาค (Ludwig Feuerbach) อย่างลึกซึ้งมากขึ้น

ฟอยเออร์บาค เป็นนักปรัชญาก่อนหน้ามาร์กซ เขาเป็นชาวบาวาเรียเกิดเมื่อ ค.ศ.๑๘๐๗ และตั้งใจจะศึกษาวิชาเทววิทยาในมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน แต่ปรากฏว่า ในระหว่างนั้นเขากลับได้รับอิทธิพลของเฮเกล จึงหันมาศึกษาวิชาปรัชญาแทน ผลงานที่สำคัญของฟอยเออร์บาคคือเรื่อง สาระสำคัญของคริสต์ศาสนา ซึ่งเป็นการใช้แนวคิดแบบวัตถุนิยมมาวิเคราะห์ศาสนาคริสต์ นอกจากนี้ก็คือเรื่อง ข้อเสนอเบื้องต้นว่าด้วยการปฏิรูปปรัชญา ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ในสวิสเซอร์แลนด์ ค.ศ. ๑๘๔๓ และรูเกส่งมาให้มาร์กซ ซึ่งสร้างความสนใจแก่มาร์กซอย่างมาก เพราะฟอยเออร์บาคนำแนวคิดวัตถุนิยมมาวิพากษ์ปรัชญาของเฮเกล

อย่างไรก็ตาม มาร์กซก็ไม่เห็นด้วยกับฟอยเออร์บาคที่ว่า แนวเสนอของฟอยเออร์บาคขาดการพิจารณามิติทางประวัติศาสตร์และการเมือง จึงเป็นการวิพากษ์เฮเกลแต่เฉพาะรากฐานทางปรัชญาเท่านั้น ดังนั้นมาร์กซจึงเขียนเรื่อง วิพากษ์ปรัชญาว่าด้วยสิทธิของเฮเกล โดยประเด็นหลักที่นำเสนอก็คือ รัฐปรัสเซียไม่มีทางที่จะเป็นรัฐที่สมเหตุสมผล หรือรัฐที่มีเสรีภาพสมบูรณ์ตามอุดมคติของเฮเกลได้เลย และการปกครองของปรัสเซียภายใต้ระบบกษัตริย์ ก็คือระบบการเมืองที่กดขี่และปราบปรามประชาชน

ในระหว่างที่มาร์กซอยู่ที่เมืองครูซแนช อาร์โนลด์ รูเก กำลังเตรียมการที่จะเปิดวารสารเผยแพร่อุดมการณ์ปฏิวัติ โดยการหาแหล่งเงินทุนสำหรับวารสาร และเตรียมสถานที่ ปรากฏว่าทางการ เมืองสตราบูร์ก ไม่อนุญาตให้เขาใช้เป็นที่ตั้งเปิดหนังสือ ในที่สุด รูเก ก็เลือกกรุงปารีสเป็นสถานที่ตั้งแทน ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. ๑๘๔๓ รูเก และโมเสส เฮส เดินทางยังปารีสเพื่อเตรียมการออกหนังสือซึ่งใช้ชื่อว่า Deutsch- Franzosische Jahrbucher โดยบุคคลที่รับช่วยเขียนในกองบรรณาธิการวารสาร จาบูเชอร์ นี้ นอกจาก รูเก, โฟรเบล, เฮส, และ มาร์กซแล้ว ก็คือ จอร์จ เฮอร์เวจ (Georg Herwegh) ซึ่งเป็นกวี และยังมี เฟรเดอริก เองเกลส์ (Friedrich Engels) มิคาอิล บากูนิน (Mikhail Bakunin) เข้าร่วมด้วย นอกจากนี้ รูเกและมาร์กซยังได้เชิญให้ฟอยเออร์บาคเข้าร่วมในกองบรรณาธิการด้วย แต่ได้รับการปฏิเสธ โดยให้เหตุผลว่า เขายังต้องการเวลาที่จะศึกษาทฤษฎีต่อไป มากกว่าที่จะเข้าร่วมการเคลื่อนไหว

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๘๔๓ มาร์กซและเจนนี ก็เดินทางไปปารีส เพื่อร่วมกองบรรณาธิการ และได้เข้าพักในบ้านเช่ารวม ที่ย่านแซงแยร์แมง ซึ่งมีครอบครัวของนักสังคมนิยมเยอรมันชื่อ เจอร์เมน มอเรอร์ (Germain Maurer) อาศัยอยู่แล้ว รูเกได้ชวนให้ครอบครัวของมาร์กซ และ จอร์จ เฮอร์เวจ อยู่ร่วมในอาคารเดียวกันในลักษณะชุมชนฟาลังสแตร์ตามแนวคิดของชาร์ล ฟูริเออร์ โดยมีกรรมสิทธิ์ทั้งหมดเป็นของส่วนรวม โครงการนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะภรรยาของเฮอร์เวจ ปฏิเสธที่จะเข้าร่วม สำหรับมาร์กซและเจนนี ก็อยู่ที่บ้านรวมแห่งนี้ เพียง ๒ สัปดาห์แล้วย้ายออกไปยังย่านถนนวาโน และอยู่ที่นั่นตลอดเวลาที่อยู่ในปารีส

มาร์กซได้นำบทความใหม่ที่เขาเขียนมาด้วยคือบทความเรื่อง ว่าด้วยปัญหายิว ทั้งนี้เพราะเรื่องของชาวยิวกำลังกลายเป็นปัญหาสำคัญในปรัสเซีย เพราะหลังจากสงครามนโปเลียน ชาวเยอรมันเกิดความรู้สึกชาตินิยมและเริ่มต่อต้านชาวยิว ด้วยความรู้สึกว่าชาวยิวเป็นกลุ่มชนอื่นที่มาอาศัยดินแดน ได้มีปัญญาชนชาตินิยมเยอรมันหลายคนที่เขียนบทความต่อต้านยิว และรัฐบาลปรัสเซียก็ได้มีมาตรการต่างๆ ริดรอนสิทธิของชาวยิวอย่างมาก บรูโน บาวเออร์ ก็เคยเขียนบทความแสดงการคัดค้านกระแสเหยียดชนชาติยิว และเรียกร้องให้ปลดปล่อยชาวยิวจากความอยุติธรรม แต่มาร์กซก็เห็นว่า ข้อวิเคราะห์ของบาวเออร์ยังเป็นนามธรรมมากเกินไป

เขาเสนอว่าปัญหาเรื่องชาวยิวก็เป็นปัญหาการกดขี่ระหว่างมนุษย์เหมือนปัญหาอื่นๆ ไม่เพียงแต่ชาวยิวเท่านั้นที่ต้องการการปลดปล่อย แต่ประชาชนคนยากจนทั้งมวลที่ตกอยู่ภายใต้การกดขี่ ไม่ว่าจะเป็นยิวหรือคริสเตียนก็ต้องการการปลดปล่อยเช่นกัน เพราะสิทธิของประชาชนนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ภายใต้ระบอบกษัตริย์ปรัสเซีย นอกจากนี้ ก็คือเสรีภาพทางศาสนา จะเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้คริสเตียนและยิวมีสิทธิเท่าเทียมกัน และอยู่ในสังคมร่วมกันได้ ดังนั้นการปลดปล่อยทางการเมืองและทางศาสนาจึงเป็นสิ่งที่ควบคู่กัน

ปารีสใน ค.ศ.๑๘๔๓ นั้น ยังอยู่ภายใต้ระบอบกษัตริย์ประชาธิปไตยของพระเจ้าหลุยฟิลิป แต่การบริหารอยู่ในมือของกิโซต์ ซึ่งเป็นพวกอนุรักษ์นิยม อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวทางการเมือง ในปารีสยังเป็นไปอย่างคึกคัก กลุ่มการเมืองทั้งฝ่ายเสรีนิยมและฝ่ายสังคมนิยมในฝรั่งเศส ต่างก็เผยแพร่อุดมการณ์ของตนในลักษณะเปิดเผยและกึ่งเปิดเผย นอกจากนี้ปารีสยังเป็นดินแดนของนักปฏิวัติลี้ภัยจำนวนมาก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากรุสเซีย ปรัสเซีย และจักรวรรดิออสเตรีย ดังนั้น ชีวิตของมาร์กซในปารีส จึงน่าตื่นตาตื่นใจ ปารีสทำให้เขาได้เพิ่มพูนความรู้ใหม่ และความจัดเจนทางการเมือง เขาได้ถือโอกาสออกไปเยือนเขตกรรมกรของกรุงปารีส และเข้าประชุมกับองค์กรกรรมกรฝรั่งเศส ทำให้ได้เห็นสภาพของชนชั้นกรรมกรชัดเจนขึ้น จากการที่ปารีสนั้นมีการพัฒนาอุตสาหกรรมและมีชนชั้นกรรมกรที่มากกว่าเขตไรน์แลนด์ นอกจากนี้ มาร์กซยังได้ทำความรู้จักกับนักคิดสังคมนิยมหลายคน เช่น เอเตียง การ์เบ้ (Etienne Cabet) หลุย บลอง (Louis Blanc) ปิแอร์ ปรูดอง (Pierre Proudhon) ได้เป็นเพื่อนกับไฮน์ริช ไฮน์ (Heinrich Heine) และได้รู้จักกับปัญญาชนรุสเซียที่หนีมาลี้ภัยในปารีส ที่สำคัญก็คือ มิคาอิล บากูนิน นอกจากนี้ มาร์กซก็ได้ทุ่มเทศึกษาประวัติศาสตร์การปฏิวัติฝรั่งเศส ศึกษาสังคมนิยมฝรั่งเศส และศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์อย่างจริงจัง

