Saturday, April 17, 2010

"แก๊งสี่คน"ล่มสลาย มาจนถึงการปราบปรามที่เทียนอันเหมิน


ระบอบประชาธิปในเมืองไทยและระบอบคอมมิวนิสต์ในแผ่นดินจีนใหญ่ ทั้งสองระบอบนี้เคลื่อนตัวออกมาใกล้เคียงกัน ไม่ว่าประชาชนที่อยู่ภายใต้การปกครองและผู้นำหรือผู้มีอำนาจได้เข้ามาปกครองประเทศ ก็ย่อมมีภาระ มีหน้าที่ มีความรับผิดชอบจะต้องปฏิบัติไปตามครรลองของแต่ละฝ่าย ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถืออำนาจก้าวล่วงล้ำเกินขอบเขตข้ามไปกระทบอีกฝ่ายหนึ่ง แล้วฝ่ายที่ถูกกระทบด้วยอำนาจนั้น ย่อมมีปฏิกิริยา ต่อต้านและขัดขืน

อำนาจ” เป็นสิ่งเสพติด ใครลงได้เสพมันแล้ว ก็อยากได้มัน อย่างหยุดไม่ได้ และต้องการมากขึ้นไปเรื่อย ๆ เมื่อใดมีคนมาขัดขวาง คนที่เสพจนติดแล้วก็จะไม่ยอม และจะหาทางกำจัดคนที่ขัดขวางนั้นให้ออกจากทางของมันให้ได้ เมื่อไร คนจะเลิกยึดติดกับ “อำนาจ” เสียที..... แหม๋...ช่างสรรหาถ้อยคำไพเราะเสนาะหูมานำเสนอ แต่สหายและสาวกพันธมารทั้งหลายควรย้อนกลับไปชำระจิตใจ ช่างใจแล้วตรึกตรองดู ว่าพวกตนเองนั้นมีแนวคิดตามคำประดิษฐ์ประดอยอย่างคมคายและสวยหรูนั้นอย่างไร ไม่ควรเอาถ้อยตำนั้นมากล่าวอ้าง ก็เพราะพวกตนเองกลับกระทำในทางตรงกันข้ามมาแล้ว....มิใช่หรือ?

เมื่อกล่าวถึง"อำนาจ" นั้นไม่จีรังยั่งยืนย่อมสูญสลายไปตามกาลเวลาและยุคสมัย ไม่มีบุคคลใด กลุ่มใดและคณะใดจะกอดอิงแอบแนบชิดให้"อำนาจ"
นั้น อยู่ยงคงกะพันไปโดยไม่มีวันสิ้นสุด ไม่ว่าจะเป็นทศวรรษ ศตวรรษและหลายศตวรรษก็ย่อมมีสิทธิ์ล่มสลายมาแทบทั้งสิ้น

บทบาทเรื่องอำนาจของ"แก๊งสี่คน"นี้โด่งดังในช่วงเหตุการณ์ปฏิวัติวัฒนธรรมในผืนแผ่นดินใหญ่มาตลอดสิบปี ระหว่างค.ศ. 1966-1976 บุคคลทั้งสี่ประกอบด้วย เจียงชิงภรรยาของเมาเซตุง,เหย๋าเหวินยวน,จางชุนเฉียวและหวังหงเหวิน มาดำเนินการให้การปฏิวัติเดินไปได้ในช่วงหนึ่ง แต่การมี"อำนาจ" ได้สร้างบทบาทและมีความกระหายความทะเยอทะยานอยากในแต่ละคน ไม่ให้ด้อยไปกว่ากันเลย จนไปสร้างผลกระทบในเรื่องความทุกข์ลำเค็ญไปทุกหย่อมหญ้าจากชนบทจนถึงในเมืองใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม จนไปถึงพวกนักรบที่เคยร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่ประธานเหม๋า เจอ ตุง ปัญญาชนรวมไปถึงชั้นชนรากหญ้า

ความทะเยอทะยานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ก็ทำให้นางเจียงชิงครองตำแหน่งสูงทางการเมือง ประกอบกับการเป็นคนที่มีปมด้อยไม่อยากเห็นใครเด่นเกินหน้า ในช่วงปลายของชีวิตประธานเหมา เจอ ตุง นางกับพรรคพวกได้กีดกันผู้นำพรรคคนอื่นๆ ที่เป็นปรปักษ์ไม่ให้เข้าใกล้ประธานเหมาฯ พร้อมทั้งทำลายชื่อเสียง เกียรติคุณของทั้งโจวเอินไหล เติ้งเสี่ยวผิง(ลูกสาว ซีพีได้ส่งเรียนที่อังกฤษ) และครอบครัวนักปฏิวัติที่ร่วมสร้างชาติมากับประธานเหมาท่ามกลางเสียงก่นด่าของประชาชนอีกด้วย

มาดามเจียงชิง แกนนำหลักของแก๊งสี่คนที่นำอำนาจของสามีมาใช้ในทางที่ผิด และแล้วอำนาจของนางก็สิ้นสุดลงในวันที่ 6 ตุลาคมปี 1976 หลังอสัญกรรมของเหมาเจ๋อตงไม่ถึง 1 เดือน เมื่อเติ้งเสี่ยวผิงร่วมมือกับนายพลเยี่ยเจี้ยนอิงและพรรคพวก วางแผนเข้าจับกุมแก๊ง 4 คน และในเดือนกรกฎาคม 1977 ในที่ประชุมเต็มคณะพรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 10 วาระที่ 3 ก็ได้มีมติยกเลิกสถานภาพภายในพรรคของเจียงชิงไปตลอดกาล รวมถึงเพิกถอนตำแหน่งหน้าที่ทั้งหมด ถัดมาในวันที่ 25 มกราคม 1981 ศาลสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้พิพากษาให้ประหารนางเจียงชิงในฐานะหัวหน้าการกบฏ รอลงอาญาไว้ 2 ปี ซึ่งต่อมาในเดือนมกราคมปี 1983 ศาลก็ได้ลดหย่อนโทษให้เหลือเพียงจำคุกตลอดชีวิต และไม่มีสิทธิทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้นตลอดชีวิต อย่างไรก็ตาม เจียงชิงก็ได้จบชีวิตตัวเองด้วยน้ำมือของตัวเองเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 1991

นี่คือ "อำนาจ" มาชั่วครั้งชั่วคราว ยืนระยะอยู่ได้ไม่นาน ทั้งที่มีอำนาจที่สองรองจากประธานเหมา เจอ ตุงในผืนแผ่นดินกว้างใหญ่ของโลก ก็ต้องมาสิ้นสลายด้วยน้ำมือพวกเดียวกัน จะเหลือมีชิวิตอยู่คนสุดท้ายก็คือ เหย๋าเหวินหยวนชาวเมืองฉางชุน เท่านั้น

มาถึงการปราบปรามกลุม่ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยนำโดยกลุ่มนักศึกษา ที่จตุรัสเทียนอันเหมิง ในวันที่ 4 มิ.ย.2532(1989) โศกนาฏกรรมดังกล่าวที่เกิดขึ้นนี้ ได้ไปถึงความหายนะของลัทธิคอมมิวนิสต์ทั่วโลก ขณะที่ผู้นำคอมมิวนิสต์จีนต้องเผชิญหน้ากับกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตย ที่ลุกขึ้นท้าทายอำนาจเบ็ดเสร็จของรัฐบาลแห่งประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก ขณะเดียวกันลัทธิคอมมิวนิสต์ในเยอรมนีตะวันออกโงนเงนและล่มสลายไปในที่สุด กำแพงเบอร์ลินถูกทลายราบในเดือนพฤศจิกายน 1989 ขณะที่สถานการณ์ในแดนคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตก็ร่อแร่เช่นกันและล่มสลายในเดือนธันวาคม 1991