ประการต่อมา มาร์กซได้เข้าใกล้กับขบวนการปฏิวัติอย่างจริงจังมากขึ้น โดยการเข้าร่วมการประชุมของสันนิบาตเพื่อความเป็นธรรม (League of the Just) ซึ่งเป็นองค์กรปฏิวัติใต้ดินของกลุ่มเยอรมันลี้ภัย เป้าหมายของสันนิบาตก็เพื่อโค่นล้มระบอบกษัตริย์ และสถาปนาสาธารณรัฐสังคมนิยมในดินแดนเยอรมนี ผู้นำที่สำคัญของสันนิบาตคนหนึ่งก็คือ เจอร์แมน มอเรอร์ นั่นเอง

จบตอนสาม

Sunday, May 9, 2010

นิธิ เอียวศรีวงศ์:ยุบสภา-ทางเลือกที่ต้องเลือก

นิธิ เอียวศรีวงศ์
ที่มา: มติชนออนไลน์, 4 พ.ค. 53
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1272960835

กรอ.ประชุมกันแล้วหาเหตุผลที่จะไม่ควรยุบสภาออกมาได้ว่า เพราะยังไม่มีความขัดแย้งระหว่างสภาและฝ่ายบริหาร จึงไม่มีเหตุจะยุบสภาได้

แต่ใครบอกเล่าว่า เงื่อนไขให้ยุบสภามีได้เพียงอย่างเดียว ยุบเพื่อทำให้ฝ่ายบริหารมีเสียงเพิ่มขึ้นในการเลือกตั้งครั้งใหม่ เพราะอยู่ในช่วงที่ฝ่ายบริหารกำลังได้รับความนิยม เขาก็ทำกันเป็นปกติในทุกประเทศที่ปกครองด้วยระบบรัฐสภา ยุบเพราะจะเสนอกฎหมายใหม่ที่ต้องการเสียงสนับสนุนแข็งจริง ทั้งๆ ที่เสียงฝ่ายบริหารยังเกินครึ่งในสภาก็ทำกันอยู่เสมอ ยุบเพราะรัฐบาลถูกโจมตีมาก เพื่อให้ประชาชนตัดสินใจ ก็เป็นการแก้ปัญหาทางการเมืองซึ่งที่ไหนๆ เขาก็ทำกัน

เพราะการยุบสภาเป็นกลไกทางการเมืองที่สำคัญ เอาไว้แก้ปัญหาทางการเมืองเฉพาะหน้า ที่ไหนๆ รวมทั้งเมืองไทยจึงให้อำนาจเด็ดขาดไว้ที่นายกรัฐมนตรี เพราะถึงอย่างไรก็เป็นอำนาจที่จำกัด กล่าวคือยุบแล้วก็ต้องกลับไปหาประชาชนใหม่ จึงไม่มีใครเขาทำประชามติเพื่อยุบสภา หากชอบที่จะปกครองกันด้วยประชาธิปไตยทางตรงอย่างนั้น ทำประชามติกันด้วยเรื่องแผนพลังงานไม่ดีกว่าหรือ

อีกบางฝ่ายออกมาคัดค้านการยุบสภาว่า ถึงยุบไปก็แก้ปัญหาไม่ได้ แต่ไม่ชัดว่าปัญหาที่ว่านั้นคืออะไร แต่ดังที่กล่าวแล้วว่าการยุบสภาเป็นกลไกการเมืองสำหรับแก้ปัญหาการเมือง ไม่ได้แก้ปัญหาได้ทั่วไป การที่มีคนจำนวนมากออกมายึดถนน และยังมีผู้สนับสนุนไปทั่วประเทศจนกระทั่งกลไกรัฐทำงานไม่ได้ คือปัญหาการเมืองเฉพาะหน้าที่ต้องแก้ก่อนอื่น

อย่างไรก็ตาม หากนิยามปัญหาที่ว่าแก้ไม่ได้ว่าคือสิ่งที่การชุมนุมเรียกร้อง ได้แก่ความไม่เท่าเทียม, สองมาตรฐาน, และความไม่สมานฉันท์ ถ้าอย่างนั้น ยิ่งไม่ยุบสภาก็ยิ่งแก้ไม่ได้ เพราะเวลาปีกว่าภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์ ยิ่งตอกย้ำความไม่เท่าเทียม, สองมาตรฐาน และความแตกร้าวมากขึ้นไปอีก แม้ขณะนี้ก็กำลังคิดกันถึงการชดเชยช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผล กระทบจากการชุมนุม โดยไม่ได้แยกระหว่างผู้ประกอบการขนาดใหญ่และเล็ก มันจะเป็นตลกร้ายสักเพียงใด ที่วันหนึ่งเราจะต้องควักกระเป๋าไปอุดหนุนธนาคารกรุงเทพ, บริษัทซีพี และ ฯลฯ ในขณะที่ชาวนาและกรรมกรต้องแบกรับความเสี่ยงในความผันผวนทางเศรษฐกิจไปตามลำพัง

ส่วนปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำนั้น นายกฯพูดเองว่าเริ่มคลี่คลายลงแล้ว เพราะมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในเอเชียเริ่มฟื้นตัว ผลกระทบของความตกต่ำทางเศรษฐกิจโลกที่กระทบถึงไทยนั้น มาจากการที่เศรษฐกิจไทยผูกอยู่กับเศรษฐกิจโลกอย่างแน่นแฟ้น แต่หนึ่งปีกว่าที่ผ่านมา รัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่ได้ทำให้ความผูกพันนั้นเปลี่ยนแปลงไปในทางที่จะบรรเทาผล กระทบแต่อย่างไร เช่นสร้างฐานการผลิตบางส่วนของไทยให้เข้าถึงตลาดโลกส่วนที่ได้รับผลกระทบ น้อย หรือเพิ่มผลิตภาพเพื่อแข่งขันได้ดีขึ้น เป็นต้น ประเทศไทยเคยอ่อนแอทางเศรษฐกิจอย่างไร ก็ยังอ่อนแออยู่เหมือนเดิม

ยิ่งประหลาดมากขึ้นที่กลุ่มคนซึ่งอ้างว่าเป็นตัวแทน ของ "ภาคประชาชน" ยกปัญหาเรื้อรังขึ้นมาว่า ปัญหาเหล่านี้ควรถูกนำมาถกกันในการตัดสินใจว่าจะยุบสภาหรือไม่

ปัญหาเหล่านี้สรุปรวมแล้วก็คือการจัดสรรแบ่งปัน ทรัพยากรนั้นเอง และนี่เป็นปัญหาใหญ่ที่สุดของสังคมไทยจริง แต่จะแก้ปัญหานี้ได้ไม่ใช่หวังพึ่งรัฐบาลใดๆ ทั้งสิ้น (ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือรัฐประหาร) รัฐบาลอภิสิทธิ์เองเพิ่งปล่อยให้ กฟผ.ลงนามในสัญญากับบริษัทจีนและพม่า เพื่อสร้างเขื่อนฮัตจี ทำลายวิถีชีวิตของผู้คนอีกหลายพันในลุ่มน้ำสาละวินตอนกลาง (หากนับรวมถึงประชาชนในพม่าด้วยก็หลายหมื่น) แต่ถึงแม้เป็นรัฐบาลของพรรคเพื่อไทย ก็คงปล่อยให้ กฟผ.ลงนามเหมือนกัน

นี่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง เรามีการเมืองที่ชนชั้นนำครอบงำ ดังนั้นจึงจัดสรรแบ่งปันทรัพยากรโดยดึงเอามาบำเรอชนชั้นนำ และปล่อยปละละเลยประชาชนระดับล่างที่ได้เคยใช้ทรัพยากรนั้นมาอีกวิถีทาง หนึ่งไปตามยถากรรม

แต่เราจะแก้ปัญหานี้อย่างไรได้ นอกจากเปิดพื้นที่ให้ประชาชนระดับล่างได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ นักวิชาการและเอ็นจีโอที่เสนอเรื่องนี้ก็เคยเข้าไปร่วมเคลื่อนไหวกับประชาชน เช่นให้ข้อมูลที่ทำให้เห็นผลกระทบกว้างไกลกว่าความเดือดร้อนเฉพาะหน้าของ ประชาชนในท้องถิ่น ช่วยเปิดพื้นที่สื่อให้เสียงคัดค้านการแย่งชิงทรัพยากรเช่นนี้ดังไปถึงคน ชั้นกลางในเมือง และเคยแม้แต่ร่วมเดินขบวนหรือสนับสนุนการประท้วงของชาวบ้านมาแล้ว

ทั้งหมดนี้คือ "กระบวนการประชาธิปไตย" ซึ่งเป็นเครื่องมืออันเดียวที่จะทำให้การจัดสรรแบ่งปันทรัพยากรในประเทศของ เรามีความเป็นธรรมมากขึ้น และคงจะมีโอกาสพัฒนาต่อไปจนพ้นจากท้องถนนไปสู่พื้นที่อื่นๆ มากขึ้น (รวมถึงสภาผู้แทนราษฎรด้วย) ท่านเหล่านั้นฝันไปหรืออย่างไร จึงคิดว่าปัญหาเรื้อรังระดับโครงสร้างเช่นนี้ อาจแก้ได้ด้วยการเจรจาทุบโต๊ะเปรี้ยงเดียว แล้วทุกอย่างเข้าที่หมด

นอกจากนี้ มันแก้ปัญหาวิกฤตทางการเมืองเฉพาะหน้าได้อย่างไร

ควรเตือนไว้ด้วยว่า วิกฤตทางการเมืองที่เราเผชิญอยู่เวลานี้หนักหนาสาหัสมาก เพราะรัฐบาลไม่เหลือทางเลือกอะไรอีกแล้ว นอกจากสลายการชุมนุมด้วยวิธีรุนแรง ซึ่งจะทำให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายอย่างขนานใหญ่กว่าที่ประเทศไทยเคยเผชิญมา (แม้ใน 6 ตุลา และพฤษภาทมิฬ) ซ้ำถึงสลายได้ เรื่องก็ไม่ยุติ เพราะจะเกิดการต่อต้านรัฐในรูปแบบต่างๆ ไปทั่วประเทศ รวมทั้งการก่อวินาศกรรมด้วย

ชนชั้นนำอาจเลือกที่จะไม่เก็บอภิสิทธิ์เอาไว้ โดยยึดอำนาจด้วยกองทัพไปเสียเลย แต่นั่นยิ่งจะนองเลือดมากขึ้น และประเทศไทยจะโงหัวไม่ขึ้นไปอีกหลายปี

ทั้งหมดนี้ แลกกับการยุบสภาทันที อย่างไหนจะเป็นทางออกจากวิกฤตเฉพาะหน้าได้สงบสันติกว่ากัน

แม้กระนั้นก็ยังมีบางคนคัดค้านว่า ถึงยอมยุบสภา หลังการเลือกตั้ง หากได้รัฐบาลที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ชอบ ก็อาจออกมาประท้วงปิดถนนอีก จึงไม่ใช่ทางที่จะแก้ปัญหาได้จริง

ข้อคัดค้านนี้มีความเป็นไปได้ แต่ต้องเข้าใจการประท้วงให้ดี

หัวใจสำคัญของการประท้วงไม่ได้อยู่ที่ยึดถนนหรือไม่ แต่อยู่ที่ว่าได้รับการสนับสนุนจากผู้คนในสังคมกว้างขวางเพียงไร หากได้รับกว้างขวางหนักแน่น กฎหมายอะไรๆ ก็ไม่อาจเอาไว้อยู่ (เพราะความศักดิ์สิทธิ์ของกฎไม่ได้อยู่ที่กลไกรัฐเท่ากับความเห็นชอบของ ประชาชน) ไม่ว่า พ.ร.บ.ความมั่นคง, สถานการณ์ฉุกเฉิน หรือแม้แต่กฎอัยการศึก ฉะนั้น หากอีกฝ่ายหนึ่งมีข้อเรียกร้องที่สังคมโดยรวมเห็นด้วย รัฐบาลใหม่ก็ต้องทำตาม เช่น ขอให้ยุบสภา ก็ต้องยุบสภา แต่หากขอให้ขอพระราชทานนายกฯ สังคมโดยรวมอาจไม่เอาด้วย ถึงตอนนั้นรัฐย่อมสามารถใช้กลไกของรัฐรักษากฎหมายได้

ข้อนี้น่าจะเป็นเครื่องเตือนสติให้ผู้จัดตั้งรัฐบาล ต้องคำนึงถึงการยอมรับของสังคมมากขึ้น ไม่ใช่นำเอาคนอันเป็นที่รังเกียจของคนชั้นกลางในกรุงเทพฯ มาเป็นนายกฯ หรือคิดว่าตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร จึงยอมเอายี้มาเต็ม ครม. เพราะจากนี้ไป การกระทำเช่นนั้นจะเป็นผลให้รัฐบาลนั้นไม่สามารถบริหารงานได้เลย

ในระบบการเมืองที่การประท้วงไม่มีพื้นที่อื่นซึ่ง ได้ผลมากไปกว่าท้องถนน จะให้สังคมเข้ามากำกับรัฐได้อย่างไร สิ่งที่น่าคิดก็คือเราจะสร้างพื้นที่ให้สังคมมีพลังในการควบคุมรัฐนอกท้อง ถนนได้อย่างไรต่างหาก แต่การที่สังคมสามารถกำกับควบคุมรัฐได้มากขึ้นนั้น เป็นความก้าวหน้าของสังคมไทยไม่ใช่หรือ

บางคนอาจตั้งคำถามเชิงค้านว่า ถ้าอย่างนั้น เรามิต้องปกครองกันด้วย "ม็อบ" หรอกหรือ ใช่เลยที่เราต้องตกอยู่ในภาวะอย่างนั้น จนกว่าเราจะสามารถสร้างพื้นที่นอกถนนให้แก่สังคมได้ดังกล่าวข้างต้น พูดอย่างที่ผมเคยได้พูดมาหลายครั้งแล้วว่า เราต้องปรับระบบการเมืองของเราให้รองรับความเปลี่ยนแปลงของสังคมให้ได้ นั่นคือมีคนจำนวนมากที่จำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการเมืองระดับชาติ ถ้าเราไม่มีพื้นที่ให้เขาในระบบ เขาก็ต้องใช้พื้นที่นอกระบบ ฉะนั้น หากไม่ปรับระบบการเมืองให้ทัน ก็บอกได้เลยว่า เราจะเผชิญกับความวุ่นวายทางการเมืองจนกลายเป็นจลาจลเช่นนี้ต่อไปอีกนาน

ทำไมการยุบสภาซึ่งเป็นการกระทำง่ายๆ และเป็นกลไกปกติทางการเมืองเช่นนี้ จึงทำได้ยากเย็นหนักหนาแก่นายกฯ อภิสิทธิ์

โดยสรุปแล้ว อภิสิทธิ์เป็นทางออกเพียงอันเดียวของเครือข่ายอำนาจที่สลับซับซ้อนของสังคม ไทย หากไม่นับการรัฐประหารอย่างออกหน้า อันนับวันก็เป็นเครื่องมือที่ไม่คุ้มทุนมากขึ้น เพราะก่อให้เกิดการสึกหรอของสถาบันแห่งอำนาจมากเกินไป (เช่น กองทัพ, ตุลาการ ฯลฯ) แต่หนึ่งปีกว่าผ่านไป ก็ยังไม่มีทางเลือกอื่นให้ออกมากไปกว่าอภิสิทธิ์ ฉะนั้น การยุบสภาจึงหมายถึงการทิ้งไพ่จนเกือบหมดหน้าตัก เหลือไพ่ที่ใช้การไม่ดีอีกสองใบเท่านั้นคือ

1) สลายการชุมนุมอย่างเด็ดขาดรุนแรง แต่ก็รู้อยู่แล้วว่า จะทำให้ปัญหายิ่งขยายตัวและจัดการยากขึ้น

2) รัฐประหาร พร้อมทั้งให้อำนาจที่ไม่มีการตรวจสอบไว้ในมือของฝ่ายชนชั้นนำเต็มที่ ระบบอำนาจนิยมนี้จะสามารถสยบการต่อต้านอย่างรุนแรงได้ ก็โดยวิธีเดียวคือ เป็นผู้นำการปฏิรูปประเทศในทุกด้าน ซึ่งจะมีผลลิดรอนผลประโยชน์และอำนาจของกลุ่มชนชั้นนำเอง แม้อาจมีนักอุดมคติในฝ่ายชนชั้นนำที่คิดจะทำเช่นนี้ ก็ยังมีปัญหาว่าจะรักษาเอกภาพของชนชั้นนำไว้ได้อย่างไร มิฉะนั้นแล้ว นักอุดมคตินั้นก็จะถูกชนชั้นนำอีกกลุ่มหนึ่ง หรือหลายกลุ่มร่วมมือกันโค่นล้มลงจนได้

ยุบสภาจึงเป็นทางออกเดียวที่เป็นไปได้มากที่สุด ทั้งแก่ชนชั้นนำเองและแก่สังคมไทยโดยรวม

Friday, May 7, 2010

<<< ถ้าต้องการจะนั่งรถไฟไปเชียงใหม่ ก็ควรขึ้นสายที่ไปถึงเชียงใหม่จะดีกว่า >>>


ถ้าต้องการนั่งรถไฟไปเชียงใหม่แต่กลับไปนั่งรถไฟสายที่ไปถึงแค่อยุธยาต่อให้ท่านทุ่มเงินทุ่มทองทุ่มเทยังไงหรือจะซื้อตั๋วไปสักกี่ใบก็ไปได้แค่อยุธยา


เพราะป้ายสุดท้ายของสายนั้นคืออยุธยาถ้าท่านต้องการจะไปเชียงใหม่ทำไมไม่นั่งสายที่ไปเชียงใหม่เลยทีเดียวต่อให้ท่านเบื่ออยากลงที่อยุธยาก็มีโอกาสได้ลงและถึงไวกว่าด้วยเพราะว่าสายไกลๆ จะวิ่งได้เร็วกว่าสายใกล้ๆและจะได้ไม่ต้องเสียเวลา


ไปรอเปลี่ยนขึ้นสายไปเชียงใหม่อีกครั้ง ที่สถานีอยุธยาซึ่งต้องเปลี่ยนที่นั่งใหม่ ต้องนั่งรอซื้อตั่วใหม่ถึงตอนนั้นอาจ วุ่นวาย และ สับสน


ดังนั้นถ้ารถไฟทั้งสองสายนี้มีจุดประสงค์ว่าจะขนคนไปอยุธยาเหมือนๆ กันแต่อีกสายจะเลยไปถึงเชียงใหม่ซึ่งไปถึงหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งก็ไม่ควรขัดแย้งกัน