การเคลื่อนไหวที่เทียนอันเหมินเริ่มขึ้นกลางเดือนเมษายน จากการเดินขบวนแสดงความอาลัยแด่การจากไปของผู้นำนักปฏิรูป หู เย่าปัง อดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ บานปลายเป็นการเดินขบวนเรียกร้องปฏิรูปการเมืองและปราบปรามคอรัปชั่นนำโดยกลุ่มนักศึกษา กลุ่มนักศึกษาได้เข้าไปยึดครองจัตุรัสเทียนอันเหมิน “ทุกตารางนิ้วของบริเวณจัตุรัสเต็มไปด้วยป้ายเรียกร้องการปฏิรูป มันเป็นการเดินขบวนครั้งแรกในประวัติศาสตร์สาธารณรัฐประชาชนจีน” หวัง ตัน หนึ่งในผู้นำกลุ่มนักศึกษา รำลึกเหตุการณ์ เสียงกู่ร้องเพรียกประชาธิปไตย และเสรีภาพดังกึกก้องทั้งจัตุรัส ที่เป็นสัญลักษณ์อำนาจการเมืองของประเทศจีน ผู้คนหลายพันอดอาหารประท้วง ผู้นำนักศึกษา อู๋เอ่อร์ ไคซี ได้ท้ายทายนายกรัฐมนตรีหลี่ เผิง ระหว่างการประชุมที่มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ ช่วงนั้นกลุ่มสื่อทั่วโลกกำลังหลั่งไหลมายังกรุงปักกิ่งเพื่อเกาะติดรายงานข่าวการเยือนระหว่างประเทศครั้งประวัติศาสตร์ ประธานาธิบดีมิกฮาอิล กอร์บาชอฟ จากแดนคอมมิวนิสต์ของหมีขาวมาเยือนจีน และกลุ่มสื่อเหล่านี้ก็ได้ข่าวใหญ่ที่สำคัญมากยิ่งกว่า

ช่วงหน้าสิ่วหน้าขวาน กลุ่มประท้วงอยู่ระหว่างลิ่มอำนาจกลุ่มผู้นำหัวรั้นนำโดนนายกฯหลี่ เผิง และกลุ่มที่ยึดถือการปฏิบัติสายกลางนำโดย จ้าว จื่อหยาง เลขาธิการพรรค ในที่สุด กลุ่มผู้นำหัวรั้นก็ชนะด้วยการสนับสนุนของผู้นำสูงสุดเติ้ง เสี่ยวผิง จ้าว จื่อหยาง ถูกปลดออกจากตำแหน่ง นับจากนั้นจ้าวก็ถูกกักบริเวณในบ้านพักเป็นเวลาถึง 16 ปี กระทั่งวันสิ้นลมหายใจในปี 2548และที่ปรึกษา เป่า ถง ก็ถูกจำคุก 7 ปีเช่นกันหลังการนองเลือดที่เทียนอันเหมินสิ้นสุดลง

กลุ่มนักศึกษาประกาศ “การกบฏต่อปฏิปักษ์ปฏิวัติ” ขณะที่กลุ่มทหารเคลื่อนสู่เมืองหลวง บดขยี้ความฝันของกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตย โดยเปิดศึกรุนแรงในวันที่ 3 และ 4 มิถุนายน จำนวนผู้เสียชีวิตยังคงเป็นปริศนามาถึงวันนี้ ตัวเลขรัฐบาลระบุยอดผู้เสียชีวิต 241 คนโดยเป็นนักศึกษา 36 คน ขณะที่กลุ่มที่มีความคิดเห็นไม่ลงรอยกับรัฐบาลระบุตัวเลขถึงหลักพัน หลังจากนั้นคลื่นประณามจากทั่วโลกก็โถมซัดเข้าใส่ผู้นำจีน และจีนก็ถูกมองและปฏิบัติประหนึ่งพวกที่น่าเกียจเป็นเวลาหลายปี บรรดารัฐบาลในตะวันตกต่างเสนอให้ที่ลี้ภัยแก่กลุ่มนักศึกษา

แต่ละบุคคลต้องสูญเสียอำนาจอย่างที่ไม่ควรจะเสีย เพราะการหลงอำนาจมองข้ามประชาชนของแผ่นดิน ที่มีแนวคิดมีความปรารถนาต้องการอิสระเสรีภาพมากขึ้น แต่ผู้มีอำนาจไม่รู้จักใช้วิธีการประนีประนอม เรียกว่า "บัวไม่(ให้)ช้ำ น้ำไม่(ให้)ขุ่น กลับเหลิงอำนาจขาดความเมตตาธรรมทั้งจิตใจและตัวตน ไม่หาวิธีสร้างการผูกมิตรเข้ามาไกล่เกลี่ยและหาวิธีการแนวทางสันติเพื่อสยบความเคลื่อนไหว จึงได้เห็นเหตุการณ์ตามที่ปรากฏมาให้เห็น....อำมาตย์ ทหารและรัฐบาลหมีน่าฮ๊าก มือที่มองไม่เห็น ต้องการเช่นนั้นหรือ?
DJ.1

No comments:

Post a Comment