ไม่ควรจะกลัวใครมาแย่งผู้โดยสารยกเว้นมีเรื่องผลประโยชน์มาเกี่ยวข้อง เช่น อาจขาดรายได้ถ้าไปสายนั้นมากเกินไปหรืออาจทำให้คนไม่มาขึ้นสายนี้เลยอาจต้องยุบไปอะไรพวกนี้


ถึงต้องกีดกัน ไม่ให้ผู้โดยสาร ได้มีโอกาสได้เลือกหรือกีดกันไม่ให้ผู้โดยสารได้มีโอกาสได้รับคำชี้แจงแนะนำจากอีกสายหนึ่ง


ถ้าเป็นรถไฟที่มีเจ้าของคนเดียวกันเช่น รฟท.ก็ไม่จำเป็นต้องรู้สึกว่าต้องกีดกันสายใดสายหนึ่งและอาจแนะให้ได้ว่าสายนี้คนเริ่มแน่นใครจะไปสายเชียงใหม่โปรดไปอีกสายหนึ่งจะถึงไวกว่าและไม่ต้องไปต่อรถอีกถ้าเป็นลักษณะนี้แล้วจะพูดได้ว่าเป็นพวกเดียวกันหรือเป็นคนในบริษัทเดียวกันได้


แต่ถ้ากีดกันกันท่ากันทุกอย่างเดาได้ว่าคงเป็นคนละบริษัท เพราะมองลักษณะว่าเป็นคู่แข่งไม่ใช่ลักษณะมองว่าเป็นพวกเดียวกัน


ยังไม่รวมถึงว่าถ้าเป็นฝ่ายไม่ถูกกันเข้ามาเทคโอเว่อร์หรือส่งคนเข้ามาเพื่อกันท่ากีดกันไม่ให้ขบวนสายไปเชียงใหม่ได้ไปถึง


โดยตั้งสายอยุธยามาดักทางแล้วอาจขับขวางทางไปแบบช้าๆถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่างไปเรื่อยๆเพื่อให้รถไฟสายเชียงใหม่ไม่สามารถแซงไปได้


แถมยังไม่ยอมหลีกทางให้เมื่อถึงสถานีที่สามารถสับราง


ได้ถ้าปล่อยไปแบบนี้รถไฟสายเชียงใหม่ มีโอกาสที่จะไปไม่ถึงเชียงใหม่อาจต้องล้มเลิกไปก่อน


เมื่อสายเชียงใหม่ล้มเลิกไปแล้วก็เข้าทางฝ่ายตรงข้ามทันที เพราะสายอยุธยาถึงไม่ล้มเลิกไปแบบเงียบๆหลังสายไปเชียงใหม่ล้มไปแล้ว ก็ไปได้แค่อยุธยา แล้วก็ปล่อยผู้โดยสารที่อยากไปต่อเคว้งคว้างอยู่แถวนั้น


"ถ้าต้องการจะนั่งรถไฟไปเชียงใหม่ ก็ควรขึ้นสายที่ไปถึงเชียงใหม่จะดีกว่า"
DJ.1

วัยหนุ่มของคาร์ล มาร์กซ


น่าแปลกใจว่า แนวคิดลัทธิ มาร์กซ ซึ่งเป็นที่สนใจศึกษาและ เผยแพร่ในสังคมไทยมาเป็นเวลา นาน แต่ผลงาน “การศึกษา คาร์ล มาร์กซ” ผู้เป็นนักคิดคนสำคัญที่ก่อ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโลกท่านนี้ ยังมีการศึกษาน้อยมาก ผมเลยลองรวบรวมชีวะประวัติของ “คาร์ล มาร์กซ” มาให้สมาชิกใน กลุ่มเชียงใหม่เลี้ยวซ้าย ได้อ่านเก็บไว้เป็นข้อมูล และเป็นแนวทางในการต่อสู้ จะทะยอยลงใหทุกวัน วันนี้เป็นตอนสองครับ


DJ. 1


๔. ลัทธิเฮเกล


จากที่กล่าวมาแล้วว่า ชีวิตของมาร์กซในวัยหนุ่มเริ่มเปลี่ยนแปลง อย่างจริงจัง หลังจากที่เขารับความคิดของฟรีดริช เฮเกล (Friedrich Hegel) ดังนั้นจึงต้องเริ่มศึกษาเฮเกลเสียก่อน



เฮเกล เกิดที่เมืองสตูตการ์ตใน ค.ศ.๑๗๗๐ เข้าเรียนใน มหาวิทยาลัยทูบิงเก็น โดยศึกษาด้านศาสนวิทยา แต่เขากลับมาสนใจวิชา ปรัชญาและคลาสสิกศึกษา1 และสนใจอย่างมากในปรัชญาของ อินมานูเอล คานต์ (Imanuel Kant) ซึ่งเป็นนักปรัชญาจิตนิยมคนสำคัญ ก่อนหน้าสมัยของเขา ใน ค.ศ.๑๘๐๑ เขาได้รับตำแหน่งอาจารย์พิเศษ ที่มหาวิทยาลัยเจนา และได้ร่วมกับโจเซฟ ฟอน เชลลิง (Joseph von Schelling) ออกวารสารทางปรัชญาชื่อ ครีติช (Kritisches) แต่อยู่ได้เพียง ๓ ปีก็เลิก เพราะเฮเกลและเชลลิงเกิดแตกแยกกัน เฮเกลอยู่ที่เจนามา จนถึง ค.ศ.๑๘๐๖ ชีวิตก็เปลี่ยน เพราะในระหว่างนั้นอยู่ในระยะสงคราม นโปเลียน ปรากฏว่ากองทัพฝรั่งเศสบุกเมืองเยนาและปิดมหาวิทยาลัย เขาจึงต้องย้ายไปอยู่เมืองเบิร์นบูร์ก รับตำแหน่งบรรณาธิการหนังสือ และเป็นผู้ดูแลโรงกายบริหาร จนถึง ค.ศ.๑๘๑๖ เมื่อสงครามสงบแล้ว เขาก็กลับไปเป็นอาจารย์ด้านปรัชญาอยู่เมืองไฮเดลเบิร์ก จากนั้น ใน ค.ศ.๑๘๑๘ เขาก็ย้ายไปเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน และอยู่จน ถึงแก่กรรมเมื่อ ค.ศ.๑๘๓๑ ดังนั้นเมื่อ คาร์ล มาร์กซ เข้าศึกษาที่ มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ค.ศ.๑๘๓๘ เฮเกลได้ถึงแก่กรรมไปแล้วแต่อิทธิพล ทางความคิดปรัชญาของเขายังคงอยู่



ปรัชญาของเฮเกลก็คือ ลัทธิจิตนิยม เขาเชื่อว่า สิ่งที่เป็นความจริง จะต้องมีลักษณะสมบูรณ์ทั่วด้าน เฮเกลเรียกว่าเป็น จิตสัมบูรณ์ ซึ่ง เป็นตัวตนสมบูรณ์และครอบงำสรรพสิ่ง และเป็นสิ่งตรงข้ามกับโลกความ เป็นจริงที่มนุษย์เห็นอยู่โดยทั่วไปหรือสัมผัสได้


เฮเกลเห็นว่า โลกเชิง ประจักษ์นั้นเป็นเพียงการสะท้อนออกบางส่วนของความจริง แต่ไม่ใช่ ความจริงที่สมบูรณ์ และเขาอธิบายความจริงสูงสุดของโลกคือ หลักเหตุผล (rational) มนุษย์จะเข้าถึงความจริงได้ก็ด้วยความเข้าใจ ในหลักเหตุผล ซึ่งก็คือกระบวนการทางตรรกวิทยา แต่จุดเด่นในปรัชญา ของเฮเกลคือ ทัศนะแบบวิภาษวิธี (dialectic)


โดยอธิบายว่า จิตหรือ ตัวตนสมบูรณ์นี้แสดงออกในรูปของความขัดแย้ง ๒ ด้าน คือด้าน สนับสนุนและด้านปฏิเสธ ด้านหนึ่งเป็นบทเสนอ (thesis) ส่วนอีกด้านหนึ่ง เป็นบทแย้ง (antithesis) และวิวัฒนาการการต่อสู้ระหว่าง ๒ ด้านที่ขัดแย้ง นี้เองจะนำมาสู่การพัฒนาของสิ่งใหม่ ที่จะเรียกว่า บทสรุป(synthesis) และบทสรุปนี้ก็จะกลายเป็นบทเสนอ (thesis) ใหม่ ก่อให้เกิดบทแย้ง (antithesis) ใหม่ และนำมาสู่บทสรุป (synthesis) ใหม่ ไปจนสิ้นสุดกระบวน การพัฒนาที่จะนำไปสู่ความเป็นจิตสมบูรณ์อันแท้จริง



เฮเกลได้นำเอาหลักปรัชญาของตนมาอธิบายประวัติศาสตร์จาก ปาฐกถาสำคัญคือ “ปรัชญาของประวัติศาสตร์” (๑๘๒๒) เฮเกล อธิบายว่า ประวัติศาสตร์ของมนุษย์จะพัฒนาคล้ายกับขดลวดวงกลม คือ มีลักษณะ คล้ายจะซ้ำรอย แต่จะก้าวไปข้างหน้า โดยสิ่งที่จะผลักดันประวัติศาสตร์ ให้ก้าวหน้านั้น คือเหตุผลของมนุษย์


ประวัติศาสตร์แบบเฮเกลจึงเป็น ประวัติศาสตร์ความคิด เพราะเฮเกลมีข้อสมมตว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่มี เหตุผล (rational) เพียงแต่ในสภาพแวดล้อมทางสังคม มนุษย์จะดำรงอยู่ ท่ามกลางความไม่มีเหตุผล และความขัดแย้งนี้เอง จะทำให้ประวัติศาสตร์ พัฒนาในแบบวิภาษวิธี คือ สังคมมนุษย์จะพัฒนาเมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักคิด เป็นเหตุให้มนุษย์รวมตัวกันอยู่เป็นสังคม


ตามนัยเช่นนี้ ก็คือ การที่มนุษย์ สร้างสังคมตามมโนคติและความปรารถนา และแปรเป็นความเป็นจริง ทางสังคม ดังนั้น สังคมในมโนคติจึงเป็นบทเสนอ สังคมในความเป็นจริง จึงเป็นบทแย้ง แล้วก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ความแปลกแยก (alienation) นำมาสู่การปรับมโนคติและสะท้อนออกสู่การปฏิบัติทางสังคมใหม่กลาย เป็นบทสรุป (synthesis) ซึ่งก็จะเป็นจุดตั้งต้นของบทเสนอใหม่ กระบวนการทางสังคมจะพัฒนาเช่นนี้ จนนำมาสู่การสร้างรัฐ



ตามหลักของเฮเกล รัฐจึงเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนา ประวัติศาสตร์ แต่รัฐก็ยังมีความไม่สมบูรณ์ จึงกลายเป็นจุดตั้งต้นของ ข้อเสนอใหม่เช่นกัน จากนั้นรัฐก็จะพัฒนาตามกระบวนการวิภาษวิธี จน นำไปสู่รัฐที่สมบูรณ์ตามจินตภาพสากลมากยิ่งขึ้น นั่นคือรัฐที่มีเสรีภาพ และสมเหตุสมผล ซึ่งโดยข้อสรุปของเฮเกล รัฐราชาธิปไตยของปรัสเซีย ขณะนั้น เป็นรัฐที่พัฒนาอย่างสมเหตุผล และใกล้เหตุผลสากลมากที่สุด2 ด้วยหลักการเช่นนี้ สังคมทุกขั้นตอนจึงมีที่มาจากการคิดเชิงตรรก (logic) ของมนุษย์ ความคิด (idea)จึงเป็นพลังผลักดันสำคัญของประวัติศาสตร์



กล่าวโดยสรุปถึงหลักปรัชญาของเฮเกล คือ ปรัชญาจิตนิยม ที่ให้ ความสำคัญแก่ความคิด ในเชิงเหตุผล ความน่าสนใจของปรัชญาเฮเกล คือการวิเคราะห์สรรพสิ่งว่ามีกระบวนการขัดแย้งภายใน และทำให้ สรรพสิ่งพัฒนา ซึ่งข้อเสนอใหม่เหล่านี้ ทำให้ปรัชญาเฮเกลเป็นที่สนใจ อย่างมาก และทำให้มีผู้ศึกษาตามมากมาย


อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เฮเกลถึงแก่กรรม กลุ่มที่สนใจปรัชญา ของเฮเกล ได้แตกออกเป็น ๒ ส่วน คือ กลุ่มลัทธิเฮเกลฝ่ายขวา และกลุ่ม ลัทธิเฮเกลฝ่ายซ้าย โดยประเด็นหลักที่มีความแตกต่างกัน ก็คือเรื่อง การวิเคราะห์ศาสนา จากที่เฮเกลอธิบายว่า ศาสนาเป็นรูปแบบสูงสุดแห่ง ชีวิตทางจิตวิญญานของมนุษยชาติ ศาสนาก็มีการพัฒนา แบบวิภาษวิธี เช่นกัน โดยรูปแบบที่สูงสุดตามความคิดของเฮเกล คือ ศาสนาโปรเตส-แตนต์ นิกายลูเธอรัน ของชนชาติเยอรมัน


ซึ่งเป็น การรื้อฟื้นของจิตสากล ทางศาสนา เฮเกลอธิบายว่า สาระของศาสนานั้น ความจริงก็เป็นเช่นเดียว กับปรัชญา เพียงแต่มรรควิธีในการทำ ความเข้าใจแตกต่างกัน ขณะที่ ปรัชญานั้นใช้ความคิดหรือมโนคติ ศาสนาใช้จินตนาการ อย่างไรก็ตาม เขาเห็นว่าศาสนามีส่วนที่เป็นปรัชญาอยู่ และในส่วนนี้เองที่จะนำไปสู่ ความเข้าใจจิตสัมบูรณ์ได้


ดังนั้น กลุ่มเฮเกลฝ่ายขวา จะยอมรับว่า ศาสนา เป็นสัจธรรมที่เป็นเหตุผล และ พระเจ้าก็คือพัฒนาการของเหตุผลสมบูรณ์ ส่วนกลุ่มเฮเกลฝ่ายซ้าย นำโดย บรูโน บาวเออร์ (Bruno Bauer) ซึ่งเป็นอาจารย์ฝ่ายก้าวหน้า สอนปรัชญาที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน เห็นว่า สาระของศาสนานั้นคือ ความจริงที่ถูกบิดเบี้ยว การพัฒนาของศาสนาจึง มาจากด้านที่ไม่สมเหตุผล และคำสอนของศาสนาคือ มายาคติ (myth) ที่ถูกสร้างขึ้น


๕. ลัทธิเฮเกลกับมาร์กซ



ตั้งแต่ช่วงฤดูร้อน ค.ศ.๑๘๓๘ ที่มาร์กซได้อ่านงานของเฮเกล มาร์กซรับเอาแนวปรัชญาของเฮเกลทันที ในระยะนั้น บรูโน บาวเออร์ ได้ตั้งกลุ่มศึกษาที่ชื่อว่า กลุ่ม ”ยุวชนลัทธิเฮเกล” (Young Hegelians) ซึ่ง มาร์กซเข้าร่วมด้วยทันที แนวโน้มของกลุ่มยุวชนลัทธิเฮเกลฝ่ายซ้าย เหล่านี้ นอกจากจะวิพากษ์ศาสนาแล้ว ยังมีแนวโน้มในการวิพากษ์ รัฐปรัสเซียด้วย มาร์กซ เป็นหนึ่งในนักคิดของกลุ่มที่จะเริ่มนำเอา ลัทธิเฮเกล มาวิเคราะห์สังคมและการเมือง


คนอื่นในกลุ่มที่สำคัญก็เช่น อด็อฟ รูเตนเบิร์ก (Adolph Rutenberg) นักภูมิศาสตร์ที่หันมาสนใจ ปรัชญา คาร์ล คืปเปน (Karl Keppen) ซึ่งเขียนหนังสือเรื่อง เฟรเดอริก มหาราชและกลุ่มต่อต้าน พิมพ์ใน ค.ศ.๑๘๔๐ อุทิศให้กับคาร์ล มาร์กซ และคืปเปน ต่อไปจะกลายเป็นผู้สนใจพุทธศาสนา และเขียนหนังสือ เกี่ยวกับกำเนิดของพุทธศาสนา นอกจากนี้ บรูโน บาวเออร์ ก็เสนอ ผลงานของเขา ชื่อ รัฐคริสเตียนในยุคสมัยของเรา พิมพ์ใน ค.ศ.๑๘๓๘ อุทิศให้กับกลุ่มยุวชนลัทธิเฮเกล



ในด้านการศึกษา ระยะแรกมาร์กซพยายามที่จะศึกษาวิชากฏหมาย ควบคู่กับปรัชญา จึงหันไปศึกษานิติปรัชญา ผลจากการศึกษาด้าน กฏหมาย ทำให้เขาเห็นข้อจำกัดในข้อกฏหมายที่รับรองกรรมสิทธิเอกชน ว่าเป็นสิทธิธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ.๑๙๓๘ เขาก็ยกเลิก การศึกษากฏหมาย และหันมาสนใจปรัชญาแต่เพียงอย่างเดียว และ ตั้งแต่ ค.ศ.๑๘๓๙ มาร์กซตัดสินใจที่จะทำวิทยานิพนธ์ในระดับ ปริญญาเอก เพื่อจะได้เข้าเป็นอาจารย์สอนปรัชญาในมหาวิทยาลัย ได้ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง "ความแตกต่างระหว่างปรัชญาธรรมชาติของ เดโมคริตุสกับปรัชญาธรรมชาติของเอพิคิวรัส”


ในงานชิ้นนี้ มาร์กซได้ ศึกษาปรัชญาของเดโมคริตัส (Democretus) และเอพิคิวรัส (Epicurus) ซึ่งเป็นนักปรัชญากรีก ๒ คน ที่มีแนวคิดในเชิงวัตถุนิยม เดโมเครตัส คือผู้ที่เสนอว่า ปฐมธาตุนั้นคือ อะตอมและที่ว่าง อะตอมเป็นสิ่งที่เล็กที่สุด มีมากมายนับไม่ถ้วนและแบ่งแยกไม่ได้ สรรพสิ่งทั้งหลายประกอบด้วย อะตอมมารวมตัวกัน เอพิคิวรัสก็ยอมรับเช่นกันว่าอะตอมเป็นพื้นฐาน ของสรรพสิ่ง แต่เน้นว่า ความรู้ของมนุษย์มาจากผัสสะ


มาร์กซได้นำ เอาปรัชญาทั้งสองสำนักมาเปรียบเทียบกัน แล้วชี้ให้เห็นว่าความคิดของ เดโมเครตัสนั้นเป็นแบบกลไก ที่เห็นว่าสรรพสิ่งดำเนินไปภายใต้กฎเกณฑ์ ทางวัตถุ แต่กลับคิดว่าความรู้ที่ถูกต้องมาจากการคิด ซึ่งเท่ากับเป็น การตั้งข้อสงสัยต่อโลกของผัสสะ ขณะที่เอพีคิสรัส ยอมรับโลกของ ผัสสะว่าเป็นความจริงแท้ แต่พยายามที่จะคงรักษาเจตจำนงอิสระของ มนุษย์ และจุดมุ่งหมายไปสู่ความสุข ซึ่งเป็นการปฏิเสธการกำหนด โดยโลกของวัตถุ


ซึ่งมาร์กซเห็นว่า ปรัชญาของเอพีคิวรัสมีข้อเด่นตรงที่ ยอมรับในจิตเสรีของมนุษย์เหนือข้อกำหนดทางวัตถุ วิทยานิพนธ์ของ มาร์กซ ถือว่าเป็นงานที่ดีมากชิ้นหนึ่ง ในการวิเคราะห์ปรัชญาวัตถุนิยม ของทั้งสองสำนัก เขาเสนอวิทยานิพนธ์ต่อมหาวิทยาลัยเจนา และได้รับ ปริญญาเอกสาขาปรัชญาในเดือนเมษายน ค.ศ.๑๘๔๑



ในระหว่างที่มาร์กซทำวิทยานิพนธ์ บาวเออร์ได้ย้ายไปเป็นอาจารย์ ที่มหาวิทยาลัยบอนน์ และได้ชวนมาร์กซไปทำงานที่นั่น ดังนั้นเมื่อจบ การศึกษา เขากลับไปพักผ่อนที่บ้านที่เมืองเทรียร์ ราวเดือนเศษ จากนั้น ก็สมัครเข้าเป็นอาจารย์สอนปรัชญาที่มหาวิทยาลัยบอนน์ แต่ในขณะนั้น บาวเออร์กำลังประสบปัญหา จากข้อเสนอของเขาที่วิจารณ์ศาสนา


ซึ่ง บาวเออร์เสนอว่า พระเจ้าเป็นสิ่งไม่มีอยู่จริง ดังนั้นพระวรสารของพระเจ้า จึงเป็นเรื่องเหลวไหล พระเยซูจึงไม่ใช่พระบุตร และเป็นไปได้ด้วยว่า พระเยซูจะไม่มีตัวจริงทางประวัติศาสตร์ ในขณะนั้น ปรัสเซียมีการเปลี่ยน แปลงทางการเมือง จากการที่กษัตริย์เฟรเดอริกวิลเลียมที่ ๔ ขึ้นครองราชย์ ใน ค.ศ.๑๘๔๐ และพยายามที่จะดำเนินการต่างๆ ให้เข้มงวดขึ้น ดังนั้น รัฐปรัสเซียจึงเห็นว่า ข้อเสนอของบาวเออร์เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐในระหว่าง นั้นมาร์กซต้องกลับเมืองเทรียร์ เพราะบารอนแห่งเวสฟาเลน บิดาของ เจนนีป่วยหนัก และในที่สุด บารอนก็ถึงแก่กรรมในเดือนมีนาคม ค.ศ.๑๘๔๒ ในเดือนเดียวกับที่บาวเออร์ ถูกรัฐบาลปรัสเซียปลดตำแหน่ง จากมหาวิทยาลัย ซึ่งหมายถึงว่า โอกาสที่มาร์กเข้าซจะรับตำแหน่ง อาจารย์ในมหาวิทยาลัยบอนน์หมดลงไปด้วย



มาร์กซจึงหันมาทำอาชีพนักหนังสือพิมพ์ โดยทำงานที่หนังสือ วารสารไรน์ (Rheinische Zeitung) โดยผู้ร่วมงานสำคัญของเขาคือ อาร์โนลด์ รูเก (Arnold Ruge) ซึ่งเป็นนักวิชาการที่ก้าวหน้าอีกคนหนึ่ง ของยุคสมัย และเป็นพวกลัทธิเฮเกลฝ่ายซ้ายเช่นกัน รูเกถูกปฏิเสธจาก ตำแหน่งอาจารย์มหาวิทยาลัยมาก่อน เขาจึงมายึดอาชีพหนังสือพิมพ์ เพื่อเผยแพร่ความรู้และความคิดใหม่สู่ประชาชน ต่อมา บาวเออร์ก็เขียน บทความลงเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ของรูเกเข่นกัน



สำหรับมาร์กซ เริ่มเขียนบทความลงวารสารไรน์ตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ.๑๘๔๒ จากนั้น ก็ได้เขียนบทความต่างๆ ลงวารสาร อย่างสม่ำเสมอ ในขณะเดียวกันเขาก็เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องทางการเมือง โดยตรง บรรยากาศทางการเมืองในแคว้นไรน์แลนด์ ที่เป็นที่ตั้งของ เมืองบอนน์และโคโลญนั้น มีความแตกต่างอย่างมากจากเมือง หลวงเบอร์ลิน ซึ่งเป็นศูนย์กลางของปรัสเซีย จากการที่ไรน์แลนด์ถูก ฝรั่งเศสผนวกในสมัยสงครามนโปเลียน รัฐอิสระ ๑๐๘ นคร ถูกฝรั่งเศส ยุบรวมเหลือ ๔ จังหวัด ระบบศักดินาถูกยกเลิก เศรษฐกิจทุนนิยมพัฒนา


ดังนั้น เมื่อเขตนี้จะถูกรวมเข้ากับปรัสเซียเมื่อ ค.ศ.๑๘๑๔ จึงกลาย เป็นเขตที่อิทธิพลเสรีนิยมรุนแรงที่สุด โดยเฉพาะในสมัย ค.ศ.๑๘๔๒ เกิดกลุ่มทางการเมืองที่เรียกว่า สโมสรโคโลญ(Cologne Circle) ซึ่งมีสมาชิก เช่น จอจ์ช จุง (Georg Jung) โมเสส เฮส (Moses Hess) และคนอื่นๆ


เป้าหมายของกลุ่มก็คือการรณรงค์เผยแพร่แนวคิด ประชาธิปไตย ซึ่งมีเป้าหมายในการเรียกร้องสิทธิของราษฎร ให้มี การเมืองในระบบรัฐสภา ให้มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการบริหารประเทศ ซึ่งขัดแย้งอย่างมากกับรัฐปรัสเซียในขณะนั้น ที่เป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิ์ อำนาจสูงสุดอยู่ที่กษัตริย์ และมิได้ให้สิทธิแก่ราษฎร


ประเด็นของการเรียก ร้องต่อมา ก็คือ เรื่องการรวมเยอรมนีเข้าเป็นเอกภาพ กรณีนี้ ก็ยังมีปัญหา จากการที่เยอรมนีแบ่งเป็นแว่นแคว้นจำนวนมาก กษัตริย์ที่เป็นผู้ครอง แคว้น ไม่ต้องให้มีการรวมประเทศ เพราะจะทำให้ตนสูญเสียอำนาจ กลุ่มอนุรักษ์นิยม และเจ้าขุนนางในรัฐต่างๆ จึงต่อต้านการรวมประเทศ
กลุ่มโคโลญจึงผลักดันการก่อตั้งวารสารไรน์ ซึ่งเริ่มออกเผยแพร่ ในวันที่ ๑ มกราคม ค.ศ.๑๘๔๒ โดยมีเป้าหมายที่จะเป็นกระบอกเสียง เผยแพร่แนวคิดเสรีนิยมและประชาธิปไตย


เมื่อมาร์กซเข้าไปประจำ กองบรรณาธิการในเดือนเมษายน ค.ศ.๑๘๓๒ อด็อฟ รูเตนเบิร์ก หนึ่งในสมาชิกกลุ่มเฮเกลฝ่ายซ้ายเป็นบรรณาธิการ รูเตนเบิร์ก เป็น มิตรสนิทและเป็นผู้สนับสนุนมาร์กซอย่างมาก ความจริงวารสารนี้ถูก จับตาอย่างมากจากรัฐปรัสเซีย และต่อมารัฐบาลกลางเสนอให้ปิด วารสารนี้ แต่รัฐบาลท้องถิ่นไรน์แลนด์เกรงว่า การปิดหนังสือพิมพ์จะยิ่ง ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่ประชาชน จึงสัญญาว่าจะคอยควบคุม ดูแลอย่างใกล้ชิด


ดังนั้นวารสารจึงดำเนินต่อมาได้ ต่อมา ปรากฏว่า รูเตนเบิร์ก มีปัญหาในการทำงานเป็นบรรณาธิการ จากการที่เขาติดสุรา อย่างหนัก และทำให้เสียงานหลายครั้ง ทำให้มาร์กซต้องเข้าไปมี บทบาทในการบริหารกองบรรณาธิการเพิ่มขึ้น จนในเดือนตุลาคม ค.ศ.๑๘๔๒ มาร์กซก็ได้รับตำแหน่งบรรณาธิการแทน
หลังจากที่มาร์กซเข้ารับตำแหน่งบรรณาธิการแล้ว วารสาร เล่มนี้ก็เป็นที่สนใจเพิ่มขึ้นในหมู่ประชาชน ยอดขายเพิ่มขึ้นตามลำดับ จน กลายเป็นวารสารที่เป็นที่รู้จักในระดับชาติ ที่รณรงค์ในเรื่องประชาธิปไตย


จบตอนสอง

กาชาดวันนี้เป็นสีดำ


โดย จักรภพ เพ็ญแขที่มา


คอลัมน์ “ผมเป็นข้าราษฎร” หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์วิวาทะ Thai Red News เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๓


น่าจะถูกจำจารึกไว้เป็นประวัติศาสตร์การเมืองของไทยใหม่ เพราะนอกจากเหตุการณ์ที่มีลักษณะพิเศษ ณ สี่แยกคอกวัวเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๐ และเหตุยิงระเบิดที่แยกศาลาแดงเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนแล้ว ยังมีละครโรงใหญ่เรื่องโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ให้ชมกันทั่วประเทศอีกด้วย


สองเหตุการณ์แรกมีคนตายและบาดเจ็บ จึงไม่ใช่เหตุแห่งความปีติอย่างใดทั้งสิ้น แต่เหตุการณ์นั้นเองที่ทำให้ฝ่ายกุมอำนาจรัฐในระบอบเผด็จการไทยเดิมตระหนักรู้เป็นครั้งแรกว่าฝ่ายตนมิได้เป็นผู้ผูกขาดการใช้กำลังอาวุธอย่างที่เป็นมาหลายสิบปีอีกต่อไป และฝ่ายต่อต้านอำนาจเผด็จการที่ซ่อนรูปอยู่หลังรัฐบาล “ประชาธิปไตย” เริ่มจะก่อตัวขึ้นเป็นรูปธรรมและขยายใหญ่ขึ้นทุกวัน


เพราะสังคมไทยที่ขาดแคลนความยุติธรรมและอยู่ในภาวะสองมาตรฐานจนถึงขนาดถ้าไม่มีเหตุการณ์ในวันที่ ๑๐ และ ๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓ คงจะปราบปรามประชาชนทั้งที่ผ่านฟ้าและราชประสงค์จนเลือดท่วมท้องช้างไปเสียนานแล้ว การสาดกระสุนจริงและใช้อาวุธสงครามเพื่อกำจัดประชาชนที่ไม่มีอาวุธใดๆ ในมือ เว้นแต่ข้าวของที่คว้าได้จากแถวนั้นเพื่อป้องกันตัว เป็นสิ่งบ่งชี้ว่าความเมตตาปรานีไม่มีอยู่ในระบบความคิดของอ้ายอีที่สั่งการ ชีวิตผู้บริสุทธิ์จะถูกคร่าไปอีกกี่ศพก็ไม่อาจรู้ได้ หากฝ่ายเขาไม่โดน “หยุด” ด้วยการต่อต้านอันเป็นประวัติศาสตร์นั้น


แต่สองเหตุนั้นบวกกันก็ยังไม่เท่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกรณีโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพราะชี้อะไรได้ชัดเจนกว่า กรณีนี้เริ่มต้นด้วยการถกเถียงกันมานานหลายสัปดาห์ว่า บนตึกสูงหลายหลังของโรงพยาบาลจุฬาฯ ได้ถูกใช้เป็นที่ซุ่มซ่อนตัวของมือปืนในและนอกเครื่องแบบที่ฝ่ายตรงข้ามกับเวทีประชาธิปไตยหรือไม่ จนในที่สุดก็มีการแสดงหลักฐานสาธารณะว่ามีผู้ถืออาวุธสงครามอยู่จริง โดยซ่อนตัวอยู่ในที่จอดรถของตึก สื่อมวลชนทั่วไปก็ตีพิมพ์ภาพเหล่านั้นกันอย่างแพร่หลาย


แกนนำเสื้อแดงโดยอดีต ส.ส.พายัพ ปั้นเกตุ ก็นำกำลังจำนวนหนึ่งไปยังโรงพยาบาลจุฬาฯ จุดประสงค์คือต้องการข้อเท็จจริงว่าคนในเครื่องแบบพร้อมอาวุธสงครามเหล่านี้มีอยู่จริงหรือไม่ ก็เข้าทางเขา สื่อมวลชนและกลไกโฆษณาชวนเชื่อที่เตรียมไว้แล้วก็ออกข่าวอย่างครึกโครมในทันทีว่าโรงพยาบาลถูกบุกจู่โจมโดยแกนนำ นปช.ฯ เข้าแล้ว ผู้อำนวยการโรงพยาบาล นายแพทย์อดิศร ภัทราดูลย์ เปิดแถลงข่าวเรื่องย้ายผู้ป่วยออกจากตึกทุกตึกที่อยู่ใกล้ชิดที่ชุมนุม


โดยแสดงสุ้มเสียงประหนึ่งว่าคนเสื้อแดงจะยกพวกเข้ามาถล่มโรงพยาบาลเหมือนเป็นศัตรูคู่อาฆาตกันประกาศหยุดบริการทั้งหมดของโรงพยาบาล โดยบอกเสียด้วยว่า ตั้งมาเก้าสิบปีไม่เคยหยุดให้บริการจนมาคราวนี้ ตามด้วยรายงานข่าวยาวๆ เกี่ยวกับเกียรติคุณของโรงพยาบาลจุฬาฯ และความรันทดใจที่ต้องหยุดให้บริการประชาชน ทั้งที่ไม่เกี่ยวข้องอะไรเลยกับการเข้าไปคนเสื้อแดง


ในวันนั้นต่อมาก็แถลงว่าได้เชิญเสด็จสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ที่ประทับรักษาพระองค์อยู่ที่นั่นไปยังโรงพยาบาลศิริราชแทน โทรทัศน์ของรัฐก็แสดงภาพซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากรถเข็นทรงและรถพระประเทียบที่นำพระองค์ออกไป อย่างโกลาหลเหมือนระเบิดลง โดยที่เราไม่ได้เห็นพระพักตร์แม้แต่เพียงแวบเดียวของประมุขสงฆ์ เพราะกลัวว่าเห็นแล้วจะรู้ว่าโดยพระสังขารนั้นก็ชัดเจนว่าไม่รู้พระองค์อีกต่อไปแล้วว่าเกิดอะไรขึ้น


ตามด้วยคำให้สัมภาษณ์ของ นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ พ่อของอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ตอกย้ำหัวตะปูว่า เหตุการณ์นี้เสียหายร้ายแรงมากท้ายที่สุดคือการเสด็จพระราชดำเนินมายังโรงพยาบาลจุฬาฯ ของสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ ซึ่งตามข่าวแล้วเสด็จฯ แบบมีหมายกำหนดการและแบบส่วนพระองค์หลายครั้งในเวลาไม่กี่ชั่วโมง โทรทัศน์ก็อัญเชิญพระราชกระแสมาว่าทรงห่วงใยคณะแพทย์ พยาบาล บุคลากร และผู้ป่วยของโรงพยาบาล


ซึ่งได้กลายเป็นข่าวทางสื่อต่างๆ ของรัฐเป็นปริมาณมากและยาวนานหลายวัน แล้วนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการ ศอฉ. ก็ให้สัมภาษณ์ในท่อนท้ายของฉากแรกนี้ว่า จากนี้ไปจะปราบปรามอย่างเต็มที่ ถ้าแกนนำหรือผู้ชุมนุมจะต้องล้มตายกันบ้างในกระบวนการนั้น ก็ถือเป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ ชัดเจน เป็นระบบ ได้อารมณ์ หากเป็นบทละครหรือบทภาพยนตร์ก็ควรได้รับรางวัลจากผู้มีวิชาชีพนี้ โดยกรรมการตัดสินคงจะเห็นเป็นเอกฉันท์


ลำดับความมาทั้งหมดนี้เพื่อจะบอกนิดเดียวล่ะครับว่า กาชาดไทยซึ่งมีความผูกพันใกล้ชิดอยู่กับโรงพยาบาลจุฬาฯ นั้น ควรเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่วางตัวเหนือความขัดแย้งทางการเมืองใดๆ และไม่ควรอย่างเด็ดขาดที่จะให้ใครเขาค่อนได้ว่าเล่นการเมืองการชุมนุมของคนเสื้อแดงนั้นอยู่แนบข้างโรงพยาบาลจุฬาฯ มานานหลายสัปดาห์ และการเข้าไปในพื้นที่โรงพยาบาลเพื่อขอทราบความจริงว่ามีอะไรที่เสี่ยงอันตรายต่อคนที่มาชุมนุมโดยสงบบ้างหรือไม่นั้นก็เคยเกิดขึ้นมาก่อนแล้ว


ไม่ใช่เรื่องใหม่ ไม่ใช่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เหตุไฉนจึงถือโอกาสนี้ส่งเสียงร้องกรีดดังและไม่ยอมหยุดส่งเสียงจนกว่ามือปืนประจำตัวจะมาถึงละครเรื่องนี้มีความจำเป็นขึ้นมา เพราะข้อกล่าวหาเรื่องการก่อการร้าย ขบวนการล้มเจ้า ที่ระดมใส่ขบวนประชาธิปไตยกันตลอดมาสองสามสัปดาห์นี้ล้มเหลวในการโน้มน้าวมติมหาชนและไม่อาจเร้าความสนใจของประชาคมระหว่างประเทศได้ใช่ไหม?


นี่ยังไม่รวมข้อสงสัยที่ไม่เคยมีใครแถลงตอบเป็นทางการว่า รถของกาชาดไทยถูกใช้เป็นพาหนะย้ายทหารและอาวุธสงครามในระหว่างการปราบปรามประชาชนก่อนหน้านี้


แม้ปลอกแขนกาชาดไทยยังถูกนำมาใช้คล้องแขนทหารที่เข้าปราบปรามประชาชนมือเปล่าใช่ไหม?ครับ คำถามเหล่านี้ควรจะมีคนตอบ แต่เมื่อเห็นชัดว่าไม่ตอบ มวลชนที่ก้าวหน้าเขาก็แสวงหาคำตอบของเขากันเอง จะเป็นกาชาด หรือกาทมิฬ เขาตอบของเขาอยู่ในใจได้ครับ

Thursday, May 6, 2010

ผู้ต้องหาก่อการร้ายมุ่งล้มสถาบัน กับผู้ต้องหาศาลอาญาระหว่างประเทศ


โดย ชำนาญ จันทร์เรือง


การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างกลุ่มเสื้อแดงและรัฐบาลซึ่งเป็นการต่อสู้ครั้งใหญ่ที่สุดนับแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เป็นต้นมา ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงในลักษณะใด แต่ที่แน่ๆก็คือฝ่ายที่พ่ายแพ้ย่อมมีคดีติดตัวกันระนาว หากฝ่ายเสื้อแดงพ่ายแพ้ แน่นอนว่าข้อหาที่พวกเขาจะได้รับย่อมไม่พ้นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการก่อการร้าย และการมุ่งล้มสถาบัน ตามที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ.ตั้งข้อหาไว้


แต่หากรัฐบาลพ่ายแพ้เราคงได้เห็นปรากฏการณ์แปลกใหม่ที่ผู้นำรัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องอาจตกเป็นผู้ต้องหาทั้งศาลอาญาในประเทศและศาลอาญาระหว่างประเทศตามที่แกนนำเสื้อแดงประกาศไว้คำว่า "การก่อการร้าย" หรือ Terrorism นี้ มีการพยายามอธิบายกันอย่างมากมาย อาทิ การใช้ภัยสยอง มาส่งเสริมเป้าหมายทางการเมือง


หรือการจงใจใช้หรือคุกคามว่าจะใช้ความรุนแรงต่อพลเรือนหรือเป้าหมายพลเรือน เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายทางการเมือง การก่อการร้ายของแต่ละประเทศเป็นคำที่มีการโต้เถียงกันกว้างขวางและมีนิยามหลากหลาย โดยไม่มีความหมายใดที่ได้รับการยอมรับโดยสมบูรณ์ แต่คำนี้โดยทั่วไปแล้วมักใช้เพื่อเรียกการโจมตีขององค์กรลับ หรือองค์กรระหว่างประเทศ ที่มีเป้าหมายเพื่อบังคับรัฐบาลด้วยการกระทำที่ใช้ความรุนแรงต่อรัฐบาลหรือสมาชิกหรือรัฐนั้น คำนี้ยังเป็นคำที่ใช้ในทางลบเสมอและมีความหมายที่ขยายกว้างขึ้นตั้งแต่มีการประกาศสงครามกับ การก่อการร้ายจนครอบคลุมไปถึงทุกๆ กิจกรรมที่ใช้ความรุนแรง และเป็นคำที่ใช้เฉพาะเพื่อเรียกฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น


ไม่มีกลุ่มใดเรียกตัวเองว่าเป็น "ผู้ก่อการร้าย" เลยถึงแม้ว่านิยามของคำว่า การก่อการร้ายจะกว้างมาก แต่มักจะประกอบไปด้วยเงื่อนไขที่มีแรงจูงใจเกี่ยวกับการเมืองและศาสนา เป้าหมาย คือ พลเมือง จุดประสงค์เพื่อข่มขู่ การข่มขู่มุ่งเป้าไปที่รัฐบาลหรือสังคม ผู้กระทำนั้นไม่ใช่รัฐ และการกระทำนั้นผิดกฎหมาย ในส่วนของกฎหมายไทยนั้น กำหนดให้ลักษณะความผิดที่กำหนดว่าเป็นการก่อการร้าย ดังนี้



มาตรา ๑๓๕/๑ ผู้ใด กระทำการอันเป็นความผิดอาญา ดังต่อไปนี้


(๑) ใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการใด อันก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรืออันตรายอย่างร้ายแรงต่อร่างกาย หรือเสรีภาพ ของบุคคลใดๆ


(๒) กระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ระบบการขนส่งสาธารณะ ระบบโทรคมนาคม หรือโครงสร้างพื้นฐาน อันเป็นประโยชน์สาธารณะ


(๓) กระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของรัฐหนึ่งรัฐใดหรือของบุคคลใดหรือต่อสิ่งแวดล้อม อันก่อให้เกิดหรือน่าจะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญ ถ้าการกระทำนั้นได้กระทำโดยมีความมุ่งหมายเพื่อขู่เข็ญหรือบังคับรัฐบาลไทย รัฐบาลต่างประเทศหรือ องค์การระหว่างประเทศ ให้กระทำหรือไม่กระทำการใด อันจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงหรือเพื่อสร้างความปั่นป่วน โดยให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน


ผู้นั้น กระทำความผิดฐานก่อการร้าย ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงหนึ่งล้านบาท


การกระทำในการเดินขบวน ชุมนุม ประท้วง โต้แย้งหรือเคลื่อนไหว เพื่อเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือหรือให้ได้รับความเป็นธรรม อันเป็นการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นการกระทำความผิดฐานก่อการร้าย ซึ่งข้อหาการก่อการร้ายนั้นยังไม่เคยมีการดำเนินคดีในศาลไทยแต่อย่างใด


ฉะนั้น ในส่วนของการกระทำของเสื้อแดงว่าจะเป็นการก่อการร้ายหรือไม่นั้น ก็ต้องให้ศาลเป็นผู้วินิจฉัยซึ่งก็รวมไปถึงข้อหาการมุ่งล้มสถาบันตามประมวลกฎหมายอาญาด้วย


ในทางกลับกันหากรัฐบาลตกเป็นฝ่ายที่พ่ายแพ้ นอกจากจะตกเป็นผู้ต้องหาในศาลยุติธรรมในประเทศ ( national court ) ดังเช่นอดีตประธานาธิบดีชุนดูวานของเกาหลีที่ต้องติดคุกตลอดชีวิตฐานสั่งฆ่าประชาชนของตนเองแล้ว ยังมีโอกาสถูกดำเนินคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศด้วย


ศาลอาญาระหว่างประเทศ ( International Criminal Court :- ICC) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๕ โดยธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือที่เรียกว่า "Rome Statute"ตั้งอยู่ที่ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาคดีอาญาที่เกี่ยวกับการล้างเผ่าพันธุ์และ คดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ คดีอาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรม ที่เป็นการรุกราน


ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) แตกต่างจากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice-ICJ) ก็คือ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ( ICJ ) มีอำนาจพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับรัฐ แต่ ศาลอาญาระหว่างประเทศ ( ICC ) มีอำนาจพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคล และมีอำนาจไต่สวน ดำเนินคดี และพิพากษาคดีบุคคล


ดังนั้น ศาลอาญาระหว่างประเทศ จึงเป็นเวทีสำหรับรับเยียวยา การร้องขอความเป็นธรรมในคดีที่บุคคลกระทำความผิด ไม่ว่าการกระทำนั้นๆ จะเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาลที่ใช้อำนาจรัฐอยู่ หรือว่าการกระทำนั้นจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มบุคคล หรือคณะบุคคลที่ต่อสู้ ต่อต้าน หรือเป็นขบถ หรือ มุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลงรัฐบาล


หรือระบอบการปกครองที่ครองอำนาจรัฐอยู่ศาลอาญาระหว่างประเทศนี้ แตกต่างจากศาลอาญาระหว่างประเทศชั่วคราว ( ad hoc tribunal ) ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อพิจารณาคดีอาชญากรรมที่กระทำขึ้นในรวันดาและยูโกสลาเวียเป็นการชั่วคราว


โดยศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นมาอย่างถาวร เพื่อที่จะสามารถดำเนินงานได้อย่างทรงประสิทธิภาพ โดยสามารถปฏิบัติงานได้ทันที และสามารถดำเนินการพิจารณาคดีได้เป็นประจำและต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการกระทำความผิดอาญาทั่วทั้งโลก ไม่ว่าจะกระทำความผิดที่ใดก็ตาม ศาลอาญาระหว่างประเทศมีเขตอำนาจศาลข้ามประเทศ เพื่อมุ่งแก้ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในการพยายามที่จะดำเนินคดีทางอาญากับบรรดาเผด็จการต่างๆ และอาชญากรอื่นๆ ที่อาจจะหลบหนีคดีอาญาจากประเทศหนึ่งประเทศใดที่บุคคลเหล่านี้เคยกระทำความผิดที่ถือว่าเป็นอาชญากรรมสงคราม


และอาชญากรรมต่อ มวลมนุษยชาติ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และการรุกรานทำลายล้างด้วยรูปแบบวิธีการต่างๆอีกไม่นานเกินรอเราคงได้เห็นตอนจบ แต่จะจบลงอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยต่างๆ ทางการเมืองที่ประกอบกันขึ้น


แต่ที่แน่ๆ นอกจากการเมืองไทยที่จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปที่จะมี ผู้เล่นเฉพาะนักการเมืองในสภาและกองทัพหรือกลุ่มผลประโยชน์เดิมๆ แต่จะมีผู้เล่นกลุ่มใหม่เพิ่มขึ้นมาอีกซึ่งคือกลุ่มการเมืองภาคประชาชนไม่ว่าจะเป็นสีใดก็ตาม ในด้านกฎหมายก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปเพราะจะมีข้อหาใหม่ คือ ผู้ต้องหาก่อการร้ายมุ่งล้มสถาบัน หรือไม่ก็มีผู้ต้องหาศาลอาญาระหว่างประเทศเกิดขึ้น อยู่ที่ว่าใครจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในประวัติศาสตร์หน้านี้ --------------------